P a g e | 1
ลักษณะทางจิตวิทยา
1. การเห็นคุณค่าในตนเอง (Self-Esteem)
การเห็นคุณค่าในตนเอง หมายถึง การประเมินตนเองตามความรู้สึกของตน ว่า
ตนเองเป็นคนที่มีคุณค่า มีความสามารถ มีความสำคัญ มีการประสบผลสำเร็จในการทำงาน
รวมทั้งการยอมรับ การเห็นคุณค่าจากคนในสังคมที่มีต่อตน ตลอดจนการมีเจตคติที่ดีต่อ
ตนเอง มีความเชื่อมั่นในตนเอง ซึ่งบุคคลที่เห็นคุณค่าในตนเอง มองตนเองในแง่ดี ก็จะทำให้
เกิดความรู้สึกกับบุคคลอื่นในแง่ดีด้วย
1.1 ความสำคัญของการเห็นคุณค่าในตนเอง
การเห็นคุณค่าในตนเองมีความสำคัญอย่างยิ่งในการปรับตัวทางอารมณ์ สังคม
และการเรียนรู้สำหรับเด็ก เพราะเห็นพื้นฐานของการมองชีวิต ความสามารถทางด้านสังคม
และอารมณ์ เกิดจากการเห็นคุณค่าในตนเอง บุคคลที่เห็นคุณค่าในตนเองสูงจะสามารถ
เผชิญกับอุปสรรคที่ผ่านเข้ามาในชีวิตได้ สามารถยอมรับเหตุการณ์ที่ทำให้ตนเองรู้สึกผิดหวัง
ท้อแท้ใจ ความเชื่อมั่นในตนเอง มีความหวังและมีความกล้าหาญ จะทำให้เป็นคนที่ประสบ
ผลสำเร็จ มีความสุข สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขตามที่ตนปรารถนา
บุคคลที่เห็นคุณค่าในตนเอง รู้ว่าตนเองมีคุณค่า มักจะมีการประเมินตนเองใน
ด้านดี แต่ถ้าบุคคลใดที่มีความรู้สึกว่าไม่มีใครสนใจ ไม่ได้รับการยอมรับหรือทำอะไรแล้วไม่
ประสบความสำเร็จ จะทำให้บุคคลนั้นรู้สึกว่าตนเองไร้คุณค่า เมื่อเกิดความรู้สึกเช่นนี้ขึ้นก็จะ
ทำให้บุคคลนั้นขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
ดังนั้น ความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองที่แตกต่างกันจึงมีผลต่อความ รู้สึก หรือ
พฤติกรรมที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล (Newman. 1986 : 281-286)
ความรู้สึกที่บุคคลต้องการได้รับตอบสนองทางจิตใจ ทำให้บุคคลนั้นรู้สึกเห็น
คุณค่าในตนเอง แต่ถ้าบุคคลนั้นเกิดความรู้สึกที่ไม่พึงพอใจในตนเอง เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีใน
ตนเองก็จะทำให้มีปัญหาทางสุขภาพจิต รวมทั้งบุคคลที่ล้มเหลวทางด้านการศึกษาและด้าน
สังคม จะทำให้มีความผิดปกติทางจิตได้ บุคคลที่เป็นอาชญากรหรือพวกที่มักก่อกวน พวก
อันธพาลทั้งหลาย ก็เป็นผลเนื่องมาจากการขาดการเห็นคุณค่าในตนเองเช่นกัน
การเห็นคุณค่าในตนเองเป็นความรู้สึกภายในของบุคคล ซึ่งเป็นผลมาจากการ
ประเมินคุณค่าและความสามารถของตน ถ้าบุคคลใดประเมินค่าของตนเองสูงเกินไปจะทำให้
เกิดความรู้สึกหลงตนหรือเห็นแก่ตัว แต่ถ้าบุคคลใดที่มีอคติต่อตนเองก็จะทำให้ปฏิเสธไม่นับ
ถือตนเอง ทำให้ขาดความเชื่อมั่นในตนเองได้ ดังนั้น การพัฒนาความรู้สึกที่ดีต่อตนเองให้
มั่นคงยิ่งขึ้น ทำให้เด็กประสบความสำเร็จในกิจกรรมที่ทำโดยการใช้ความสามารถตามที่ตน
ต้องการ และอยู่ในสังคมที่ดีก็จะพัฒนาได้ (Memillan and Other. 1995 : 9-11)
การเห็นคุณค่าในตนเองนั้นมีความสำคัญต่อทุกช่วงชีวิตของเด็ก เด็กที่มีความ
นับถือตนเองต่ำหรือมีความรู้สึกที่ไม่ดีต่อตนเอง ก็เปรียบเสมือนกับเป็นคนที่พิการทาง
บุคลิกภาพ เช่นเดียวกับความพิการทางร่างกาย ซึ่งจะทำให้ประสบความล้มเหลวในชีวิตทุก
ๆ ด้านได้ การเห็นคุณค่าในตนเองจึงมีความสำคัญต่อคนเราทุก ๆ ช่วงชีวิต มีความสำคัญต่อ
การอบรมเลี้ยงดูเด็กในช่วงวัยเด็ก ทำให้เด็กเกิดความเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าในตนเอง
รู้ว่าตนเองมีความสำคัญ ซึ่งจะมีผลต่อการวางรากฐานทางบุคลิกภาพและเพื่อเป็นการ
หลีกเลี่ยงปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับเด็กได้
การเห็นคุณค่าในตนเองเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับตนเอง ทำให้คนเรา
มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง ทำให้เป็นคนที่มีความมุ่งมั่น มี
ความมานะพยายามในการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ ทำให้เป็นคนที่มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง
P a g e | 2
และผู้อื่นในด้านดี ไม่เหยียบย่ำความรู้สึกของผู้อื่นให้ตกต่ำลง เป็นคนที่มีบุคลิกลักษณะดี มี
สุขภาพจิตดี เป็นคนที่มีเพื่อนมาก ในทางตรงกันข้าม ถ้าบุคคลใดที่ขาดการเห็นคุณค่าใน
ตนเองก็จะทำให้เป็นคนที่ชอบโยนความผิดของตัวเองไปให้คนอื่น เป็นคนที่ชอบหาความ
ผิดพลาดของผู้อื่น ต้องการความเอาใจใส่และต้องการได้รับการยอมรับจากผู้อื่นสูง เป็นคนที่
ไม่ค่อยมีเพื่อน โดยเฉพาะเพื่อนสนิท เป็นคนที่ชอบเอาชนะและตนเองต้องเป็นฝ่ายถูกต้อง
เสมอ บุคคลประเภทนี้มักจะใช้ทุกวิถีทางและใช้ความรุนแรงเพื่อที่จะทำให้ตนเองชนะ เป็น
คนที่ติดสิ่งเสพติด เป็นคนที่ซึมเศร้าสิ้นหวังในชีวิต ทำให้เป็นคนเห็นแก่ตัวและมีความ
ต้องการทางวัตถุสูง ขาดการตัดสินใจที่ดี ชอบผลัดวันประกันพรุ่ง เป็นคนที่ชอบพึ่งพิงผู้อื่น
อยู่เสมอ เป็นคนที่ชอบคุยโอ้อวดเกินจริงและที่ยิ่งร้ายไปกว่านั้น คนที่ขาดการเห็นคุณค่าใน
ตนเองยังเป็นคนที่พยายามฆ่าตัวตายเนื่องมาจากว่าเห็นว่าตนเองเป็นคนไร้ค่า เมื่อเกิดปัญหา
อะไรเกิดขึ้นมักจะลงโทษตัวเอง และรู้สึกเจ็บปวดกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย บุคคล
เหล่านี้จึงมักพยายามฆ่าตัวตายเพื่อหลีกเลี่ยงสังคม ดังจะเห็นได้จากสภาพปัจจุบันเศรษฐกิจ
ตกต่ำ ผู้คนเกิดความเครียด พยายามหลีกหนีปัญหา พยายามฆ่าตัวตายดังที่เห็นได้จากทาง
หน้าหนังสือพิมพ์ วิทยุ หรือโทรทัศน์ เป็นต้น (ประเทิน มหาขันธ์. 2536 : 1-2, เกียรติวรรณ
อมาตยกุล. 2540: 4-8)
1.2 พัฒนาการของการเห็นคุณค่าในตนเอง
พื้นฐานของการเห็นคุณค่าในตนเองนั้นมีพัฒนาการมาจากความรัก และการ
ยอมรับในตัวเด็กของพ่อ แม่ สิ่งนี้เป็นรากฐานหลักในการสร้างเสริมความรู้สึกที่มั่นคงของการ
รักตนเองและคาดหวังให้ผู้อื่นรักตน ต่อมาความรู้สึกที่ดีต่อตนเองของเด็ก จะขยายความรัก
ความเอาใจใส่ของพ่อ แม่ ไปสู่บุคคลอื่นในครอบครัวและขยายกว้างออกมาสู่เพื่อน การเห็น
คุณค่าในตนเองในช่วงนี้จะขึ้นอยู่กับการได้รับผลสำเร็จตามเป้าหมาย โดยขั้นแรกสุดเด็กจะ
ปฏิบัติตนให้พ่อ แม่ พอใจ และต่อมาเป้าหมายจะค่อย ๆ ขยายมาอยู่บนพื้นฐานของมาตรฐาน
กลุ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เด็กจะมีความต้องการเห็นคุณค่าในตนเองได้ โดยการที่เด็กเรียนรู้ตนเอง
ซึ่งวัดได้จากสิ่งที่เพื่อนติดต่อกับตัวเรา เด็กจะเริ่มพัฒนาสติปัญญา ทักษะทางสังคม และ
ความมั่นใจในตนเองให้สูงขึ้น ถ้าจุดดีเหล่านี้หากได้รับการเสริมแรงจากกลุ่มเพื่อนและบุคคล
อื่นๆ การรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กก็จะพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ
นอกจากนี้ การอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดา การดูแลเอาใจใส่ และการให้การ
ยอมรับเด็กตั้งแต่เยาว์วัย ซึ่งมีความสำคัญและส่งผลต่อความภาคภูมิใจในตนเองของเด็กเป็น
อย่างมาก ทั้งนี้เพราะว่าการเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กนั้น มีผลมาจากความรักที่ได้รับจาก
ลักษณะท่าทีของผู้ให้การอบรมเลี้ยงดูมากกว่าสถานภาพทางสังคม และปริมาณวัตถุสิ่งของ
ที่เขาได้รับ (Atwater. 1974 : 128-129)
พัฒนาการของการเห็นคุณค่าในตนเองเป็นส่วนที่ได้รับการพัฒนามาจากอัต
มโนทัศน์ของเด็ก (Self Concept) ซึ่งแบ่งขั้นตอนตามวัยดังนี้
ขั้นที่ 1 ระยะก่อนรู้สำนึกตนเอง (Existential or pre self awareness) อายุ
0-2 ปี เป็นขั้นพื้นฐานที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว โดยในวัยเริ่มแรกเด็กจะให้ความ
สนใจมารดา ต่อมาเด็กจะสนใจในตนเอง โดยมองภาพของตนเองจากกระจก ซึ่งเป็นการช่วย
ให้เด็กสามารถแยกแยะตนเอง และพูดในส่วนที่เกี่ยวกับตนเองได้
ขั้นที่ 2 ปฏิบัติตนตามภายนอก (Exterior self) อายุ 2 - 13 ปี ในขั้นนี้เด็ก
รวบรวมรายละเอียดจากข้อมูลต่างๆ มีการประเมินความรู้สึกในทางบวกและลบ ซึ่งเป็นระยะที่
สำคัญมากต่อเด็ก เนื่องจากเด็กได้รับข้อมูลประสบการณ์ความสำเร็จหรือความล้มเหลว
รวมทั้งข้อวิพากษ์วิจารณ์จากผู้ใหญ่ เป็นสิ่งที่มีอำนาจต่อการพัฒนาความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง
อย่างยิ่ง ในการช่วยให้เด็กเกิดความรู้สึกว่าตนมีคุณค่ามากขึ้น ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
P a g e | 3
ดังนั้นในขั้นนี้เด็กเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับตนเองในรูปทางกายภาพ เมื่ออายุ 8 ปี เด็กเริ่มแบ่งแยก
จิตใจกับร่างกาย และยอมรับในส่วนที่เป็นกระบวนการภายใน (Gurney. 1988 : 17-24)
จุดเริ่มต้นของการเห็นคุณค่าในตนเองจะเริ่มมีในวัยก่อนเข้าเรียน โดยเด็ก
มองเห็นความแตกต่างของตนจากการรับรู้ในเรื่องของสติปัญญา ความพร้อมทางการเรียน
การได้รับการยกย่อง ยอมรับจากพ่อแม่ และเพื่อน ๆ และลักษณะทางกาย ซึ่งพัฒนาการทาง
ความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กแต่ละคนจะพัฒนาไปช้า ๆ ทีละด้าน ในลักษณะของ
การจัดระบบ เช่น สวยหรือไม่สวย ต่อมาจะเป็นการนำมาบูรณาการผสมผสานและนำไปสู่การ
สร้างภาพพจน์เกี่ยวกับตน จนสามารถประเมินค่าของตนได้ (Berk. 1989 : 469-472)
การเห็นคุณค่าในตนเองเริ่มเกิดขึ้นในเด็กวัยก่อนปฐมศึกษา แต่ไม่ปรากฏ
ชัดเจน เนื่องจาก เด็กไม่สามารถสร้างโครงสร้างการประเมินตนได้ด้วยการนำมาบูรณาการให้
เป็นอัตมโนทัศน์ของตน เด็กจะประเมินตนเองจากลักษณะนิสัยเฉพาะด้านจากสิ่งที่ผู้อื่นให้
การยอมรับ ซึ่งการยอมรับเด็กแบ่งเป็น 2 แบบ คือ เด็กรับรู้ความมีคุณค่าของตนจากการที่
บิดามารดายอมรับในตัวเด็ก และเด็กรู้ว่าตนสามารถทำอะไรได้ดีหรือไม่ดี ซึ่งในวัย 4-7 ปีนี้
เด็กยังสับสนในการแยกแยะความแตกต่างระหว่างความสามารถในการทำกิจกรรม กับ
ความสามารถทางทักษะเกมกีฬาเฉพาะอย่าง (Berk. 1989 : 469-472 ; Citing Harter.
1983 : 275-385)
พัฒนาการในการเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กก่อนประถมศึกษา มีการ
เปลี่ยนแปลงขึ้นลงอยู่เสมอ ซึ่งอาจเกิดการหยุดชะงักได้เมื่อเข้าสู่วัยประถมต้น ทั้งนี้เนื่องจาก
เด็กได้ประเมินคุณค่าของตนไว้สูงในระยะแรก ประกอบกับการประสบความล้มเหลวในการ
เรียน หรือได้รับการตำหนิจากผู้อื่น นอกจากนี้ เด็กในวัยประถมศึกษาม้กจะประเมินค่าของตน
โดยการเปรียบเทียบตนกับเพื่อน ในเรื่องที่เกี่ยวกับรูปลักษณ์ภายนอก เรื่องความสวยความ
งาม ความฉลาดหรือความเป็นที่รัก หรือชอบของเพื่อน ๆ ซึ่งเด็กที่เล็กกว่าไม่สามารถทำได้
(Berk. 1989 : 469-472 ; Citing Eshel. 1981)
การเห็นคุณค่าในตนเองนั้น ส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับพฤติกรรมของ
บิดามารดา การกำหนดกฎเกณฑ์ การจัดการดูแลให้เด็กปฏิบัติตามสิ่งที่บิดา มารดา กำหนด
ไว้ โดยการกำหนดและจำกัดขอบเขตพฤติกรรมคงเส้นคงวา การสนับสนุนให้เด็กมีความ
ต้องการด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถเป็นเลิศในด้านต่าง ๆ ครอบครัวที่ตั้ง
กฎเกณฑ์กำหนดแนวปฏิบัติอย่างชัดเจน จะใช้วิธีการลงโทษที่รุนแรงน้อยกว่าครอบครัวที่ไม่
มีกฎเกณฑ์ ซึ่งจะทำให้เด็กมีการเห็นคุณค่าในตนเองสูง และถ้าบิดามารดามีการเห็นคุณค่า
ในตนเองสูง ก็จะมีทัศนคติที่ดีต่อเด็ก ให้การยอมรับเด็ก และมีการยืดหยุ่นในข้อกำหนดที่ตั้ง
ไว้ด้วย (สมพิศ ไชยกิจ. 2536 : 15 ; อ้างอิงจาก Coopersmith. 1981 : 119)
ในช่วงวัยเด็กตอนกลาง การเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กนี้มีพัฒนาการมาจาก
สังคมภายนอก ครอบครัว สังคมของวัยเด็กตอนกลางประกอบด้วยกลุ่มเพื่อน สถานภาพทาง
สังคม การคล้อยตามกลุ่มอันธพาลและอคติ (Bass. 1960 : 43) เด็กต้องการเห็นคุณค่าใน
ตนเอง โดยเด็กจะเรียนรู้เกี่ยวกับตนเองจากสิ่งที่เพื่อนๆ คิดเกี่ยวกับตัวเขา เด็กจะเริ่มพัฒนา
ทางสติปัญญา ทักษะทางสังคม และความมั่นใจในตนเองให้สูงขึ้น ถ้าสิ่งเหล่านี้ได้รับการ
เสริมแรงจากกลุ่มเพื่อนที่เขารักและนิยมชมชอบ เด็กก็จะมีการเห็นคุณค่าในตนเองสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม เด็กในกลุ่มอันธพาลอาจพบว่า ยิ่งถ้าเขาแสดงพฤติกรรมแข็งกร้าวเพียงใด
กลุ่มก็จะให้ความสำคัญกับเขามากขึ้น ก็แสดงว่าภาพเกี่ยวกับตนเองของเด็กจะได้รับการ
สนับสนุนจากกลุ่มเพื่อน ทำให้เด็กเกิดความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง ถึงแม้ว่าจะเป็น
พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมก็ตาม (Craig. 1987 : 350) ความต้องการการเห็นคุณค่าในตนเอง
จึงสามารถผลักดันให้เด็กแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ทั้งทางบวกและทางลบออกมาได้ ดังนั้น
P a g e | 4
การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนจึงส่งผลต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของเด็ก (Burnside. 1979 :
134)
การเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กวัยรุ่น เป็นสิ่งที่ช่วยให้วัยรุ่นสามารถปรับตัวได้
อย่างมีความสุขตามวัยของเขา โดยเปิดโอกาสให้เขาได้มีประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จ
ในสิ่งที่เขากระทำ ฉะนั้น ผู้ใหญ่ควรเปิดโอกาสให้เขาได้แสดงหรือได้กระทำในสิ่งที่เหมาะสม
กับระดับความสามารถ ความถนัด และความสนใจของเขา พร้อมทั้งให้การช่วยเหลือเขาโดย
ไม่ตั้งความคาดหวังต่อตัวเขามากจนเกินความสามารถ ทั้งนี้เพื่อให้เขาประสบความสำเร็จ
และเกิดความภาคภูมิใจในตนเองบ้าง (วัชรี ทรัพย์มี. 2528 : 17)
จากเอกสารทั้งหมดที่กล่าวมาพอสรุปได้ว่า การเห็นคุณค่าในตนเองนั้นพัฒนา
มาจากการอบรมเลี้ยงดูของบิดา มารดา และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ การได้รับความรัก ความ
ไว้วางใจจากบิดา มารดา สมาชิกในครอบครัว ต่อมาเป็นกลุ่มเพื่อนทั้งที่บ้าน ที่โรงเรียน และ
ครู จะช่วยสร้างเสริมความรู้สึกที่มั่นคงของการรักตนเอง มีอัตมโนทัศน์ที่ดีเกี่ยวกับตนเอง
และมีความคาดหวังให้ผู้อื่นรักตน ต่อมาเด็กก็จะมีการขยายความรัก ความเอาใจใส่ที่บิดา
มารดามีต่อตน ขยายไปสู่บุคคลในครอบครัว และขยายกว้างออกไปยังกลุ่มเพื่อนและบุคคล
ต่าง ๆ ในสังคม
1.3 ลักษณะของเด็กที่เห็นคุณค่าในตนเอง
ลักษณะของบุคคลที่เห็นคุณค่าในตนเองสูง จากการศึกษาของ Bass (Bass.
1960 : 129) มีลักษณะดังนี้ เป็นผู้ที่
1. มีความเชื่อมั่นในตนเอง
2. มองตนเองในด้านบวก
3. มีความรู้สึกมั่นคงและปลอดภัย ไม่หวั่นไหวต่อคำวิจารณ์
4. มีลักษณะยอมรับตนเอง ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
5. ใส่ใจในความสามารถรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่นได้อย่างละเอียดอ่อน
6. สามารถแสดงความคิดเห็นและความต้องการของตนเองอย่าง
ตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง
7. ใช้กลไกในการป้องกันตนเองน้อย
8. เป็นผู้ริเริ่มสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นก่อน
9. มีความยืดหยุ่นและมีความริเริ่มสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์
ลักษณะของคนที่เห็นคุณค่าในตนเองนั้นจะเป็นคนที่มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง
และผู้อื่น เป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับ
สภาพแวดล้อมที่ดี มีอารมณ์มั่นคง มีบุคลิกภาพที่ดี มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความกระตือรือร้น
สามารถทำงานให้ประสบผลสำเร็จได้ มีความเป็นอิสระ เป็นผู้นำ และมีความรับผิดชอบ กล้า
หาญ ไม่หลีกเลี่ยงปัญหา ทำให้ชีวิตมีความสุข ปราศจากความวิตกกังวลและแก้ปัญหาได้ดี
1.4 องค์ประกอบของการเห็นคุณค่าในตนเอง
การเห็นคุณค่าในตนเองของบุคคลเป็นการประเมินอัตมโนทัศน์ของบุคคล ซึ่ง
ได้แก่ ความคิด ความรู้สึก และเจตคติที่บุคคลมีต่อตนเอง ซึ่งมีผู้ให้แนวคิดเกี่ยวกับ
องค์ประกอบของตนที่เกี่ยวข้องกับการเห็นคุณค่าของตนเอง ซึ่ง Lovell (Lovell. 1980 :
115-118) ได้แบ่งองค์ประกอบของตนออกเป็น 3 ส่วน คือ
1. ภาพลักษณ์ของตนเอง (Self Image) เป็นลักษณะของบุคคลที่ปรากฏ
ออกมาในช่วงแรกของชีวิต ซึ่งได้ภาพลักษณ์จากบุคคลอื่น โดยเฉพาะบิดา มารดา สมาชิก
ในครอบครัว และเพื่อน ๆ ตามลำดับ
P a g e | 5
2. ตนในอุดมคติ (Ideal Self) เป็นภาพที่บุคคลต้องการจะเป็นตนในอุดมคติ มี
จุดเริ่มจากการที่มีบุคคลอื่น ๆ เป็นแบบอย่าง และจะสร้างแบบอย่างของตนขึ้นมา (Model
Self) ในเด็กเล็กก็จะมีแบบอย่างเป็นของตนเอง โดยเริ่มจากบิดา มารดา หรือบุคคลใกล้ชิด
3. การเห็นคุณค่าในตนเอง (Self Esteem) เป็นความรู้สึกที่ดีต่อตนเองหรือตน
ในอุดมคติ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการตัดสินคุณค่าในตนเอง และเกี่ยวข้องกับความแตกต่าง
ระหว่างภาพลักษณ์แห่งตน กับตนในอุดมคติ ถ้าใกล้กันมากก็จะมีการเห็นคุณค่าในตนเองสูง
และถ้าแตกต่างกันมากก็จะเห็นคุณค่าในตนเองต่ำ จะทำให้เป็นคนที่มีความวิตกกังวลสูง มี
ความรู้สึกไม่ปลอดภัย และมีสุขภาพจิตไม่ดี
การพัฒนาเด็กให้เห็นคุณค่าในตนเองนั้น เราควรที่จะต้องให้ความสำคัญของ
องค์ประกอบ ที่เป็นปัจจัยในการส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองเป็นอย่างมาก จึงจะทำให้
ส่งผลที่ดีต่อการพัฒนาตนของเด็ก
1.5 แนวทางการพัฒนาและสร้างการเห็นคุณค่าในตนเอง
การเห็นคุณค่าในตนเองเป็นสิ่งที่สามารถเรียนรู้ได้ สามารถเปลี่ยนแปลงได้
และพัฒนาให้เกิดขึ้นได้จากประสบการณ์ที่บุคคลได้รับ นักจิตวิทยาได้เสนอแนวทางในการ
พัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเอง
จากแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาและสร้างการเห็นคุณค่าในตนเอง ของ
นักจิตวิทยาที่กล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่ามีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็น
แนวทางในการสร้างเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองได้ ดังนี้
1. การจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่ผ่อนคลาย ให้การรับฟังและยอมรับ
ความคิดเห็น มีการเสริมแรงและให้กำลังใจ นอกจากนี้การสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย อาจ
ส่งเสริมได้โดยการจัดกิจกรรมคลายเครียดต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสดใส สงบ และเกิดความ
สมดุลระหว่างร่างกายและจิตใจ (เกียรติวรรณ อมาตยกุล. 2540 : 34-37)
2. จัดกิจกรรมเพื่อให้มีโอกาสในการแก้ปัญหาร่วมกัน โดยใช้กระบวนการกลุ่ม
และใช้วิธีการแก้ปัญหาแบบปลายเปิด เพื่อให้โอกาสคิดด้วยเหตุผลอย่างอิสระและสามารถ
ประสบความสำเร็จในการคิดแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการเห็นคุณค่าในตนเองได้ (ชัยรัตน์ วงศ์
อาษา. 2539 : 22 ; อ้างอิงจาก Coopersmith. 1988 ; Bruno. 1983 : 363)
3. เปิดโอกาสให้แต่ละคนแสดงความคิดเห็น เป็นการสะท้อนความคิดและ
ค่านิยมของตน เพื่อให้เกิดการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นและเข้าใจความคิดเห็นและ
ค่านิยมของผู้อื่น
4. มีการตั้งเป้าหมายหรือคาดหวังถึงวันข้างหน้า เพื่อสร้างความภาคภูมิใจใน
ตนเอง นอกจากนี้การระลึกถึงงานที่ทำเสร็จแล้วเป็นการให้กำลังใจและชื่นชมในตัวเอง
(Sasse. 1978 : 48) 5. มีการวิเคราะห์และให้ข้อมูลย้อนกลับจากการแก้ปัญหาร่วมกัน ช่วย
ให้เกิดการเสนอแนะ ทำให้เกิดการยอมรับสภาพตามความเป็นจริง ดังที่บรู้ค (Brook. 1992 :
544-548) กล่าวไว้
2. ความอ้างว้างเปล่าเปลี่ยว (Loneliness)
ความอ้างว้างเปล่าเปลี่ยวหรือความโดดเดี่ยว (Loneliness) นี้ เป็นความ รู้สึก
เหงา เหมือนตัวเองอยู่คนเดียวขาดคนเข้าใจ
ความอ้างว้างเปล่าเปลี่ยวหรือความโดดเดี่ยวนี้ ก็เป็นลักษณะหนึ่งของเด็กที่มี
ความสามารถพิเศษที่มักจะพบเห็นได้ จนคนทั่วไปมักเข้าใจผิดคิดว่าเป็นลักษณะประจำตัว
ของเด็กประเภทนี้ว่าชอบอยู่คนเดียว เข้ากับเพื่อน ๆ ไม่ได้ จริง ๆ แล้ว เด็กที่มีความสามารถ
พิเศษนี้มักจะใช้เวลาหมกมุ่นอยู่กับงานที่ตนเองสนใจอย่างลึกซึ้งมากจนเกินไป และชอบที่
P a g e | 6
จะศึกษาค้นคว้าให้ถึงที่สุด ชอบขบคิดพิจารณาอย่างถี่ถ้วนทุกแง่ทุกมุม จึงดูเหมือนว่าไม่
สนใจเหตุการณ์รอบ ๆ ตัว ในบางครั้งมองดูเหมือนเลื่อนลอยหรือฝันกลางวัน บางทีเด็ก
ประเภทนี้เป็นคนที่มีความรู้สึกนึกคิดว่องไว มองเห็นปัญหา ช่องว่าง หรือสิ่งที่บกพร่องได้
อย่างฉับไว ถูกต้องและแม่นยำ รู้จักใช้ถ้อยคำศัพท์สูง ๆ เท่าผู้ใหญ่ จึงกลายเป็นคนปากจัด
พูดไม่เข้าหูคน ช่างติ ช่างวิจารณ์ หรืออาจเพราะเป็นเด็กช่างสังเกต ช่างซัก ช่างถาม
มองเห็นอะไรในแง่มุมที่แปลก ๆ จึงกลายเป็นเด็กอวดรู้ ชอบลองดีกับครู จากลักษณะ
ดังกล่าวจึงทำให้เพื่อน ๆ ไม่ชอบ ไม่พอใจ จึงทำให้เด็กประเภทนี้ในบางรายมีลักษณะโดด
เดี่ยวอ้างว้าง จริง ๆ แล้วเด็กประเภทนี้ต้องการมีเพื่อนที่เข้าใจ พูดคุยในสิ่งที่สนใจคล้าย ๆ
กัน ดังนั้น พ่อ แม่ ครู ต้องพยายามเข้าใจเด็กและช่วยเหลือเด็กไม่ให้เด็กเกิดความรู้สึกเช่นนี้
ตลอดไป พยายามหาเพื่อน หากลุ่ม ชมรมที่สนใจในลักษณะเช่นเดียวกับเขา หรือจัด
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านให้เขาได้ศึกษาหรือพูดคุยด้วย จะได้ช่วยให้เด็กไม่โดดเดี่ยวอ้างว้าง
หรือรู้สึกเหงา ซึ่ง "เพื่อน" ของเด็กกลุ่มนี้หมายถึง คนที่มีความสนใจ ความถนัด และมีวิธีคิด
ต่าง ๆ ใกล้เคียงกัน "เพื่อน" ของเขาจึงอาจไม่ใช่คนในวัยเดียวกันก็ได้ บ่อยครั้งเราจึงเห็น
เด็กกลุ่มนี้ชอบอยู่กับผู้ใหญ่ คบกับผู้ใหญ่มากกว่าเด็กวัยเดียวกัน
3. ทักษะทางสังคม (Social Skills)
การขาดทักษะทางสังคมถือว่าเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในกลุ่มเด็กที่มี
ความสามารถพิเศษ เนื่องจากภาวะโครงสร้างทางการรับรู้ การประมวลสิ่งที่รับมา ตลอดจน
โครงสร้างทางจิตใจที่ละเอียดอ่อนกว่าเด็กปกติ ทำให้เด็กกลุ่มนี้อ่อนไหว และมีความรู้สึก
แปลกแยกจากเด็กอื่น ๆ ได้ง่าย จึงทำให้ขาดความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม บางราย
ตอบสนองด้วยการถดถอยออกจากกลุ่ม บางรายมีพฤติกรรมต่อต้านกลุ่ม บางรายแสดง
อาการสับสนและขาดความสามารถแสดงออกตามกาละเทศะ
3.1 ความหมายของทักษะทางสังคม
ทักษะทางสังคมนั้นเป็นความสามารถที่เราสามารถรู้จักเข้าใจความ รู้สึก
ความต้องการทางจิตใจ หรือความต้องการต่าง ๆ ของคนที่เราเกี่ยวข้องด้วย รวมทั้ง รู้จักที่จะ
สร้างสานสายสัมพันธ์ให้มั่นคงด้วยความรัก ความเอาใจใส่เอื้ออาทรต่อผู้อื่นอย่างต่อเนื่อง
รู้จักการแสดงออกอย่างเหมาะสมต่อสถานการณ์ต่าง ๆ (อุษณีย์ โพธิสุข. 2542: 132)
3.2 ความสำคัญของการเสริมสร้างทักษะทางสังคม
ในการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็ก ประเด็นสำคัญอย่างหนึ่งคือ ความ
เข้าใจถึงขั้นของพัฒนาการตามวัย และพัฒนาการของเด็กแต่ละคนที่ถึงแม้ว่าเป็นเด็กที่มี
ความสามารถพิเศษ ก็อาจมีพัฒนาการทางสังคมล่าช้ากว่าเด็กทั่วไป อย่างไรก็ตาม ครูควร
เข้าใจขั้นพัฒนาการของเด็กปกติเพื่อเป็นเกณฑ์การทำความเข้าใจให้ง่ายขึ้น
เด็กในวัยประถมศึกษาซึ่งเป็นเด็กที่มีอายุระหว่าง 6-12 ปีนั้น เป็นวัยที่เด็กมี
พัฒนาการทางด้านต่าง ๆ พัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงพัฒนาการทางด้านสังคม
ด้วย โดยที่เด็กจะมีการพบปะกันทางสังคมมากขึ้น เด็กจะใช้เวลาอยู่กับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่พ่อ
แม่ มากขึ้น ถึงแม้ว่าพ่อ แม่ จะมีบทบาทในการอบรมเลี้ยงดูเด็กก็ตาม บุคคลอื่นก็มีบทบาท
ในการรอบรมเลี้ยงดูเด็กพอ ๆ กับพ่อแม่
เด็กในวัยนี้เป็นวัยที่สำคัญในการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่วัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ที่จะ
สามารถรับผิดชอบตนเองได้ เช่น เริ่มเรียนรู้ในการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น การให้ความเป็น
เพื่อนกับบุคคลอื่น เป็นต้น สังคมของเด็กวัยนี้จะเริ่มอยู่กับกลุ่มและกับเพื่อนวัยเดียวกัน เด็ก
จะเริ่มเรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่น เริ่มเรียนรู้มารยาททางสังคมและนิสัยเหมือนเด็กเล็ก ๆ ที่จะ
เริ่มลดลง
P a g e | 7
3.3 ปัจจัยที่ช่วยพัฒนาทักษะทางสังคม
การตรวจสอบปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทางสังคมก็เป็นสิ่งสำคัญ ที่จะทำให้
เราเข้าใจถึงพฤติกรรมทางจิตใจของเด็กได้ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมทางสังคม มีดังนี้คือ
1. ประสบการณ์ทางบ้าน ซึ่งถ้าเด็กได้เจริญเติบโตมาจากครอบครัวที่มีความ
รัก ความอบอุ่น ความเป็นมิตร พ่อ แม่ได้แสดงความรักและยอมรับในตัวเด็ก ก็จะทำให้เด็กมี
พัฒนาการและบุคลิกภาพที่ดีที่โรงเรียนได้
2. ประสบการณ์ทางโรงเรียน โดยโรงเรียนสามารถส่งเสริมและมีการจัด
กิจกรรมให้กับเด็ก เช่น จัดให้มีสนามเด็กเล่น ห้องสำหรับทำกิจกรรม เป็นต้น เด็กก็สามารถ
เรียนรู้ที่จะปรับตนให้เข้ากับผู้อื่นได้ดีขึ้น
3. บทบาทของครู ครูมีบทบาทสำคัญที่จะพัฒนาทักษะทางสังคมให้เด็กวัย
ประถมศึกษาได้เป็นอย่างดี โดยครูเป็นผู้ช่วยให้เด็กเปลี่ยนบทบาทในความสัมพันธ์กับคนอื่น
ๆ และเด็กในวัยเดียวกัน ช่วยให้เด็กสามารถแก้ไขตนเองได้ เด็กก็จะมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ
ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อพัฒนาการทางสังคมของเด็ก เมื่อเด็กเติบโตขึ้น เด็กก็จะเรียนรู้ เชื่อ
ฟังกฎ กติกา และทำตามระเบียบของโรงเรียนได้
3.4 หลักการเสริมสร้างทักษะทางสังคม
การจัดให้เด็กทำงานกันเป็น "กลุ่ม" เป็นวิธีการที่ดีอย่างยิ่งที่จะช่วยให้เด็กมี
ทักษะทางสังคม เด็กจะมีการเรียนรู้ถึงการแก้ปัญหาจากการทำงานกลุ่ม การจัดให้มีกลุ่ม
หลาย ๆ ชนิด การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร โดยให้ "ครู" เป็นผู้แนะนำ จะช่วยให้เด็กได้
เรียนรู้วิธีการเล่นที่เหมาะสม และรู้จักยอมรับผลของการแข่งขันด้วย
การเล่นของเด็กวัยนี้ยังไม่ค่อยกว้างขวางมากเท่าไร เด็กจะเริ่มเล่นอยู่ในกลุ่ม
มากขึ้น ลดการเล่นแบบต่างคนต่างเล่น เด็กจะเปลี่ยนแปลงวิธีการเล่นอยู่เสมอ มีการเอาแต่
ใจตนเองบ้าง และต้องการเอาชนะบ้าง แต่เมื่อเด็กโตขึ้นเด็กจะเรียนรู้และสามารถปรับตัวให้
เข้ากับกลุ่มเพื่อนได้ดีขึ้น การรวม "กลุ่ม" นั้น มีอิทธิพลต่อเด็กมาก ทำให้เด็กได้รับการ
ตอบสนองขั้นพื้นฐาน เช่น ได้รับคำยกย่อง ได้เป็นคนสำคัญของกลุ่ม ได้เป็นส่วนหนึ่งของหมู่
คณะ อยากให้ผู้อื่นสนใจร่วมทำกิจกรรมกับตน และตนก็ได้มีส่วนร่วมรับรู้ในกิจกรรมของผู้อื่น
ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เด็กได้พัฒนาความมั่นคงทางจิตใจ ความรู้สึก ว่าตนมีเจ้าของและเป็น
เจ้าของ จะเห็นได้ว่าการที่เด็กได้เข้าร่วมทำกิจกรรมกลุ่มนั้น ทำให้เด็กได้รู้จักโลก รู้จักสังคม
และชีวิตดีขึ้น พ่อ แม่ และผู้ปกครอง ควรมีส่วนสนับสนุนและให้โอกาสเด็ก คอยให้คำแนะนำ
และช่วยเหลือเด็กก็จะทำให้เด็กเจริญเติบโตขึ้นมีทักษะทางสังคมดีขึ้น
3.5 เป้าหมายของการเสริมสร้างทักษะทางสังคม มี 3 ประการ
1. การเสริมสร้างทักษะทางกาย เพื่อให้เด็กสามารถใช้อวัยวะต่าง ๆ ของ
ร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว ว่องไว
2. เสริมสร้างทักษะการเขัาใจตนเองและเข้าใจผู้อื่น เพื่อให้เด็กได้ตระหนักรู้
ว่าตนเองมีลักษณะอย่างไร มีความสามารถในด้านใดบ้าง ได้รู้ในสิ่งที่ตนชอบและเพื่อนไม่
ชอบ ได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่น
3. เสริมสร้างทักษะการใช้คำพูดในการสื่อสาร เพื่อให้เด็กสามารถมี
ปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ได้มีการสื่อสารให้ถูกกับกาละเทศะและบุคคล เพื่อให้เด็กได้รับการ
ยอมรับจากบุคคลอื่น ๆ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2541 : 36-38)
P a g e | 8
4. ความคับข้องใจ (Frustration)
ความคับข้องใจ (Frustration) หมายถึง ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเนื่องจากไม่
สามารถตอบสนองความต้องการของตนเองได้ บุคคลใดก็ตามที่สามารถสนองความต้องการ
ทุกอย่างได้ในทันทีที่เกิดความต้องการ บุคคลนั้นก็จะไม่มีความคับข้องใจ แต่คนเราไม่
สามารถที่จะทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปได้ดังใจที่ปรารถนา อาจเป็นเพราะมีอุปสรรคหรือมี
ความขาดแคลนบางอย่าง มีผลทำให้เกิดความขุ่นเคืองใจหรือความคับข้องใจ ดังนั้น เมื่อไม่
เป็นไปตามที่คิดไว้คนเราจึงต้องพบกับปัญหาอยู่เสมอ ๆ
ความคับข้องใจนี้เด็กที่มีความเฉลียวฉลาดหรือเด็กที่มีความสามารถพิเศษมักจะ
ประสบอยู่เสมอ เนื่องจากมีความคิดและการกระทำอะไรรวดเร็วจนคนทั่วไป หรือเพื่อน ๆ คิด
ไม่ทัน ทำให้เกิดความรู้สึกว่าไม่มีใครเข้าใจสิ่งที่ตนคิดและพูด จึงมีผลทำให้เกิดความคับ
ข้องใจเกิดขึ้น ดังนั้น พ่อ แม่ ครู จึงควรมีความเข้าใจในตัวเด็ก และช่วยให้เด็กได้ผ่อนคลาย
และหาทางออกที่ดี เพื่อที่เด็กจะได้สร้างสรรค์ผลงานและสิ่งที่ดี ๆ มีประโยชน์ให้กับสังคมได้
แนวทางแก้ไขสามารถใช้วิธีคล้ายคลึงกับการช่วยเหลือเด็กที่ชอบทำอะไรแบบสมบูรณ์ ไม่มี
ที่ติ (Perfectionism) ได้
4.1 กระทำทุกอย่างให้สมบูรณ์ไม่มีที่ติ (Perfectionism)
ลักษณะของการที่ต้องการทำอะไรทุกอย่างให้สมบูรณ์โดยไม่มีที่ตินั้น เป็น
ความสามารถที่โดดเด่น หนึ่งในจำนวนกลุ่มของพวกเด็กปัญญาเลิศทั้งหลาย ซึ่งต้องการเป็น
คนดีพร้อมทุกสิ่งไม่มีที่ติ
ลักษณะของเด็กที่มีนิสัยต้องการทำอะไรสมบูรณ์ไม่มีที่ติ พอสังเกตได้ ซึ่ง
Adderholdt. 1987 ได้กล่าวไว้ดังนี้
1. ความหงุดหงิดและโกรธอยู่เกือบตลอดเวลา
2. พูดเร็ว เดินเร็ว รับประทานเร็ว
3. ชอบการแข่งขันอย่างมาก
4. จัดเวลาทำงานมากขึ้นกว่าเดิม เล่นน้อยกว่าเด็กทั่วไป
5. ชอบทำอะไรสองอย่างในเวลาเดียวกัน เช่น ทำไปด้วยกินไปด้วย พูด
โทรศัพท์ไปด้วย อ่านหนังสือไปด้วย
6. ไม่ค่อยผ่อนคลายความตึงเครียด
7. ไม่มีความอดทน เช่น เกลียดการยืนรอคิวยาว ๆ
8. มีความภาคภูมิใจที่จะทำอะไรเร็วขึ้น ๆ
9. ไม่ค่อยรับรู้เรื่องความงดงามหรือมีสุนทรีย์เกี่ยวกับธรรมชาติ เท่าไรนัก
10. ไม่ค่อยรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น
จากลักษณะที่สังเกตได้ 1-10 เกือบทั้งหมดก็อาจต้องทำให้เด็กเกิดปัญหา
ในอนาคตทั้งกายและใจได้ เช่น อาจไม่สำเร็จทุกครั้งที่ทำงานเด็กจะรับได้หรือไม่ คนเช่นนี้
มักมีปัญหาทางสุขภาพ เช่น ความดันสูง เส้นเลือดในสมองแตก เป็นโรคหัวใจ มีอารมณ์
โกรธ หงุดหงิด หากทำอะไรแล้วไม่ได้เสร็จสมบูรณ์ตามที่ใจตนปรารถนา เด็กก็จะเกิดความ
ขัดแย้งที่รุนแรงขึ้น ๆ กับตนเองและสังคมรอบด้าน หากมีคนเข้าใจแล้วหาทางช่วยผ่อนคลาย
เด็กก็จะมีความสุข ความสบาย
การที่เด็กชอบทำอะไรให้เสร็จสมบูรณ์ไม่มีที่ตินั้น พบว่าทางบ้านของเด็กที่
พ่อแม่มักเข้มงวดและคาดหวังในตัวลูกมากเกินความเป็นจริง จึงทำให้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้
เด็กลักษณะเช่นนี้ ในบางกรณีมีเด็กระดับฉลาด ๆ หลายคนซึ่งไม่สามารถจัดการตนเองให้สม
กับความคิดของตนได้ ความรู้หลาย ๆ อย่างที่เด็กมีนั้นอาจนำพาให้เด็กไปสู่ความลำบากได้
P a g e | 9
และบางรายอาจถึงแก่ชีวิตได้ หากพบว่าเด็กในครอบครัวมีอาการดังกล่าวต้องรีบให้ความ
ช่วยเหลือและแก้ไขโดยด่วน ก่อนที่จะสายเกินไปหรือขอคำปรึกษาจากนักจิตวิทยา
4.2 วิธีการผ่อนคลายหรือลดอาการความเป็นคนสมบูรณ์ไม่มีที่ติ ดังนี้
1. ออกกำลังกายเพื่อปั้มออกซิเจนขึ้นสมอง โดยเฉพาะในช่วงเวลาสอบ
สมองต้องการออกซิเจนมากเป็นพิเศษ อย่าฝึกให้ลูกดื่มกาแฟก่อนสอบ ให้ออกกำลังกาย
สักครู่เด็กก็จะรู้สึกดีขึ้น
2. ฟังเพลงคลาสสิก ฟังเพลงเบาๆ ช่วยผ่อนคลายความเคร่งเครียด บางคน
ชอบความเงียบก็ควรตามใจ แต่ถ้าเพลงที่ดังเกินไปก็ไม่ช่วยอะไร นอกจากจะทำให้เกิด
ความเครียดยิ่งขึ้น
3. ให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตามหลักโภชนาการ ในปัจจุบันมี
การศึกษาถึงผลของอาหารที่มีต่ออารมณ์ ความคิด สภาพชีวเคมีในร่างกาย เด็กเครียด ๆ
มักจะชอบกินของหวานและมักจะกินของที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น น้ำอัดลม ขนม
ลูกกวาด ฯลฯ พยายามฝึกให้ลูกหลีกห่างจากสิ่งเหล่านี้ เพราะสารเคมีต่าง ๆ จะทำให้เป็น
เด็กลุกลี้ลุกลนอยู่นิ่งไม่ได้ อาจหาอะไรที่ไม่หวานขบเคี้ยวจะได้ตื่นเต้น
4. ฝึกสมาธิหรือการผ่อนคลายกล้ามเนื้อคลายความเครียดต่าง ๆ เช่น การ
เปิดเพลงเบา ๆ และคิดไปตามเพลง โดยลดความกังวล สร้างจินตนาการต่าง ๆ ตาม
เสียงเพลง ใช้เทคนิคใด ๆ ก็ได้ที่ทำให้จิตใจปลอดโปร่ง การลดความตึงเครียดจึงถือเป็น
หัวใจสำคัญสำหรับเด็กประเภทนี้ ซึ่งจะป้องกันอันตรายในอนาคตไม่ให้เด็กเกิดความเครียด
ได้
5. นอนพักเวลาเหน็ดเหนื่อยมาก ๆ ถึงแม้ว่าไม่ใช่เวลานอน การฝึกให้หลับ
สักครู่เป็นเวลาสั้น ๆ สักครึ่งชั่วโมงก็ทำให้หายเครียดได้
6. พยายามหาทางให้เด็กอธิบายความคิดของเขาให้คนอื่นเข้าใจ ให้เขาหา
เพื่อนที่ไว้ใจใกล้ชิดพูดความลับต่าง ๆ ได้อย่างเปิดอก ให้พ่อ แม่ ได้รู้จักเพื่อนๆ ของลูก
และทำให้ลูกไม่รู้สึกเหมือนพ่อ แม่ เป็นคนอื่น
7. หาหนทางให้เด็กมีโอกาสศึกษาหลักปรัชญาหรือธรรมทางศาสนา ต่าง ๆ
เพราะจะช่วยเป็น "แสงส่องทาง" ที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างคาดไม่ถึง เพราะหลักศาสนา
เปรียบเหมือน "ยาวิเศษ" สำหรับเด็กฉลาด พ่อ แม่ อาจเริ่มจากการที่เด็กเริ่มอ่านนิทาน
ธรรมะ กฎแห่งกรรมง่าย ๆ ก่อน จนกระทั่งเด็กสนใจพอจึงให้ศึกษาธรรมะชั้นสูงขึ้น
ในกรณีที่ครูสังเกตเห็นเด็กนักเรียนมีความเครียด มีความกดดัน ควรรีบ
หาทางพูดกับเด็กโดยด่วน อย่าทิ้งไว้ข้ามคืน เพราะเสี่ยงต่อผลที่อาจเกิดจากการที่เด็กถูกทิ้ง
ให้คิดเอง แก้ปัญหาเอง ครูควรร่วมมือกับพ่อ แม่ รีบช่วยสะสางปัญหาต้นเหตุ และช่วยชี้แนะ
แนวทางด้วยความเข้าใจ ความรู้สึกของเด็ก การรับรู้ และเข้าใจความคิดและความรู้สึกของ
เด็กเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องสนใจ ส่วนความถูกต้องเป็นเรื่องรองของเขา (อุษณีย์ โพธิสุข.
2542)
5. ความเชื่อมั่นในตนเอง (Self confident)
ความเชื่อมั่นในตนเอง หมายถึง การที่เรามีความรู้สึก หรือความคิด ความเชื่อ
ว่าตนเองสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้ (อุษณีย์ โพธิสุข. 2542 : 57)
ความเชื่อในตนเอง หมายถึง ความมั่นใจ หรือความกล้าของบุคคลที่จะทำใน
สิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จได้ตามที่ตนได้ตั้งใจไว้ แม้ว่าจะมีอุปสรรคก็ยังไม่ทำให้เกิดความย่อท้อ
ยังคงสามารถทำสิ่งนั้น ๆ ต่อไป โดยมีความมั่นใจว่าตนสามารถที่จะกระทำสิ่งนั้นให้สำเร็จ
ลุล่วงไปได้ด้วยความถูกต้อง
P a g e | 10
บุคคลที่มีความเชื่อในตนเองมักจะกล้าตัดสินใจด้วยตนเองเมื่อมีปัญหา
เกิดขึ้น มีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน สามารถทำให้ตนประสบความสำเร็จในการงานได้
มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ ๆ และสิ่งแวดล้อมใหม่ได้ ซึ่งความ
เชื่อมั่นในตนเองดังกล่าวนี้เป็นบุคลิกภาพที่ดีอย่างหนึ่งที่ควรปลูกฝังให้กับเด็ก
5.1 องค์ประกอบของความเชื่อมั่นในตนเอง
พฤติกรรมของผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีลักษณะดังนี้
1. กล้าในการคิด การพูด และการกระทำ
2. มีจิตใจมั่นคง ไม่เชื่อคนง่าย มีเหตุผล
3. มีความรอบคอบ มีแผนงาน
4. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ชอบทำสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ
5. มีความกล้าเสี่ยง (กล้าได้กล้าเสีย)
6. มีลักษณะนิสัยชอบแสดงตัว
7. ไม่มีความวิตกจนเกินไป
8. มีความเป็นผู้นำ
9. เป็นผู้ที่รักในความยุติธรรม
10. ชอบช่วยเหลือหมู่คณะ
11. ชอบอิสระ ไม่โอ้อวด
12. ตั้งจุดมุ่งหมายไว้สูง และคิดว่าจะทำได้สำเร็จ
13. มีความเกรงใจ และเห็นใจผู้อื่น
(ชูชีพ อ่อนโคกสูง. 2516 : 25-28)
5.2 วิธีการช่วยให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง
1. ลดการลงโทษ เพราะผลจากการวิจัยหลายแห่งพบว่า กว่า 80% ของเด็ก
ที่ขาดความมั่นใจในตนเอง สาเหตุเกิดจากการถูกลงโทษ ถูกบังคับ ตีกรอบต่างๆ ไม่ให้เด็ก
เป็นตัวของตัวเอง ไม่กล้าคิดออกนอกลู่นอกทางของพ่อแม่หรือการที่คุณครูชอบลงโทษเด็ก
ชอบบังคับเด็ก ชอบสั่งเด็กให้อยู่ในกรอบ จนทำให้เด็กขาดความมั่นใจในตนเอง
2. ลดการตามใจเด็กจนเกินขอบเขต เด็กบางคนพ่อแม่มักตามใจ ไม่ลงโทษ
เด็ก เลี้ยงเด็กแบบทนุถนอมจนเกินไป จนเด็กไม่รู้ว่าอะไรคือความถูกต้อง จนทำให้เด็กเกิด
ความไม่มั่นใจในการแสดงออกของตนเอง
3. สร้างโอกาสแห่งความสำเร็จให้แก่เด็ก โดยสังเกตดูว่าลูกชอบอะไร ทำ
อะไรได้ดี ถึงแม้ว่าสิ่งนั้นจะไม่อยู่ในหลักสูตรก็ตาม ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถทำให้เด็กเกิด
ความสำเร็จ เกิดความมั่นใจในตนเองได้ ล้วนเป็นสิ่งที่ดีที่พ่อแม่และคุณครูควรปลูกฝังให้
โอกาสให้เด็กพบกับความสำเร็จ ก็จะทำให้เด็กเชื่อมั่นในตนเองได้
4. สร้างประสบการณ์จากสิ่งที่ง่ายไปหายาก เพราะถ้าให้งานเด็กยากเกินไป
แต่ความสามารถของเด็กน้อย ก็ทำให้เด็กขาดความเชื่อมั่น แต่ถ้างานง่าย ความสามารถของ
เด็กมีมาก ก็ยิ่งทำให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นมากขึ้น การที่พ่อ แม่ หรือครู เร่งรัดให้เด็กเร่งเรียน
เร็วเกินไป ในขณะที่เด็กยังไม่พร้อม ทำให้เด็กขาดความสุข ขาดความมั่นใจในตนเอง
5. ฝึกให้ลูกทำงานกลุ่ม การที่ลูกได้ทำงานกลุ่มย่อยๆ ทำให้เด็กได้มีโอกาส
ในการแสดงความคิด ความรู้สึกมากขึ้น การที่เด็กได้เข้าร่วมในการทำกิจกรรมกลุ่มย่อย ๆ ทำ
ให้เด็กกล้าแสดงออก มีความมั่นใจในตนเอง เพราะเมื่อเด็กได้ทำกิจกรรมกลุ่มกับเพื่อน จะ
ทำให้เด็กรู้จักการแบ่งงานกันทำตามความถนัดและความต้องการของแต่ละคน ทำให้เด็กมี
ความรู้สึกดี ๆ กับตนเองมากขึ้น
P a g e | 11
6. การให้กำลังใจลูกอย่างเหมาะสม เมื่อลูกทำดีหรือแสดงความสามารถ
ออกมา พ่อ แม่ ควรชมลูกว่า "ลูกเก่ง" "ลูกทำดี" ฯลฯ เพราะโดยปกติเด็กจะมีพฤติกรรมอะไร
ขึ้นอยู่กับความเห็นของผู้ใหญ่เป็นสำคัญ พ่อ แม่ ควรบอกลูกเสมอว่าลูกทำได้ แต่ไม่ใช่ชม
เกินความจริง เพราะจะทำให้เด็กเกิดความไม่มั่นใจมากขึ้น
7. ให้อิสระทางความคิดและการตัดสินใจ เด็กจำนวนมากที่ไม่มั่นใจในตนเอง
เพราะพ่อ แม่ ไม่เคยปล่อยให้เด็กได้ทำอะไรด้วยตนเอง คอยควบคุมดูแลอยู่ในสายตาไม่ให้
แตกแถว สิ่งเหล่านี้แทนที่จะทำให้ลูกดีแต่กลับกลายเป็นการทำให้ลูกขาดความมั่นใจใน
ตนเองมากขึ้นเสียอีก
8. ฝึกการสร้างความเชื่อมั่น เช่น ฝึกสูดลมหายใจลึก ๆ ก่อนพูดกับผู้อื่น ฝึก
การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
9. ฝึกการวางตัวทางสังคม ควรฝึกไว้ล่วงหน้า เช่น การแนะนำ การแสดงการ
ทักทาย การดูแลแขกแทนที่จะไปบอกให้ทำอย่างไรขณะพบหน้าคน
10. ฝึกการตัดสินใจ ให้ลูกเริ่มจากกิจวัตรประจำวัน เช่น การเลือกเสื้อผ้า การ
ฝึกให้ลูกได้ฝึกการแก้ไขปัญหาที่ลูกพอจะทำได้ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงความล้มเหลวที่อาจ
เกิดขึ้นได้ (อุษณีย์ โพธิสุข. 2542 : 60-62)
6. ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ (EQ)
เดิมเรามีความเชื่อว่าคนจะประสบความสำเร็จได้ต้องมีสติปัญญาที่เฉลียว
ฉลาด และคนทั่วไปมักจะมองความเฉลียวฉลาดในแง่ของความคิดอ่าน การคิดริเริ่ม ความมี
เหตุผล การรู้จักวางแผน ความคิดรวบยอด ความจำซึ่งมีความเฉลียวฉลาดในแง่มุมนั้น มี
แบบทดสอบทางจิตวิทยาที่ได้รับการพัฒนามาเป็นเวลานานหลายแบบ และให้ผลสรุป
ออกมาในรูปของไอคิว โดยสรุปว่าคนที่มีไอคิวสูง คือ คนฉลาด และคนฉลาดควรจะประสบ
ความสำเร็จในการเรียน การทำงานหรือด้านอื่น ๆ ที่เขาสนใจจะทำ การศึกษาทางจิตวิทยา
พบว่า คนที่มีไอคิวสูงจำนวนมากประสบความล้มเหลวทั้งด้านการงานและชีวิตครอบครัว
นักจิตวิทยาทางตะวันตกได้ให้ความสนใจและศึกษาเกี่ยวกับความฉลาดอีก
รูปแบบหนึ่ง คือ ความฉลาดทางอารมณ์ นักวิจัยส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่าการที่คนจะประสบ
ความสำเร็จได้นั้นขึ้นอยู่กับไอคิวเพียง 20% ส่วนที่เหลือเป็นเรื่องของการเข้าสังคม
ความสัมพันธ์กับผู้อื่น การรับรู้อารมณ์ของตนเอง การจัดการกับอารมณ์และความตึงเครียด
(จอม ชุ่มช่วย. 2540 : 56-57)
สรุปได้ว่า การที่คนเราจะประสบความสำเร็จในชีวิตการงานและครอบครัวนั้น
ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสติปัญญาเพียงอย่างเดียว (IQ) แต่ต้องมีความฉลาดทางสติปัญญาและความ
ฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ควบคู่กัน จึงจะทำให้คนเราประสบความสำเร็จและมีความสุขในชีวิต
และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ เพราะรากฐานทางสติปัญญานั้นเกิดจากอารมณ์ที่หนัก
แน่น มั่นคง รวมทั้งพื้นฐานของร่างกายที่สมบูรณ์ ซึ่งสอดคล้องกับอุษา อังสุนันทวิวัฒน์
(อุษา อังสุนันทวิวัฒน์. 2539 : 27) กล่าวว่า ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์มีความสำคัญ
มาก และเป็นสิ่งที่ช่วยให้คนที่มีภูมิปัญญาหรือไอคิวปานกลางที่ไม่สูงมากนัก สามารถทำงาน
ประสบความสำเร็จได้ดีกว่าคนที่มีไอคิวสูง แต่ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้
6.1 ลักษณะต่าง ๆ ของบุคคลที่มีความฉลาดทางอารมณ์
1. รู้จักและเข้าใจความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น รู้จุดเด่น จุดด้อยของตนเอง
สามารถควบคุม จัดการ และแสดงอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม มีสติ สามารถรับรู้และตระหนักรู้
ได้ว่าขณะนี้กำลังทำอะไร รู้สึกอย่างไร รวมทั้งรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมได้เหมาะสม
P a g e | 12
2. มีแรงจูงใจที่จะกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้บรรลุเป้าหมายในชีวิต (Self -
Motivation)
3. สามารถอดทน อดกลั้น ต่อสภาพต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ตลอดจนสามารถเผชิญ
ต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความเครียดได้อย่างเหมาะสม (Stress tolerance)
4. มีความยืดหยุ่น (flexibility) ในการปรับตัว
5. มีความสามารถในการที่จะควบคุมตนเอง มี impulse control
6. มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (to have empathy for others)
7. มีสัมพันธภาพที่บ่งบอกถึงความไว้วางใจผู้อื่น (trusting relationships) มี
ความจริงใจและซื่อสัตย์
8. มีความคิดริเริ่ม (initiative) มีความคิดสร้างสรรค์ 9. มองโลกในแง่ดี
(optimism)
ความฉลาดทางอารมณ์นั้นมีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ และความสุขใน
ชีวิตของแต่ละคน ซึ่งคนที่มี EQ ดีนั้น จะสามารถปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ มี
แรงจูงใจ มีความคิดทางบวก สามารถบริหารและจัดการกับชีวิตของตนเองได้ รู้จุดเด่นของ
ความสามารถของตนเองและผู้อื่น สามารถแสวงหาความก้าวหน้าในชีวิต
(ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์. 2542 : 16)
6.2 ลักษณะของคนที่มี EQ ดี
1. รู้จักแยกแยะ เข้าใจอารมณ์ตนเองและผู้อื่น คือ ต้องรู้จักว่าอารมณ์ของคน
นี้เป็นอย่างไร การแสดงออกทางอารมณ์เราจะเรียนรู้ได้อย่างไร เช่น อารมณ์รัก อารมณ์โกรธ
เป็นต้น
2. ควบคุมอารมณ์ของตนได้เป็นอย่างดี
3. สามารถควบคุมแรงผลักดันได้อย่างมีทิศทาง มีแรงจูงใจ (Motivation) มี
ความมานะพยายามในการควบคุมอารมณ์ไม่ให้ล้มเลิก เบื่อง่าย
4. มีความละเอียดอ่อนและไวต่อความรู้สึกนึกคิด เข้าใจจิตใจของผู้อื่น มี
ความเห็นอกเห็นใจ มีความเอื้ออาทรต่อผู้อื่น สามารถตอบสนองความต้องการทางอารมณ์
ของคนอื่นและของตนเองได้อย่างเหมาะสม
5. สามารถปรับตัวกับปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งคนที่มี EQ ดีนั้น
เมื่อเผชิญกับปัญหาใด ๆ ก็จะมีความมั่นคงในจิตใจ ไม่อ่อนไหวง่าย ๆ
6. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีลักษณะเป็นที่ยอมรับของสังคม เพราะความเข้าใจ
คนอื่น ความต้องการทางจิตใจของคนอื่น สามารถเป็นที่พึ่งทางใจให้คนอื่นๆ ได้ สามารถ
ปรับตัวเข้ากับคนอื่นได้
(อุษณีย์ โพธิสุข. 2542 : 20-21)
6.3 องค์ประกอบของ EQ ตามแนวทางของ Salovex, Gardner 1995 และ
ของ Goleman 1998 กล่าวโดยสรุปมี 5 องค์ประกอบ คือ
1. การตระหนักรู้ในตนเอง (Self-Awareness หรือ Knowing one's
Emotion) คือ ความสามารถในการรับรู้และเข้าใจความรู้สึก ความคิด และอารมณ์ของตนเอง
ได้ตามความเป็นจริง ประเมินตนเองได้อย่างชัดเจน ตรงไปตรงมา และมีความเชื่อมั่น รู้จัก
จุดเด่น จุดด้อยของตนเอง รู้จักรักษาสัจจะคำพูดของตนเอง (Intigrity) มีสติเข้าใจตนเอง
2. การบริหารจัดการกับอารมณ์ของตนเอง (Managing Emotion) หรือบางที
เรียกว่า การกำหนดตนเอง (Self Regulation) เป็นความสามารถที่จะจัดการกับอารมณ์ต่าง ๆ
P a g e | 13
ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม ควบคุมตนเอง มีคุณธรรม มีความสามารถในการปรับตัว สามารถ
สร้างแนวคิดใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต
3. การจูงใจตนเอง (Motivation Onself) เป็นความสามารถที่จะจูงใจตนเอง
มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ มองโลกในแง่ดี มีความสามารถให้กำลังใจ
ตนเองในการคิดและกระทำอย่างสร้างสรรค์
4. การรู้จักสังเกตความรู้สึกของผู้อื่น (Recognizing Emotion in Others) มี
ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา มีจิตใจให้บริการ (Service Orientation)
สามารถแสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม
5. การดำเนินการด้านความสัมพันธ์ (Handling Relationships) เป็นลักษณะ
ทางทักษะทางสังคม สามารถรู้เท่าทันอารมณ์ของผู้อื่น มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น ส่งผลให้
เกิดความเป็นผู้นำ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้ดี (ทศพร ประเสริฐสุข. 2542 : 66-78)
อ้างอิงจาก Salovey Gardner 1995 และ Goleman 1998)
6.4 ประเด็นปัญหาในการช่วยเหลือและพัฒนาเด็กเรื่อง EQ ในสภาพ
โรงเรียนปัจจุบัน
เมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่ผ่านมา นักจิตวิทยาต่างประเทศได้เริ่มปรับเปลี่ยน
ระบบการศึกษาอย่างขนานใหญ่ มีนักการศึกษาได้ทำการศึกษาวิจัยมากกว่า 30 ปี พบว่า คน
ที่เรียนสูงเอาแต่เรียนโดยไม่คบเพื่อนและเข้าสังคม จึงกลายเป็นคนที่มีนิสัยเห็นแก่ตัว อวด
ตัว ชอบดูถูกผู้อื่น หยิ่งและทรนง หรืออีกสุดขั้วอีกด้านหนึ่งก็คือ กลายเป็นคนที่คิดมาก วิตก
กังวลง่าย กลัว ย้ำคิดย้ำทำ ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง โดยเฉพาะเวลาต้องทำงานร่วมกับ
ผู้อื่นหรือเข้าสังคม จนกระทั่งเกิดปัญหาทางจิต มีอาการเป็นโรคจิต โรคประสาท หรือมี
พฤติกรรมเบี่ยงเบนต่าง ๆ (วัลลภ ปิยะมโนธรรม. 2541: 1)
จากการศึกษาเด็กที่มีความสามารถพิเศษที่ผ่านมาพบว่า เด็กที่มี
ความสามารถพิเศษนั้นมีปัญหาและจุดอ่อนในด้านทักษะทางสังคม (Social Skills) เช่น การ
ปรับตัวเข้ากับเพื่อนไม่ได้ ชอบทำงานคนเดียว มุ่งศึกษาหรือสนใจเฉพาะสิ่งที่ตนเองสนใจ
และมีอารมณ์เหงา โดดเดี่ยว (Loneliness) มีอัตมโนทัศน์ที่ไม่ดีเกี่ยวกับตนเอง (Low selfconcept)
ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง (Low self-confident) เก็บกดและคับข้องใจ
(Frustration) และเห็นคุณค่าในตนเองต่ำ (Low self-esteem) ซึ่งปัญหาดังกล่าวนั้นอาจมี
สาเหตุมาจากหลายอย่างด้วยกัน ปัจจุบันประเทศไทยยังขาดแคลนผู้รู้และครูอาจารย์ที่
เชี่ยวชาญเฉพาะทางนี้ ประกอบกับการจัดการเรียนการสอนที่เป็นอยู่ซึ่งมีแนวโน้มที่จะ
ตอบสนองผู้เรียนโดยทั่วไป โดยไม่คำนึงถึงกลุ่มที่มีความสามารถพิเศษในด้านต่าง ๆ การ
จัดการศึกษาดังกล่าวไม่ได้แยกแยะกลุ่มผู้เรียน จึงมีผลทำให้กลุ่มผู้เรียนกลุ่มหนึ่งไม่มีโอกาส
ได้พัฒนาศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ ทำให้เกิดความคับข้องทางจิตใจ และอาจมีพฤติกรรม
เบี่ยงเบน เป็นผู้ก้าวร้าวต่อผู้ปกครอง ครู และเพื่อนร่วมชั้น ในที่สุดทำให้เด็กอาจไม่สามารถ
ประสบผลสำเร็จในชีวิตได้ ทั้ง ๆ ที่มีศักยภาพสูงในการสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการ และ
มรดกทางวัฒนธรรมแก่สังคมโลก (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2541 : ข)
นอกจากนี้ จากความเข้าใจผิดบางประการเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนที่มี
ความสามารถพิเศษ เช่น เข้าใจผิดคิดว่าเด็กและเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษสามารถ
เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องมีผู้ช่วยเหลือ ความจริงแล้วเด็กและเยาวชนเหล่านี้ต้องการ
ช่วยเหลือโดยเฉพาะการกระตุ้นทางความคิด และการได้รับบริการที่ส่งเสริมความสามารถ
พิเศษของตน รวมทั้งการสร้างเสริมแรงจูงใจให้ใฝ่รู้อย่างก้าวหน้า มีความเข้าใจผิดว่าเด็ก
และเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษมีสิทธิพิเศษอยู่ในตัวอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องมีบริการพิเศษ
อื่น ๆ ซึ่งความจริงคือ เด็กและเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษ ถ้าสังคมไม่จัดบริการให้จะทำ
P a g e | 14
ให้กลายเป็นเด็กด้อยโอกาสอีกรูปแบบหนึ่ง ยิ่งไปกว่านั้นเด็กอาจรู้สึกกดดัน อาจมีความรู้สึก
ว่าล้มเหลวและไม่มีคุณค่า กลายเป็นเด็กที่มีปัญหาและอาจสร้างปัญหาให้แก่สังคมได้ใน
ที่สุด และจากรายงานวิจัยพบว่าอัตราการเลิกเรียนกลางคันของเด็ก 10% คือพวกที่เรียนเก่ง
ระดับสูง 5% ของชั้นเรียน และงานวิจัยบางชิ้นพบว่าเด็กที่ทิ้งกลางคันถึง 53% เป็นเด็ก
ฉลาดกว่าเด็กทั่วไป คนอัจฉริยะ 63% ติดสิ่งเสพติดมัวเมา และยังพบอีกว่ากลุ่มที่ฆ่าตัวตาย
มากที่สุดคือ ผู้ที่มีความฉลาดกว่าคนธรรมดา และมักจะเป็นเพศชาย (อุษณีย์ โพธิสุข. 2541
: 13-15)
จากปัญหาและความสำคัญดังกล่าว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะมีแบบแผนการ
พัฒนาการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษในเรื่อง EQ ให้กับเด็กในโรงเรียนควบคู่
ไปกับการจัดการศึกษาเพื่อให้เด็กเป็นคนเก่ง ดี และมีความสุข ให้รู้จักและเข้าใจตนเอง
เข้าใจเพื่อนมนุษย์ เข้าใจสังคม และโลกอย่างถ่องแท้ รวมทั้งเกิดความตระหนักและมีเจตคติ
ที่ดี คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว และเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่
ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างส้นติสุข พร้อมที่จะสร้างผลงานที่ล้ำเลิศซึ่งเป็นคุณประโยชน์แก่สังคม
ต่อไป (อุษณีย์ โพธิสุข. 2541 : 9) ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ในพิธีทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ของ 5 สถาบัน
(ประเวศ วะสี. 2538 : 9 ; อ้างอิงจากพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9.
2532) ความว่า นอกจากจะสอนคนให้เก่งแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอบรมให้ดีพร้อมกันไป
6.5 แนวทางการพัฒนา EQ ในครอบครัว
ครอบครัวมีบทบาทอย่างยิ่งที่จะพัฒนา EQ ให้แก่เด็ก ซึ่งสามารถทำได้โดย
การอบรมเลี้ยงดูเด็กด้วยบรรยากาศที่เป็นประชาธิปไตย มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน รู้จักรับ
ฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน มีการสื่อสารกันอย่างตรงไปตรงมา หลีกเลี่ยงการทำร้ายทาง
จิตใจและอารมณ์ (Emotion Abuse) ไม่ว่าจะเป็นคำพูด การกระทำใดๆ ต่อกัน พ่อ แม่ ควร
เป็นฝ่ายที่ต้องเข้าใจในตัวลูกก่อน แทนที่จะต้องให้ลูก ๆ มาเข้าใจ พ่อ แม่ การที่จะ
เสริมสร้างให้ลูกมีความฉลาดทางอารมณ์ที่ดี หรือมี EQ ดีนั้น พ่อ แม่ ต้องแสดงความเป็นผู้มี
EQ สูงให้เกิดเสียก่อน หรือทำให้เด็กเห็น เมื่อเด็กได้เห็นการประพฤติปฏิบัติที่ดี ลูกก็จะได้ทำ
ตามแบบอย่างที่ดีที่เขาเห็นได้ (วีระวัฒน์ พันนิตามัย. 2542 : 145) กลยุทธ์อื่น ๆ ที่ควรฝึก
EQ ให้เด็กเกิดทักษะมีดังนี้
1. หลีกเลี่ยงการวิพากษ์วิจารณ์ ตำหนิ บั่นทอนให้เด็กเสียขวัญ และกำลังใจ
การไม่เคารพสิทธิส่วนบุคคลของเด็ก
2. ค่อย ๆ อธิบายด้วยเหตุด้วยผล ด้วยความใจเย็นและอดทน ให้คำชมในสิ่ง
ที่เด็กเคยทำได้ดี
3. ระมัดระวังสิ่งที่พ่อ แม่ คิดว่าลูกควรเป็น ไม่ควรคาดหวังให้ลูกทำในสิ่งที่
ตนคาดหวังให้ได้
4. เข้าใจภูมิหลังความรู้สึก บุคลิกภาพของเด็กแต่ละคนนั้น มีความแตกต่าง
กัน ต้องพยายามเข้าใจเด็กว่าเด็กมีแนวโน้มที่จะรู้สึกหรือแสดงออกอย่างไร
5. หลีกเลี่ยงการเข้าข้างฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์ตามความรู้สึกของเด็ก
6. หยุดคิดว่าหากเหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้นกับคนในฐานะผู้ใหญ่ จะควบคุมตน
หรือแสดงออกเช่นไร
7. อย่านำแนวทางแก้ไขของตนไปตัดสินให้เด็กยอมรับถือปฏิบัติ
8. เคารพในความเป็นปัจเจกชนของเด็ก ให้คำแนะนำ ให้ข้อมูล เคารพใน
ความคิดและเหตุผลของเด็ก
P a g e | 15
9. พูดคุยถึงประสบการณ์เดิม ความรู้สึก จินตนาการของตนในการบริหาร
จัดการอารมณ์ของตน
10. ซื่อตรง เปิดเผย บอกความจริงกับเด็ก ไม่ควรสร้างเรื่องขึ้นมา
11. ให้โอกาสเด็กได้เผชิญกับเหตุการณ์ที่เป็นตัวอย่างสอนใจ เตือนสติให้
เด็กรู้จักผลของการควบคุมอารมณ์ได้ในลักษณะต่าง ๆ กันไป อาจให้เห็นตัวอย่างของชีวิต
จริง หรือในบทภาพยนตร์ ละคร วรรณกรรมต่าง ๆ
12. อดทนต่อการฝึกทักษะทางอารมณ์แก่เด็ก ฝึกให้เด็กรู้จักขอโทษเมื่อทำ
ผิด และมารยาททางสังคม
13. จำกัดบทบาทในการให้ความช่วยเหลือเด็กแต่ละคนได้อย่าง เหมาะสม
ว่าควรหยุดเมื่อใด
14. เชื่อมั่นในผลของการพัฒนาการเติบโตของมนุษย์ ว่าเด็กจะเรียนรู้อะไร
ได้มากขึ้นเมื่อเขาเติบโตมากกว่านี้
นอกจากนั้น วีระวัฒน์ พันนิตามัย (2542 : 157) อ้างอิงจาก Shapirio ได้ให้
ข้อคิดในการพัฒนาเชาวน์ อารมณ์ของเด็กไว้ดังนี้
1. ให้เด็กได้ซึมซับมาตรฐานทางศีลธรรมของศาสนา เช่น ในศาสนาพุทธก็
ควรให้เด็กได้ซึมซับศีล 5
2. ฝึกให้เด็กแสดงออกซึ่งความเมตตากรุณา ช่วยเหลือผู้อื่น โดยไม่เลือก
โอกาส (Random Acts of Kindness) การมี EQ ที่ดีย่อมสามารถทำให้ผู้อื่นเป็นสุขได้โดย
ไม่เลือกกาลและเวลา
3. ให้เด็กได้ปฏิบัติงานที่เป็นการบริการชุมชน (Community Service) โดย
ให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการเรียนการสอน ไม่ว่าจะเป็นในระดับประถม มัธยม หรือ
สูงกว่า ให้เด็กได้เรียนรู้ชีวิตในแง่มุมต่าง ๆ และกฎกติกาของสังคม โดยไม่แปลกแยกจาก
ผู้อื่น และธรรมชาติของชีวิต
4. ฝึกให้เด็กได้พูดตามความสัตย์จริง (Honesty) และการประพฤติปฏิบัติที่
สอดคล้องกับคำพูด (Integrity) มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ไม่พูดโกหก พูด
ตรงไปตรงมา เคารพความเป็นส่วนตัวของเด็ก
5. นำเอาอารมณ์ทางลบมาเป็นอุทาหรณ์ เพื่อให้ข้อคิด เตือนสติ เตือนใจ
ตัวเอง
6. ฝึกให้เด็กได้คิดตีความต่างๆ ตามความเป็นจริง เกี่ยวกับปัญหา ความ
ห่วงใยต่างๆ เกี่ยวกับการแสดงออกทางอารมณ์มาเป็นตัวอย่าง เพื่อให้เด็กได้เผชิญกับความ
จริงได้
7. ฝึกเด็กให้มองโลกในแง่ดี การมองโลกในแง่ดีเป็นการรักษาและพัฒนา
สุขภาพจิตที่ดี ลดการสร้างปัญหาและข้อขัดแย้ง
8. เพิ่มความฉลาดทางอารมณ์โดยการเตือนสติด้วยตนเอง แก้การแสดงออก
โดยการแก้ที่ความคิด ใช้ความคิดแก้ความรู้สึกแบบ Rational Emotive Therapy เช่น การ
พูดคุยกับตัวเอง (Self Talk) พูดคุยให้สติเตือนตน หรืออีกวิธีหนึ่งก็โดยการสร้างจินตภาพ
(Imagery) เมื่อเราเครียดหรือได้รับความกดดันทางจิตใจใด ๆ ก็ตาม ให้เราเดินออกไปในที่
โล่ง ๆ มีลมพัดเย็น ๆ หลับตา และจินตนาการ สมมุติว่าตัวเองกำลังอยู่ในที่สวยงาม
ชายทะเล ได้พักผ่อนอย่างสบายใจ เป็นต้น วิธีการเช่นนี้จะช่วยให้เด็กผ่อนคลายความเครียด
ลงได้
P a g e | 16
9. การฟังดนตรีบรรเลงเบาๆ หรือเพลงคลาสสิกทั้งของไทย และของ
ต่างประเทศ เช่น Mozart และ Bearock จากนั้นให้เด็กฝึกจินตนาการและถามความ รู้สึกว่า
รู้สึกอย่างไร
10. ฝึกให้เด็กรู้จักวิธีแก้ไขปัญหา โดยให้รู้จักมองปัญหาให้เห็นทั้ง 2 ด้าน
ไม่มองอะไรเพียงด้านเดียว ฝึกให้เด็กรู้จักคำศัพท์ต่าง ๆ ให้มาก ๆ เพื่อที่เด็กจะได้เลือกมา
ใช้ให้เหมาะกับกาละเทศะได้ถูกต้อง
11. ปฏิสัมพันธ์ที่พ่อ แม่ มีต่อลูก พ่อ แม่ ควรฝึกเด็กให้มีทักษะในการพูดคุย
(Conversation Skills) ในโอกาสต่าง ๆ
12. สร้างทักษะการเป็นผู้มีอารมณ์ขัน (Sense of Humor) หรือมีทักษะใน
อารมณ์ขัน ในสถานการณ์ทางสังคม ในการเรียน ในการทำงานได้ดี แรก ๆ พ่อ แม่ ควรฝึก
หรือเป็นต้นแบบที่ดีของความเป็นผู้มีอารมณ์ขัน เพราะอารมณ์ขันนั้นสามารถพัฒนาได้
13. ฝึกให้เด็กสามารถสร้างและรักษาสายสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนได้ โดยให้มี
เพื่อนสนิท และเพื่อนตายในแต่ละวัยได้
14. ฝึกให้เด็กได้มีโอกาสเข้าสังคมทั้งในกลุ่มเพื่อนเพศเดียวกัน กลุ่มเพื่อน
เพศตรงข้าม ทั้งที่เป็นทางการและไม่ทางการของสังคม รวมทั้งกลุ่มคนที่แปลกหน้า ที่ตน
ไม่ได้คุ้นเคยมาก่อน
15. ฝึกให้เด็กรู้จักมารยาทส่วนตน มารยาททางสังคม
16. ฝึกให้เด็กมีความสามารถในการสร้างแรงจูงใจที่ดี มีทักษะ มีความสนใจ
ต่าง ๆ กล้าที่จะเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ให้เด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่เขารู้สึกว่าท้าทาย
และตรงกับความสนใจของเขา โดยผู้ปกครองไม่ควรกดดันหรือคาดหวังในตัวเด็กเกินไป
17. ฝึกเด็กให้มีความเพียรพยายาม ให้เด็กได้รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิด
ประโยชน์ ได้ทำงานอดิเรกตามที่ตนสนใจ
18. ยอมรับข้อผิดพลาด ความล้มเหลวของตน โดยให้เด็กเข้าใจว่าไม่มีใครที่
ไม่เคยทำความผิดหรือล้มเหลวมาก่อน ใช้ความผิดเป็นครูเตือนตนจะได้ไม่ทำอีก ให้เด็กได้
รู้จักความอดทนได้ รอคอยได้ ไม่ใจร้อนวู่วาม
file pdf : http://www.thaigifted.org/bank/system/file/pdffile/138.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น