เด็กฉลาดมากเกินไป
หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "เด็กอัจฉริยะ" จะมีความพร้อม
ในการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ มากกว่าเด็กปกติทั่วไปในวัยเดียวกัน
พ่อแม่อาจสังเกตได้ จากความสามารถทางการเรียน จะพบว่าเด็กสามารถ
จดจำและแก้ปัญหาได้รวดเร็ว และมีความคิด สร้างสรรค์ดี
ลักษณะของเด็กอัจฉริยะ ได้แก่
1. มีความสามารถในการเรียนสูง และเรียนรู้เร็วแม้ในเรื่องยาก
2. แก้ปัญหาได้อย่างมีเหตุผล และมีความรอบครอบในการแก้ปัญหา
3. จดจำได้เร็วและดี รวมทั้งสามารถสรุปเรื่องราวต่าง ๆ ได้ดี
4. สามารถใช้คำต่าง ๆ ได้ถูกต้อง
5. อ่านหนังสือได้เร็วและนานกว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
6. ทำงานที่ใช้สมองได้ดีเป็นพิเศษ
7. ชอบซักถามปัญหาอยู่เสมอ จนคนอื่นรำคาญ
8. มีความคิดเห็นแตกต่างจากเด็กวัยเดียวกัน
9. มีความตั้งใจทำงานต่าง ๆ อย่างดีเลิศ
10.มีความคิดริเริ่มสูง
11.มักจะมีเพื่อนที่อายุมากกว่า
สาเหตุที่พบว่าเด็กฉลาดหรือเด็กอัจฉริยะ มีปัญหาในการเรียน อาจเนื่องมาจาก เด็กขาดความเชื่อมั่นในตนเอง คิดว่าตนเองมีปมด้อย และที่สำคัญ คือ มีความ สามารถในการเรียนสูงและเร็ว ทำให้เด็กเบื่อการเรียนในสิ่งที่รู้แล้ว ดังนั้นถ้า พบว่าเด็กฉลาดเกินไป หรือเป็นเด็กอัจฉริยะควรให้การสนับสนุนส่งเสริม ให้ถูกวิธี เช่น จัดให้เรียนในชั้นเรียนพิเศษสำหรับเด็กประเภทนี้ นอกจากนี้ การจัดกิจกรรม สำหรับเด็กเหล่านี้ควรเป็นกิจกรรมที่ท้าทายความสามารถ เพื่อให้รู้สึกสนุกสนาน จะได้ไม่เกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย และยังเป็นการเพิ่มพูน ความรู้ให้เด็กได้ใช้สมองอย่างเต็มความสามารถ
1. มีความสามารถในการเรียนสูง และเรียนรู้เร็วแม้ในเรื่องยาก
2. แก้ปัญหาได้อย่างมีเหตุผล และมีความรอบครอบในการแก้ปัญหา
3. จดจำได้เร็วและดี รวมทั้งสามารถสรุปเรื่องราวต่าง ๆ ได้ดี
4. สามารถใช้คำต่าง ๆ ได้ถูกต้อง
5. อ่านหนังสือได้เร็วและนานกว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
6. ทำงานที่ใช้สมองได้ดีเป็นพิเศษ
7. ชอบซักถามปัญหาอยู่เสมอ จนคนอื่นรำคาญ
8. มีความคิดเห็นแตกต่างจากเด็กวัยเดียวกัน
9. มีความตั้งใจทำงานต่าง ๆ อย่างดีเลิศ
10.มีความคิดริเริ่มสูง
11.มักจะมีเพื่อนที่อายุมากกว่า
สาเหตุที่พบว่าเด็กฉลาดหรือเด็กอัจฉริยะ มีปัญหาในการเรียน อาจเนื่องมาจาก เด็กขาดความเชื่อมั่นในตนเอง คิดว่าตนเองมีปมด้อย และที่สำคัญ คือ มีความ สามารถในการเรียนสูงและเร็ว ทำให้เด็กเบื่อการเรียนในสิ่งที่รู้แล้ว ดังนั้นถ้า พบว่าเด็กฉลาดเกินไป หรือเป็นเด็กอัจฉริยะควรให้การสนับสนุนส่งเสริม ให้ถูกวิธี เช่น จัดให้เรียนในชั้นเรียนพิเศษสำหรับเด็กประเภทนี้ นอกจากนี้ การจัดกิจกรรม สำหรับเด็กเหล่านี้ควรเป็นกิจกรรมที่ท้าทายความสามารถ เพื่อให้รู้สึกสนุกสนาน จะได้ไม่เกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย และยังเป็นการเพิ่มพูน ความรู้ให้เด็กได้ใช้สมองอย่างเต็มความสามารถ
ขอขอบคุณกองสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ที่ให้การสนับสนุนข้อมูล
ที่มา http://kidsquare.com/content/content_detail.php?id=995&catid=362
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น