วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

รู้จักพัฒนาการลูกและหน้าต่างแห่งการเรียนรู้


รู้จักพัฒนาการลูกและหน้าต่างแห่งการเรียนรู้




 

พัฒนาการด้านสายตา   

                
สิ่งที่เกิดขึ้น   ทารกสามารถมองเห็นตั้งแต่แรกเกิดแต่จะไม่เห็นในรายละเอียด และยังไม่มีความชำนาญในการใช้ตาทั้งสองข้างจ้องมองไปที่วัตถุสิ่งเดียว มองตามสิ่งที่เคลื่อนที่หรือสิ่งที่ซับซ้อน และยังไม่สามารถประสานการทำงานระหว่างมือกับตาได้   
สิ่งที่พ่อแม่ทำได้ : ไม่จำเป็นที่ต้องไปซื้อของเล่นที่มีสีขาวดำตัดกันสูงเพื่อกระตุ้นการมองเห็น แต่ควรทดสอบตาอย่างสม่ำเสมอเริ่มต้นตั้งแต่อายุ 2 สัปดาห์แรก ซึ่งสามารถตรวจพบปัญหาตาที่มองไม่ชัดจะได้แก้ไขทันท่วงที   
หน้าต่างแห่งการเรียนรู้ :  ระบบจักษุสัมผัสที่ได้รับการกระตุ้นทำงานตั้งแต่แรกเริ่มจะมีพัฒนาการตามปกติ
 
พัฒนาการวงจรประสาทความรู้สึก
สิ่งที่เกิดขึ้น   สมองส่วนควบคุมอารมณ์เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิต เมื่ออายุ 2 เดือนทารกจะมีความสามารถแยกแยะความรู้สึกชอบและไม่ชอบ ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นความรู้สึกที่สมบูรณ์ทั้งสนุก เศร้า อิจฉา โกรธ ภาคภูมิใจ และอาย
สิ่งที่พ่อแม่ทำได้   ให้ความดูแลด้วยความรักเอาใจใส่ ซึ่งจะช่วยให้สมองของทารกซีกขวาที่ควบคุมอารมณ์ความรู้สึกถูกกระตุ้น การละเลยไม่เอาใจใส่ทารกจะทำให้เด็กหงอยเหงาสมองไม่เจริญเติบโตเต็มที่ และหากดุด่าว่ากล่าวจะทำให้เกิดความกังวลและมีการตอบสนองที่ตึงเครียดได้
หน้าต่างแห่งการเรียนรู้   พัฒนาการทางอารมณ์ในแต่ละช่วงวัยมีความสลับซับซ้อน และเริ่มต้นตั้งแต่เดือนแรกๆ  ของชีวิตที่มีปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่และผู้เลี้ยงดูจนถึงอายุ 3-4 ปี
 
พัฒนาการด้านทักษะภาษา
สิ่งที่เกิดขึ้น   ทารกในครรภ์จะได้ยินเสียงจังหวะหัวใจของแม่และเสียงพูดที่มีคล้ายเสียงดนตรี ทำให้เมื่อแรกเกิดจะหันหน้าตามเสียงได้บ้างแล้ว ต่อมาสมองจะติดตั้งวงจรที่จำเป็นสำหรับการแยกแยะเสียง การแปลความหมาย และพูดเป็นคำจนถึงบทกลอนสั้น ๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการสร้างประโยคได้
สิ่งที่พ่อแม่ทำได้ - นักวิจัยพบว่าการพูดคุยกับทารกบ่อย ๆ จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้คำใหม่ได้เร็ว ทารกมักจะสนใจฟังเสียงสูงและการร้องเป็นท่วงทำนอง ช่วยเชื่อมโยงเสียงคำพูดกับวัตถุและสิ่งรอบตัวได้
หน้าต่างแห่งการเรียนรู้   ทักษะทางภาษาเป็นสิ่งที่เติบโตตลอดชีวิต แต่จำเป็นต้องเริ่มในช่วงปฐมวัยโดยเฉพาะในขวบปีแรกถึงอายุ 3 ปี
 
พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว
สิ่งที่เกิดขึ้น   ทารกแรกเกิดสามารถเคลื่อนไหวแขนขาได้แต่ยังควบคุมไม่คล่องแคล่วนัก กระทั่งสมองพัฒนาก้าวหน้าจนสามารถควบคุมการเอื้อมคว้า นั่งคลาน เดิน และวิ่งได้
สิ่งที่พ่อแม่ทำได้ - ให้ทารกมีอิสระได้เล่นสำรวจสิ่งต่างๆ อย่างปลอดภัย ซึ่งจะช่วยพัฒนาการด้านการทำงานระหว่างมือกับตาประสานกัน ในไม่ช้าเด็กก็มีความพร้อมทำกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การวาดรูป การเล่นดนตรี เป็นต้น  
หน้าต่างแห่งการเรียนรู้   ทักษะการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อใหญ่เริ่มตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์ แรกเกิด และตลอดช่วงปฐมวัย ส่วนการพัฒนาทักษะกล้ามเนื้อย่อยจะเริ่มตั้งแต่ขวบปีแรกจนตลอดชีวิต แต่จะเห็นชัดเจนเมื่ออายุ 4-6 เดือน - 10 ปี ซึ่งการใช้นิ้วเล่นดนตรีจะพัฒนาได้ดีในช่วงอายุ 5-10 ปี
แก้ไขล่าสุด: 19 ก.ค. 2554

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น