วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

ส่วนต่างๆ ของสมองมนุษย์

ส่วนต่างๆ ของสมองมนุษย์


 

      นายแพทย์พอล แมคลีน (Dr. Paul MacLean) นายแพทย์และนักวิชาการด้านจิตเวช ได้ศึกษาสมองสามระบบเรียกว่า Triune Brain โดยกล่าวว่าสมองของมนุษย์เรานั้นมีสามส่วนประกอบกัน ทั้งในด้านวิวัฒนาการ ด้านการเจริญเติบโต และพัฒนาการตามวัย ดังนี้

     สมองส่วนแรก    สมองที่มีวิวัฒนาการมาจากสมองของสัตว์เลื้อยคลาน มนุษย์เราได้รับมรดกตกทอดมาจากสัตว์เลื้อยคลานยุคดึกดำบรรพ์และอยู่ภายใต้ อิทธิพลของพันธุกรรม 90   95% และจะเจริญเติบโตในระหว่างที่อยู่ในครรภ์มารดาเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเกิดมาแล้วสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อสมองส่วนนี้น้อยมาก

     สมองส่วนที่สอง - เป็นสมองส่วนที่มนุษย์เราได้รับมรดกตกทอดมาจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมยุคโบราณ สมองส่วนนี้จะเริ่มสร้างและเจริญเติบโตเมื่อทารกอยู่ในครรภ์มารดาได้ราว ๆ 6 เดือน และจะพัฒนาเป็นระบบควบคุม อารมณ์ หรือ Limbic System ที่มีลักษณะคล้ายวงแหวนที่หุ้มรอบๆ สมองส่วนแรกซึ่งมีลักษณะเป็นแกนเอาไว้ สมองส่วนนี้ประกอบด้วยสัญชาติญาณของความกลัวต่อสิ่งที่เป็นภัยอันตราย การแสดงตอบสนองทางอารมณ์ ความจำต่อเหตุการณ์และสถานที่ และพฤติกรรมการต่อสู้ก้าวร้าว  

     สมองส่วนนี้ทำให้มนุษย์มีอารมณ์และรู้จักตัวเอง(อัตตา) สามารถพัฒนาให้มีความรู้สึก และการแสดงออกทางอารมณ์ต่าง ๆ อย่างเช่น ทารกร้องไห้โยเยเรียกร้องความสนใจ แสดงอารมณ์เวลา ดีใจเสียใจ พอใจไม่พอใจ อย่างไรก็ตามตอนที่ทารกคลอดออกมาสมองส่วนนี้เพิ่งสร้างเสร็จไปเพียง 50% เท่านั้น โดยได้รับอิทธิพลจากพันธุกรรมประมาณ 50% ส่วนอีก 50% ที่เหลือนั้นพัฒนาตามสภาพแวดล้อม และการเรียนรู้โดยเฉพาะช่วงแรกเกิด-ปฐมวัย (0   8 ปี) 

     สมองส่วนที่สาม   สมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมยุคใหม่และเปลือกหุ้มสมองใหม่ คือสมองที่พบได้เฉพาะในสัตว์ชั้นสูงจำพวกวานร ซึ่งจะได้รับอิทธิพลจากพันธุกรรมน้อยมาก แทบจะเรียกได้ว่าพันธุกรรมควบคุมได้เพียง 10-20% เท่านั้น เพราะมีการเจริญเติบโตหลังคลอด พัฒนาการของสมองส่วนนี้จึงได้รับอิทธิพลมาจากการกระตุ้นของสิ่งแวดล้อมที่ เหมาะสม ทำให้มี Windows of opportunities ที่จะส่งเสริมให้เด็กฉลาดโดยการกระตุ้นการรับรู้จากประสบการณ์ต่างๆ ด้วย
 
พัฒนาสมองด้วยสมองส่วนหน้า  
     สมองส่วนหน้าเป็นสมองที่อยู่ในสมองส่วนที่สาม จะอยู่ด้านหลังหน้าผากของมนุษย์ โดยทำหน้าที่เป็น  นายของสมอง  เพราะมีการเจริญเติบโตหลังสุดและได้รับเส้นประสาทจากสมองส่วนต่างๆ ภายหลังเมื่อเด็กได้เจริญเติบโตขึ้น สังเกตดูจะเห็นว่าช่วงวัยเด็กเราจะวิ่งเล่นตามประสาสะเปะสะปะไปตามสิ่งเร้า หรือการกระตุ้น เหมือนไม่มีการควบคุมสั่งงานและวางแผน แต่พอเราโตขึ้นสมองส่วนนี้นี่เองที่จะคอยควบคุมกำหนดให้มีการวางแผนงานล่วง หน้า มีการคิดตัดสินใจ มีการใช้เหตุผล มีความรับผิดชอบ มีสมาธิ และควบคุมความสนใจไม่ให้สนใจสิ่งที่เข้ามารบกวน รวมทั้งความรู้สึกผิดชอบชั่วดีที่เป็นรากฐานของคุณธรรม
 
พัฒนาระบบประสาทกระจกเงาสะท้อนภาพ
     ในช่วงเวลาสองทศวรรษที่ผ่านมาได้มีความก้าวหน้าเกี่ยวกับพัฒนาการของระบบ ประสาทสมอง ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเรียนรู้โดยการลอกเลียนแบบ ซึ่งเป็นรากฐานของการเลียนแบบของเด็กทารกจากผู้คนที่อยู่รอบข้าง อย่างเช่น การเลียนแบบสีหน้า  ที่แสดงอารมณ์ ท่าทีต่างๆ ในการสื่อสาร ตลอดจนการเรียนรู้ของภาษาพูด และภาษาท่าทาง ดังนั้นเด็กทารกจึงเป็นเสมือนระบบกระจกเงาที่ทำหน้าที่สะท้อนภาพการเคลื่อน ไหวของตัวเองหรือของผู้อื่น ที่เรียกว่า Mirror Neuronal System    

     Mirror Neuronal System มีการพัฒนาในเด็กทารกตั้งแต่ช่วงแรกๆ และสามารถทำงานได้อย่างดีหลังอายุ 12 เดือน ทำให้เด็กทารกปกติที่อายุครบ 1 ปีมีความสามารถที่จะเริ่มเข้าใจท่าทีและความหมายในการกระทำ เริ่มเลียนเสียงพูดของแม่ พ่อ หรือคนเลี้ยงที่พูดด้วย มองหน้าสบตา มองเห็นการเคลื่อนไหวของริมฝีปาก ลักษณะของการแสดงออกของใบหน้า และท่าทางต่างๆ

     เมื่อสมองสามารถพัฒนาและลอกเลียนแบบได้ ดังนั้นเพื่อการพัฒนาให้เด็กเป็นคนดีมีคุณธรรม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นจากพ่อแม่ญาติพี่ น้อง เพื่อให้เด็กใช้เป็นต้นแบบในการเรียนรู้
  
ที่มา http://www.mothersdigest.in.th/article/116/%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%86-%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B9%8C

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น