วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

เรียนรู้สมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา

เรียนรู้สมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา


 

     เราทราบมานานแล้วว่า สมองใหญ่ซีรีบลั่มของคนเราจะประกอบด้วย สมองสองซีก นั่นคือสมองซีกซ้ายกับสมองซีกขวา โดยสมองซีกซ้ายกับซีกขวามีการทำงานพร้อมกันแต่ทำหน้าที่แตกต่างกัน มีเพียงบางเรื่องที่สมองซีกซ้ายหรือซีกขวาเป็นผู้สั่งการอย่างเดียว แต่ไม่ว่าจะสั่งการโดยสมองซีกใดก็ตาม ในคนปกติจะมีอารมณ์ความรู้สึกตามปกติ ทั้งนี้ เด็กแรกเกิดจนถึง 2 ปี สมองซีกซ้ายจะเป็นส่วนที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วกว่า ส่วนสมองซีกขวาจะค่อยๆ เจริญเร็วขึ้นและมาตามทันกันเมื่อเด็กมีอายุราว 3-4 ปี




สมองซีกซ้าย - ทำให้เด็กเข้าใจความหมายของภาษา เข้าใจหลักการด้านคำนวณ ตรรกะทางวิทยาศาสตร์ ความรู้ต่างๆ ที่เป็นหลักการและต้องใช้เหตุผล
สมองซีกขวา -  ทำหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องนามธรรม เรื่องจริยธรรม ด้านดนตรี วัฒนธรรม ความรัก อุปนิสัย อารมณ์ การสร้างจินตนาการเป็นเรื่องราวต่างๆ ฯลฯ
              
     การพัฒนาและกระตุ้นเด็กในช่วงเวลาต่างๆ จึงมีผลต่อการเจริญเติบโตของสมองซีกซ้ายและขวา การเจริญเติบโตที่แตกต่างกันของสมองสองซีกนี้ มีผลต่อการกำหนดอุปนิสัยใจคอของมนุษย์มากทีเดียว เช่น หากในช่วงที่สมองซีกซ้ายกำลังเจริญเติบโต แต่กลับมาเกิดปัญหาบางอย่างในช่วงนั้นจนทำให้สมองซีกซ้ายไม่สามารถเจริญเติบ โตได้ เด็กก็จะมีพัฒนาการด้านคำนวณ ด้านภาษา ด้านความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ล่าช้า ในขณะเดียวกันถ้าสมองซีกขวาเกิดปัญหาในระหว่างการเจริญเติบโต จะทำให้บุคคลนั้นมีปัญหาทางด้านการจินตนาการ ศิลปะ อารมณ์ แต่ในทางตรงกันข้ามหากสมองซีกขวาได้รับการส่งเสริมค่อนข้างมาก ก็มีแนวโน้มว่าจะไปเป็นจิตรกร ศิลปิน หรือนักแสดง ฯลฯ ขณะเดียวกันถ้าสมองซีกซ้ายได้รับการส่งเสริมดีก็มีแนวโน้มว่าจะไปเป็นนัก วิทยาศาสตร์ วิศวกร แพทย์ นายธนาคาร ทหาร ฯลฯ

     อย่างไรก็ดีไม่ได้หมายความว่า เราควรพัฒนาสมองซีกใดซีกหนึ่งเป็นพิเศษ เพราะหากพัฒนาสมองซีกซ้ายมากเป็นพิเศษ ก็อาจทำให้ใช้ความฉลาดไปในทางวัตถุนิยมมากเกินไป เห็นแก่ตัวเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น เพราะจินตนาการไม่ออกว่าคนที่ถูกเอาเปรียบจะเป็นอย่างไร แต่ขณะเดียวกันถ้ามีแต่สมองซีกขวาอย่างเดียวจะเน้นแต่เรื่องคุณธรรม แต่ทำธุรกิจไม่เก่ง ค้าขายไม่เป็น เพราะฉะนั้นถ้าเราจะพัฒนาสมองลูกโดยไม่ให้ผิดธรรมชาติ ก็ควรจะพัฒนาสมองทั้งซีกซ้ายและขวาไปพร้อมๆ กัน เพื่อให้เกิดความสมดุลและการผสมผสานกัน ซึ่งจะทำให้เราได้บุคลากรของสังคมที่เป็นทั้งคนเก่งและคนดีพร้อมกันได้
                 
ปัจจัยส่งเสริมพัฒนาการของสมอง
พันธุกรรม    เมื่อ 30 ปีมาแล้วมีหลักฐานที่ทำให้เชื่อได้ว่าพัฒนาการของสมองได้รับอิทธิพล และมีผลกระทบโดยตรงมาจากพันธุกรรม กล่าวคือพบว่าลูกซึ่งเกิดมาจากพ่อแม่ที่มีพรสวรรค์หรือมีความสามารถพิเศษ ก็จะมีพรสวรรค์เช่นเดียวกับพ่อแม่ ในยุโรปกลุ่มนักดนตรีเอกของโลกหรือครอบครัวคีตกวีทางดนตรีก็จะมีการถ่ายทอด พรสวรรค์กันมา แม้ว่าเด็กคนนั้นในระยะแรกๆ ไม่ได้มีความสามารถพิเศษอะไร แต่พอเติบโตขึ้นเขาจะกลายเป็นคนที่มีความสามารถพิเศษแฝงอยู่แล้ว
อาหาร    ในสมัยก่อนนั้นเด็กไทยที่มีอายุต่ำกว่า 6 ขวบจำนวนมากเป็นโรคขาดสารอาหารโปรตีน ทำให้กลายเป็นเด็กปัญญาอ่อนหรือด้อยปัญญาโดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในชนบท แต่ก็นับว่าโชคดีเพราะในที่สุดบ้านเราก็สามารถแก้ไขได้ ในทางตรงกันข้ามปัญหาเด็กเป็นโรคขาดสารอาหารกลับเกิดขึ้นได้ในครอบครัวซึ่ง มีอันจะกิน คือมีกำลังซื้อทุกอย่างที่จะกินได้ แต่เด็กไม่ได้รับการกินอาหารที่ถูกต้อง กินอาหารไม่ถูกส่วน หรือถูกตามใจมาก และเลือกกินแต่ของที่ไม่มีประโยชน์ ทำให้เซลล์ประสาทไม่ได้รับอาหาร อย่างเช่น โปรตีน ไขมันบางชนิด เพื่อแตกแขนงกิ่งก้านของสมองให้เจริญเติบโต
สิ่งแวดล้อมและการเลี้ยงดู   นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ได้ตั้งคำถามว่าสิ่งแวดล้อมว่ามีผลกระทบต่อพัฒนาการของสมองเด็กหรือไม่ เขาทำการทดลองผ่านหนูทดลองในแบบที่ถูกกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมและไม่ ถูกกระตุ้น ปรากฏว่าเป็นที่ฮือฮามาก และถือเป็นครั้งแรกที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าสิ่งแวดล้อมอาจมีผลต่อการพัฒนา สมองของเด็กอย่างมาก สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลทำให้สมองเกิดการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงได้ มีผลต่อความเฉลียวฉลาด ประสิทธิภาพของพฤติกรรม และการสร้างเซลล์ประสาทในสมอง ซึ่งก็หมายความสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องที่จะถูกมองข้ามหรือปล่อยปละละเลยได้ เช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น