วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2556

วัดแววความสามารถ

"เด็กทุกคน เกิดมามีศักยภาพในการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม การเรียนรู้และศักยภาพภายในที่ซ่อนอยู่ในแต่ละเรื่อง และเด็ก 1 ในหมื่นคนของแต่ละสาขาต้องเป็นอัจฉริยบุคคลได้ ดังนั้น พ่อแม่จึงต้องสอนจากสิ่งที่เขาเก่ง ค้นพบจุดเด่นว่าเด็กเก่งจริง ส่วนโรงเรียนต้องมีหน้าที่สร้างกระบวนการเรียนรู้ของเด็กให้สอดคล้องกับ ศักยภาพของเขาให้มากที่สุด" เป็นคำพูดของ ผศ.ดร.อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ผู้กล่าวได้ว่าเป็นนักวิชาการด้านเด็กอัจริยะที่มีชื่อคนหนึ่งของประเทศไทย ปัจจุบันเป็นประธานศูนย์พัฒนาอัจฉริยภาพเด็ก มศว ศูนย์แห่งนี้ จะทำการวัดแววความสามารถของเด็ก เพื่อนำไปสู่การส่งเสริมความรู้ความสามารถของเด็กได้ตามศักยภาพที่แท้จริง

ความสามารถของมนุษย์นั้น ผศ.ดร.อุษณีย์ บอกว่าจัดได้ 10 กลุ่ม คือ กลุ่มภาษา กลุ่มคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การเคลื่อนไหว ดนตรี ศิลปะ สังคม อารมณ์ การช่างและอิเล็กทรอนิกส์ และญาณปัญญา โดยทั่วไปเด็กอัจฉริยะนั้นจะต้องแสดงความโดดเด่นออกมาอย่างน้อย 1 ด้าน ซึ่งบางคนอาจจะมีความโดดเด่นเพียงด้านเดียวหรือหลายด้านก็ได้ การวัดแววความสามารถของเด็กนั้น จะนำไปสู่การส่งเสริมการเรียนการสอนตามศักยภาพของเด็กแต่ละคน เพราะหากลูกมีแววอีกด้านหนึ่ง แต่พ่อแม่ ผู้ปกครองต้องการให้ลูกเป็นอีกอย่างหนึ่ง จะเป็นการทำร้ายลูกไปโดยไม่รู้ตัวก็ได้

วิธีการวัดแววความสามารถเด็กก็ ไม่ได้ยุ่งยาก แค่เพียง พ่อ แม่ ผู้ปกครอง พาเด็กมาที่ศูนย์พัฒนาอัจฉริยภาพเด็ก เจ้าหน้าที่จะให้เด็กเล่นตามความสนใจในมุมต่างๆ เช่น มุมวิทยาศาสตร์ มุมคณิตศาสตร์ มุมสังคมศึกษา มุมภาษา มุมดนตรี มุมอารมณ์และสังคม ฯลฯ โดยทุกมุมได้ออกแบบสื่อและกิจกรรมที่ใช้ทฤษฎีหลายทฤษฎี เช่น ทฤษฎีการพัฒนาความคิดระดับสูง ทฤษฎีทางด้านจิตวิทยาเพื่อกระตุ้นให้เด็กแสดงพฤติกรรมและความสามารถที่ซ่อน อยู่ภายในให้ออกมาปรากฏอย่างเป็นธรรมชาติ โดยไม่มีการสอบที่ถือเป็นการรีดเค้นทักษะศักยภาพ และไม่ใช่ความสามารถที่แท้จริง

แต่ละมุมจะมีเกม จิ๊กซอว์ ของเล่น เช่น กล้องจุลทรรศน์ โน้ตบุ๊ค สัตว์ ผลไม้ รวมถึงภาพโปสเตอร์ แผนที่ หนังสือที่มีภาพประกอบ ฯลฯ เพื่อสังเกตถึงแววความถนัดและภาวะอารมณ์และสังคมของเด็ก รวมถึงข้อมูลจากแบบสอบถามและสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ปกครองเพื่อทดสอบระดับสติ ปัญญา (ไอคิว) ที่สำคัญศูนย์ดังกล่าวไม่ได้เน้นตรวจ สอบไอคิวอย่างเดียว แต่เน้นตรวจสอบเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญ และสิ่งที่เด็กแสดงออกในศูนย์ เด็กแต่ละคน จะเข้ามาทำกิจกรรมในศูนย์ประมาณ 12 ครั้ง ตามความสะดวกของผู้ปกครอง

ซึ่งศูนย์จะมีชุดแบบสำรวจแววอัจฉริยะจำนวน 3 เล่ม ได้แก่ 1. รู้จักและเข้าใจอัจฉริยะจิ๋ว 2. สำรวจแววลูกน้อย และ 3. แบบสำรวจแววอัจฉริยะ พร้อมซีดี และเอกสารวัดแววความสามารถเด็กทั้ง 9 แวว ให้ด้วย

เมื่อทำกิจกรรมครบ 12 ครั้ง จะมีคณะกรรมการ ประกอบด้วย แพทย์ นักจิตวิทยา นักการศึกษาพิเศษ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา และนักวิชาการประจำศูนย์ รวมทั้งนักวิชาการสาขาที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันประเมินผลความถนัดและภาวะอารมณ์ สังคม ความคิด ความถนัดพิเศษและจิตใจของเด็ก หากพบผู้ที่มีความสามารถพิเศษด้านต่างๆ จะบอกให้ผู้ปกครองทราบ เพื่อจะได้ส่งเสริมให้ถูกทางต่อไป และให้ความรู้พ่อแม่เกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมความถนัดของเด็ก รวมถึงการพัฒนาทางอารมณ์ สังคมและจิตใจในกรณีของเด็กปกติด้วย

โดยจะมีการเชิญผู้ปกครองมาพูดคุยเพื่อแนะนำการพัฒนาลูกเป็นรายๆ ไป ขั้นตอนนี้ถือว่ามีความสำคัญที่สุด เพราะว่าผู้ปกครองอาจจะไม่เข้าใจลูก บางคนมีความคาดหวังกับลูกสูง บางคนเลี้ยงดูลูกมาผิดๆ การเปลี่ยนความคิด วิธีการต่างๆ จึงเป็นเรื่องยาก เราต้องระมัดระวังไม่ให้กระทบจิตใจของผู้ปกครอง แต่ในขณะเดียวกันต้องหาทางให้พ่อแม่พัฒนาลูกให้ถูกทางด้วย

"เวลาที่เด็กแต่ละคนทำกิจกรรม ในศูนย์จะเล่นโดยอิสระ โดยมีผู้ปกครองรอด้านนอก และมีแบบสอบถามให้ผู้ปกครองกรอกด้วย โดยขอความร่วมมือว่าต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง และจะรับเด็กไม่มาก เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้ทำงานอย่างละเอียด โดยหนึ่งคนต้องดูแลเด็กประมาณ 5 คน ถ้ามากกว่านี้อาจจะเสี่ยงต่อการผิดพลาดได้" ผศ.อุษณีย์ กล่าว

เคล็ดลับง่ายๆ ที่จะสร้างลูกให้เป็นอัจฉริยะ
  1. ต้องไม่ตั้งใจให้ลูกเป็นอัจฉริยะ
  2. ดูว่าลูกทำอะไรได้ดีที่สุด พ่อแม่ต้องรีบสนับสนุนทันที
  3. อย่าบังคับ ขู่เข็ญ ให้ลูกเป็นตามที่พ่อแม่ต้องการ
  4. ให้ลูกได้มีโอกาสเจอกับคนอื่น โดยเฉพาะคนที่เก่งๆเพื่อให้ช่วยกระตุ้นศักยภาพออกมา
  5. พ่อแม่ต้องทุ่มเทเวลาและความเข้าใจในการ เลี้ยงดู เพราะอัจฉริยภาพเริ่มจากความรัก ให้ลูกทำในสิ่งที่เขารักแล้วจะเป็นจฉริยะได้อย่างมีความสุข
  6. พ่อแม่ต้องฝึกให้ลูกทำงานทุกชิ้นให้สำเร็จ ฝึกให้เป็นคนทำงานหนัก เพราะในโลกนี้ไม่มีอัจฉริยะคนใดขี้เกียจเลย
  7. พ่อแม่ที่ให้ลูกเรียนเก่งอย่างเดียว ท้ายที่สุดจะพบความล้มเหลวในการทำงานในอนาคต จึงอยากให้พ่อแม่ฝึกลูกให้มีความรับผิดชอบต่อตนเองอย่างรอบด้าน ไม่ใช่เรื่องเรียนอย่างเดียว
ขณะเดียวกันโรงเรียนต้องมีส่วนใน การพัฒนาแววเด็ก หัวใจสำคัญคือต้องสร้างโอกาสให้เด็กแสดงออกที่หลากหลาย เช่น การตั้งชมรมให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมมากๆ เช่น ชมรมถ่ายรูป สร้างเวบไซต์ ฯลฯ เปลี่ยนวิธีสอน จากบรรยายมาเป็นกิจกรรมที่หลากหลาย
ภัทรียา (สงวนนามสกุล) คือแม่ที่นำลูกชายอายุ 7 ขวบมาวัดแววความสามารถ เล่าว่า ครั้งแรกคิดว่าลูกเป็นอัจฉริยะทางคณิตศาสตร์ พอมาวัดแววปรากฏว่าลูกชอบศิลปะเขียนรูปสวยมาก และเกลียดคณิตศาสตร์ที่สุด แต่ที่ทำคะแนนได้ดี และแข่งได้เหรียญทอง เพราะรักพ่อแม่ ไม่อยากให้เสียใจ เมื่อรู้ความต้องการที่แท้จริงของลูกแล้ว ปัจจุบันเธอจึงให้ลูกเรียนด้านศิลปะควบคู่คณิตศาสตร์ ปรากฏว่าลูกทำได้ดีทั้งสองอย่าง ทำให้ได้ข้อคิดว่าหากมุ่งเน้นคณิตศาสตร์อย่างเดียวอาจจะเป็นการทำร้ายลูกไป โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
การพาลูกไปวัดแววไม่ได้หมายความว่าลูกของคุณจะเป็นอัจฉริยะ แต่อย่างน้อยจะทำให้ได้รู้ว่าลูกของคุณมีแววความสามารถด้านไหน จะส่งเสริมอย่างไรให้ถูกทาง พ่อ แม่ ผู้ปกครองที่สนใจพาลูกอายุ 3-15 ปีไปวัดแววความสามารถ ติดต่อไปได้ที่ ศูนย์พัฒนาอัจฉริยภาพเด็ก มศว เปิดบริการวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 11.00-19.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.00-17.00 น. หยุดวันนักขัตฤกษ์ ค่าใช้จ่ายประมาณ 7,500 บาท สอบถามได้ที่โทร.0-2644-1000 ต่อ 5632, 0-2260-2601, 0-2259-6173 ทั้งนี้ ศูนย์พัฒนาอัจฉริยภาพเด็ก มศว เปิดเป็นทางการแล้วตั้งแต่เดือนมกราคม 2550
 
โดย : หทัยรัตน์ ดีประเสริฐ และ ผกามาศ ใจฉลาด
ที่มา : http://www.komchadluek.net วันจันทร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550

ขอขอบคุณ: http://www.iqeqdekthai.com


ศูนย์พัฒนาอัจฉริยภาพเด็ก มศว เปิดบริการวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 11.00-19.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.00-17.00 น. หยุดวันนักขัตฤกษ์ ค่าใช้จ่ายประมาณ 7,500 บาท สอบถามได้ที่โทร.0-2644-1000 ต่อ 5632, 0-2260-2601, 0-2259-6173 ทั้งนี้ ศูนย์พัฒนาอัจฉริยภาพเด็ก มศว เปิดเป็นทางการแล้วตั้งแต่เดือนมกราคม 2550


ความคิดเห็นที่ 2
   มีข้อมูลมาบอกค่ะเรื่องการค้นหาแววเด็ก

ปัจจุบันมีศูนย์ที่ค้นหาแววความสามารถเด็ก 3 ที่ค่ะ

1. ศูนย์อัจฉริยภาพเด็ก มศว.02-2602601

2. ศูนย์อัจฉริยภาพเด็ก รร.มหิดลวิทยานุสรณ์ 02-8497162

3. ศูนย์ค้นหาศักยภาพการคิด ธัญธานี ลำลูกกา ปทุมธานี 02-5601141

ใกล้ที่ไหนไปที่นั่น

ขั้นตอนการสมัคร โทรไปสอบถามได้ทุกวันค่ะนักวันเวลาทดสอบได้เลย





ปิดเทอมนี้ทำอะไรดีๆเพื่อลูกกันเถอะ ค้นหาแววลูกได้แล้ววันนี้


ปัจจุบันมีศูนย์อยู่ 3 ศูนย์ ที่ทำการค้นหาแววเด็ก
1.ศูนย์ค้นหาศักยภาพการคิด ลำลูกกา ปทุมธานี โทร.02-5601141
ที่ศูนย์ค้นหาศักยภาพการคิด ที่ลำลูกกากระบวนการต่างๆเหมือนกันและได้สมุดรายงานผลเหมือนกับของมหิดลค่ะ
ค่า ใช้จ่ายที่ศูนย์ค้นหาศักยภาพการคิดที่ลำลูกกา จะแพงกว่าเพราะตั้งเป็นเอกชนค่ะ 5000 บาท แต่ช่วงปิดเทอมจะลด.ก 10 เปอร์เซ็นค่ะ เหลือ 4500
ของมศว. 3500 บาท มหิดล 2500 ค่ะ
ที่ลำลูกกาตอนนี้คิวยังว่างอยู่เพราะพึ่งเปิดค่ะ


ศูนย์ค้นหาศักยภาพการคิด ลำลูกกา
ตอน นี้มีส่วนลดค่ะ ทั้งหมดรวม26 ชั่วโมงค่ะ ทดสอบ 1 ชั่วโมง เข้ากระบวนการ.ก 12 ครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมง ให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครอง.ก 1 ชั่วโมง เด็กจะได้ใบรับรองผลการวัดแววจากทางศูนย์ฯค่ะ เหมือนมศว.และมหิดลค่ะ
1 คน 4500
2 คน คนละ 4000
3 คน คนละ3500 ค่ะ
พอ ครบ 12 คร้ง ทางนักวิชาการประจำตัวเด็กจะทำการรวบรวมผลการสังเกตพฤติกรรมทั้ง 12 ครั้ง ปรึกษากับทางผู้เชี่ยวชาญคือผศ.ดร.อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์ เพื่อยืนยันผลการวัดแววและให้คำปรึกษาเป็นรายกรณีค่ะ


2.ศูนย์อัจฉริยภาพเด็ก รร.มหิดลวิทยานุสรณ์
3.ศูนย์อัจฉริยภาพเด็ก มศว.ประสานมิตร โทร 02-2602601
รับเด็กอายุ 4-12 ปีค่ะ ***ปิดเทอมนี้ทำอะไรเพื่อลูกกันน่ะค่ะ*
ที่แรกน่ะค่ะศูนย์ค้นหาศักยภาพการคิด ลำลูกกาคลองสี่-คลองห้า ปทุมธานี
เปิดวันอังคารถึงวันอาทิตย์ ปิดวันจันทร์
วันอังคาร-ศุกร์11.00-20.00
เสาร์-อาทิตย์ 9.00-18.00
โทร.02-5601141
**โทรสอบถามรายละเ.ยดได้หรือขอรายละเ.ยดที่ศูนย์ได้เลยค่ะ***

ที่สอง ศูนย์อัจฉริยภาพเด็กโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ รับเด็กอายุ 4-10 ปี โทร02-8497162



สถานที่วัดความสามารถ
1.ศูนย์อัจฉริยภาพ ม.ศรีนครินทร์ฯ ประสานมิตร :ค่าใช้จ่ายหลักพัน แต่รอนานนนนนนนน มากกกกกก ค่ะ ดิฉันส่งใบสมัครไป ตั้งแต่ธันวาปีที่แล้ว ตอนแรกบอกว่าคิวประมาณ 2 เดือน ป่านนี้ยังไม่ได้รับการติดต่อ โทรถาม จนท.ก็ไม่มี service mind เลย บอกว่าไม่ต้องโทรมาอีกถึงเวลาจะติดต่อมาเอง คือให้รอไปอย่างไม่มีอนาคตนะค่ะ
2. REED INSTITUTE 02-2391017 อันนี้ฝรั่งทำค่ะ ราคา30,000 up
3.สำหรับดิฉันโรงเรียนติดต่อให้ เพิ่ง test เสร็จไป เป็นนักจิตวิทยทางการศึกษาชื่อคุณ Melody Appleton ค่าใช้จ่าย 20,000 กว่า
จาก การค้นคว้าด้วยตนเองพบว่าคุณพ่อคุณแม่เป็นบุคคลสำคัญที่สุดที่จะเห็นแนวโน้ม การเป็นอัจฉริยะของลูก เพราะอัจฉริยภาพหลายอย่างไม่ได้แสดงออกในด้านการเรียนหนังสือเพียงอย่าง เดียว
อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมลองดูที่ //giftedkids.about.com, kidsqure.com, a-gifted-child.com, gifteddevelopment.com ดูนะคะ มีข้อมูลน่าสนใจมากมายเลย


สถานที่วัดแววความสามารถ อีก 1 ที่น่ะค่ะ

ศูนย์ค้นหาศักยภาพการคิด ลำลูกกา คลอง 4 ค่ะ รับเด็ก 4-12 ปี

- ศูนย์เราป็นศูนย์ที่นำแนวความคิดและกระบวนการจากศูนย์อัจฉริยภาพเด็ก สภากาชาดไทย มาปรับ+ประยุกต์ใหม่ค่ะ กระบวนการเป็นกระบวนการค้นหาแบบเดิมเหมือนของสภากาชาดและของมศว.ประสานมิตร ค่ะ

- ผู้ปกครองท่านใดสนใจ ติดต่อขอรายละเอียดได้ที่ 02-5601141 ค่ะ ทุกวันอังคาร - วันอาทิตย์ ค่ะ ปิดทำการวันจันทร์

-วันอังคาร - ศุกร์ เวลา 11.00 - 20.00

- วันเสาร์และอาทิตย์ เวลา 9.00 - 18.00

ขั้นตอนในการสมัครค่ะ

1. พาเด็กมาทดสอบความพร้อมในการเข้ากระบวนการวัดแววก่อน 1 ชั่วโมง

2.ทดสอบผ่านแล้ว นัดวันเวลากับนักวิชาการ เพื่อเข้ากระบวนการ 12 ครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมงค่ะ

3.เมื่อครบ 12 ครั้งแล้ว นักวิชาการประจำตัวเด็ก จะนัก Counseling กับผู้ปกครอง 1 ชั่วโมง เพื่อสรุปผลการวัดแววทั้งหมด

**รับรอง ผลการวัดแวว โดย ศาสตราภิชานนายแพทย์พิชิต สุวรรณประกร รองประธานมูลนิธิเพื่อนพึ่ง(ภาฯ) ยามยาก และประธานศูนย์ค้นหาศักยภาพการคิด ธัญธานีคลับเฮ้าส์ และผศ.ดรอุษรีย์ อนุรุทธ์วงศ์ ประธานศูนย์อัจฉริยภาพเด็ก มศว.ประสานมิตร

กรรณิการ์ ตุ้ยสา







ผู้ปกครองท่านใดสนใจ สอบถามและติดตามรายละเอียดได้ที่

http://www.itpthinking.com

หรือ 02-5601141 ค่ะ

ครูมด ศูนย์ค้นหาศักยภาพการคิด

 

การวัดแววความ *** หรือการค้นหาศักยภาพ
ปัจจุบัน ศูนย์พัฒนาอัจฉริยภาพที่มศว. มาเปิดศูนย์เครือข่าย ที่เดิมค่ะ คือที่ศูนย์ค้นหาศักยภาพการคิด ลำลูกกา ธัญธานี ปทุมธานี
http://www.itp-thinking.com ค่ะโดย: itpthinking@hotmail.com [2 พ.ย. 53 22:43]  


ข้อมูลล่าสุดนะคะเกี่ยวกับการค้นหาแววเด็ก
ปัจจุบันมีศูนย์ที่ให้บริการค้นหาแววเด็ก 2 ศูนย์ ได้แก่
1. ศูนย์พัฒนาอัจฉริยภาพเด็ก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ(สำนักงานกลาง) http://www.giftedcenter.org 02-2596173
2. ศูนย์ค้นหาศักยภาพการคิด ลำลูกกา ปทุมธานี (ศูนย์เครือข่าย)
http://www.itp-thinking.com
ปัจจุบัน มีเพียง 2 ศูนย์เท่านั้น ที่สภากาชาดไทยและที่มหิดลวิทยานุสรณ์ปิดทำการแล้วค่ะ ถ้าเป็นศูนย์อื่นๆ รับรองว่าเป็นของปลอมอย่างแน่นอน
• ผู้เข้ารับบริการ ---
เด็กอายุ 4-10 ปี ที่มีความสนใจค้นหาแววความ *** พิเศษ หรือค้นหาศักยภาพการคิด
• วิธีการสมัคร --- *** สมัครได้ 2 วิธี ได้แก่
1. กรอกใบสมัครได้ที่ http://www.itp-thinking.com ,www.giftedcenter.org
2. ที่ศูนย์ค้นหาศักยภาพการคิด ลำลูกกา ปทุมธานี หรือที่โครงการเด็กที่มีความ *** พิเศษ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หลังจากกรอกใบสมัครแล้ว กรุณารอคิวเพื่อนัดหมาย
• ขั้นตอนการให้บริการ ---
1. นำเด็กมารายงานตัว พร้อมชำระเงินค่าสมัคร
2. ในการพาเด็กมาเข้าศูนย์วันแรก จะมีการปฐมนิเทศผู้ปกครอง
3. เด็กเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อสำรวจแววความ *** ติดต่อกันทุกสัปดาห์ เป็นเวลา 8 ครั้ง
4. ปัจฉิมนิเทศผู้ปกครอง เพื่อรับผลการประเมินความ *** หลังจากเด็กเสร็จสิ้นกิจกรรม อัตราการให้บริการสำรวจแวว รายละ 5,900 บาท (รวมค่าบริการวินิจฉัยเชิงลึก)
• วันเวลา การให้บริการ---- เด็กจะเข้ามาทำกิจกรรมติดต่อกัน 8 สัปดาห์ ทุกวันอาทิตย์
1. ช่วงเช้า เวลา9.30 น. – 11.30 น. สำหรับเด็กเล็ก 4-6 ปี (อนุบาล 1-อนุบาล3)
2. ช่วงบ่าย เวลา 13.30 น. - 15.30 น. สำหรับเด็กโต 7 - 10 ปี (ป.1-ป.4)
• ประเภทของการให้บริการ
1. การค้นหาแววความ *** เป็นการบริการที่ช่วยให้ผู้ปกครองได้รับข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพที่สำคัญด้าน ต่างๆ ของลูก โดยทางศูนย์จะประเมินเด็กในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
1.1 ความ *** พิเศษด้านต่างๆ ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาศาสตร์ อิเล็กทรอนิกส์ ศิลปะ
1.2 I.Q. (Intelligence Quotient)
1.3 E.Q. (Emotional Quotient)
1.4 A.Q. (Adversity Quotient)
1.5 S.Q. (Social Quotient)
1.6 บุคลิกภาพโดยรวม
1.7 ความ *** ทางความคิดระดับสูง
2. การทดสอบเชิงลึก
3. การพัฒนาทักษะการคิดระดับสูง
4. การพัฒนาเด็กที่มีความ *** พิเศษระดับสูง
5. การจัดกิจกรรมส่งเสริมความ *** พิเศษ แต่ละสาขาสำหรับเด็ก
6. การจำหน่ายเอกสาร สื่อและอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการพัฒนาความ *** พิเศษ


ขอแนะนำให้ไป ที่ สถาบัน Think Is Fun ดีกว่าคะราคาไม่แพงประมาณ 1,300 บาท วัด IQ และวัดแววอาชีพให้ด้วยคะ ใช้แบบวัดจากอเมริกา อยู่ตรง BTS อารีย์คะ ซอยพหลโยธิน 5 มีสมุดรายงานเหมือนที่อื่นเลยคะ ถ้าจะเอาเป็นภาาษาอังกฤษ เพิ่ม 500 บาทคะแต่ถ้าภาษาไทยไม่เสียเพิ่มค่ะ

0813437550 โทรติดต่อดูนะคะโดย: ยุ้ย [28 ต.ค. 54] 




 

พัฒนาการปกติของทารกถึงวัยรุ่น

6 เดือน
การทรงตัวและการเคลื่อนไหว
คว่ำและหงายได้เอง ท่าคว่ำใช้ข้อมือยันได้ ดึงจากท่านอนหงายมาท่านั่งศีรษะไม่ตกไปข้างหลัง นั่งเองได้ชั่วครู่ ถ้าจับยืนเริ่มลงน้ำหนักที่เท้าทั้งสองข้างได้ เริ่มมีการลุกนั่ง
การใช้ตาและมือ
คว้าของด้วยฝ่ามือ หยิบของมือเดียว และเปลี่ยนมือได้ มองเห็นทั้งไกลและใกล้ ใช้ทั้งสองตาได้ดี
การสื่อความหมายและภาษา
หันหาเสียงเรียก เล่นน้ำลาย ส่งเสียงหลายเสียง
สังคมและการช่วยเหลือตนเอง
รู้จักคนแปลกหน้า กินอาหารกึ่งเหลวที่ป้อนด้วยช้อนได้
9 เดือน
การทรงตัวและการเคลื่อนไหว
นั่งได้มั่นคง คลาน เกาะยืน
การใช้ตาและมือ          
ใช้นิ้วหยิบของได้ เริ่มหยิบของเล็กโดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ได้ เปิดหาของที่ซ่อนไว้ได้ มองตามของที่ตกจากมือ
การสื่อความหมายและภาษา
ฟังรู้ภาษาและเข้าใจสีหน้าท่าทางได้ เปล่งเสียง เลียนเสียงพยัญชนะ แต่ไม่มีความหมาย
สังคมและการช่วยเหลือตนเอง
เล่นจ๊ะเอ๋ได้ ตามไปเก็บของที่ตก หรือร้องตามแม่เมื่อแม่จะออกไปจากห้อง หยิบอาหารกินได้
12 เดือน
การทรงตัวและการเคลื่อนไหว
เกาะเดิน ยืนเองได้ชั่วครู่ อาจกางแขนขาเพื่อทรงตัว
การใช้ตาและมือ
ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้หยิบของชิ้นเล็กๆได้ถนัด หยิบของใส่ถ้วยหรือกล่อง
การสื่อความหมายและภาษา
เรียกพ่อแม่หรือพูดคำโดดที่มีความหมาย 1 คำ ทำท่าทางตามคำบอกที่มีท่าทางประกอบได้
สังคมและการช่วยเหลือตนเอง
ตบมือ เลียนท่าทางโบกมือ สาธุ ร่วมมือเวลาแต่งตัวและชอบสำรวจ
2 ปี
การทรงตัวและการเคลื่อนไหว
เดินขึ้นบันได เตะลูกบอลได้ กระโดด 2 เท้า
การใช้ตาและมือ
ต่อรถไฟ ขีดเส้นตรงและโค้งเป็นวงๆได้ เปิดหนังสือทีละหน้า วางของซ้อนกันได้ 6 ชิ้น

การสื่อความหมายและภาษา
พูด 2-3 คำต่อกันได้อย่างมีความหมาย บอกชื่อของที่คุ้นเคยได้ บอกชื่อตัวเองได้
สังคมและการช่วยเหลือตนเอง
เลียนแบบผู้ใหญ่ ใช้ช้อนตักอาหารกินเองได้ บอกได้เวลาจะถ่ายอุจจาระ ตบมือ จิกหัวตัวเอง
3 ปี
การทรงตัวและการเคลื่อนไหว
ขึ้นบันไดสลับเท้า ขี่จักรยานสามล้อ การวิ่งเท้าทั้งสองข้างยังกาง
การใช้ตาและมือ
วาดวงกลมได้ตามแบบ ต่อชิ้นไม้ 3 ชิ้นเป็นสะพาน ดังรูป

จับดินสอในท่าทางที่ถูกต้อง
การสื่อความหมายและภาษา
เล่าเรื่องที่ตนประสบมาให้ผู้อื่นฟังเข้าใจประมาณ 50 % ถามอะไร ที่ไหน จับกลุ่มสีพื้นฐานได้
บอกสิ่งของขนาดใหญ่ เล็ก สั้น ยาวได้  ชี้ส่วนของร่างกาย หัวแม่เท้า หลัง ท้อง คาง เข่า และคอได้ ชี้ด้านหน้า - หลัง ได้
สังคมและการช่วยเหลือตนเอง
ถอด - ใส่รองเท้าซ้ายขวาได้ อาจจะคอยเตือนบ้าง
แต่งตัว สวมใส่เสื้อชั้นนอก - ใน ได้ด้วยตนเอง แต่บางครั้งบอกช่วยเหลือบ้าง แก้โบว์ผูกได้ ติดและถอดตะขอได้ รูดซิปได้
รู้เพศตนเอง แบ่งของให้คนอื่นได้บ้าง เล่นกับคนอื่น ควบคุมการถ่ายอุจจาระได้
4 ปี
การทรงตัวและการเคลื่อนไหว
กระโดดขาเดียว 4-6 ก้าว เดินลงบันไดสลับเท้าได้
ยืนด้วยขาเดียวนาน 3-6 วินาที วิ่งเท้าชิดกันมากขึ้น
โยนลูกบอลข้ามศีรษะ รับลูกบอลด้วยแขนงอเล็กน้อย
การใช้ตาและมือ
วาดสี่เหลี่ยมได้ตามแบบ วาดคนได้ 3 ส่วน ต่อชิ้นไม้ 5 ชิ้นได้ ตามรูป
จับดินสอด้วยมือข้างขวาที่ถูกต้องโดยใช้นิ้วข้อปลาย
การสื่อความหมายและภาษา
ร้องเพลง พูดเป็นประโยค ถามคำถาม เล่าเรื่องให้ผู้อื่นฟังเข้าใจได้ทั้งหมด
รู้จัก 4 สี รับรู้ตำแหน่ง ใต้ บน ข้าง ซึ่งสัมพันธ์กับตนเอง
ต่อจิ๊กซอได้ 3-5 ชิ้น
สังคมและการช่วยเหลือตนเอง
เล่นร่วมกับคนอื่นได้ ควบคุมการถ่ายปัสสาวะได้ในเวลากลางวัน ติดกระดุมได้เอง ใส่เข็มขัด ร้อยเชือกรองเท้าได้
5 ปี
การทรงตัวและการเคลื่อนไหว
กระโดดสลับเท้าได้ กระโดดข้ามสิ่งกีดขวางเตี้ยๆได้ เดินต่อเท้าเป็นเส้นตรงได้โดยไม่ล้ม
การใช้ตาและมือ
วาดสามเหลี่ยมได้ตามแบบ วาดคนได้ 6 ส่วน เขียนอักษรตามรอยประได้ เริ่มเขียนชื่ออักษรต้นของตนเองได้
ต่อบันได 6 ชิ้นตามรูป
การสื่อความหมายและภาษา
พูดฟังเข้าใจได้  ถามเกี่ยวกับความหมายและเหตุผล  จำตัวอักษรได้  นับสิ่งของได้ 5 ชิ้น
นับเลขได้ถึง 20  แยกซ้าย - ขวาด้วยตัวเอง ต่อจิ๊กซอได้ 12-15 ชิ้น
สังคมและการช่วยเหลือตนเอง
เล่นได้อย่างมีกติกา แต่งตัวเอง เล่นสมมติโดยใช้จินตนาการ ไม่ปัสสาวะรดที่นอนเวลากลางคืน
รู้อายุ  เริ่มผูกเชือกรองเท้า  ผูกเชือกกางเกงนอนได้ แปรงฟันได้เองโดยไม่ต้องบอก
6 ปี
การทรงตัวและการเคลื่อนไหว
เดินบนส้นเท้า เดินต่อเท้าถอยหลังได้ ใช้สองมือรับลูกบอลที่โยนมา   กระโดดไกลประมาณ 120 ซม.
การใช้ตาและมือ
วาดรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนได้และสี่เหลี่ยมที่มีเส้นทแยงมุมตามแบบ
การสื่อความหมายและภาษา
นับได้ถึง 30 อธิบาความหมายของคำได้ บอกความแตกต่างของสองสิ่งได้  เริ่มอ่านสะกดคำ รู้เช้า บ่าย  เข้าใจเกี่ยวกับขนาด น้ำหนัก รูปร่าง ระยะ
สังคมและการช่วยเหลือตนเอง
ช่วยงานบ้านได้ เล่นอย่างมีกติกา  ผูกเชือกรองเท้าได้
7 ปี
การทรงตัวและการเคลื่อนไหว
เดินถือของหลายชิ้นได้  เริ่มขี่จักรยาน 2 ล้อ
การใช้ตาและมือ
วาดรูปตามแบบ
การสื่อความหมายและภาษา
บอกเดือนของปีได้  สะกดคำง่ายๆได้ ฟังเรื่องแล้วเข้าใจเนื้อหาเด่นๆและขั้นตอนได้ ปรียบเทียบสิ่งที่เหมือนกัน
สังคมและการช่วยเหลือตนเอง
เริ่มมีเพื่อนสนิท ยอมรับกฏเกณฑ์ โดยปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ใหญ่เพื่อที่จะได้รับคำชมเชยและหลีกเลี่ยงการถูก ลงโทษ
9 ปี
การทรงตัวและการเคลื่อนไหว
ยืนขาเดียวปิดตาได้ 15 วินาที
การใช้ตาและมือ
วาดรูปที่มีความลึกได้  วาดรูปทรงกระบอกตามแบบ
การสื่อความหมายและภาษา
บอกเดือนถอยหลังได้  เขียนเป็นประโยค  เริ่มอ่านในใจ เริ่มคิดเลขในใจ บวกลบหลายชั้น
คูณชั้นเดียว
สังคมและการช่วยเหลือตนเอง
รู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควรในสถานการณ์ต่างกัน  ทำดีเพื่อรางวัลและการชมเชย
10-12 ปี
การทรงตัวและการเคลื่อนไหว
รับลูกบอลมือเดียว   ยืนกระโดดไกล 150-165 ซม.
การใช้ตาและมือ
วาดรูปทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ตามแบบ
เขียนและวาดได้คล่อง สามารถใช้เครื่องมือในการทำงานได้

การสื่อความหมายและภาษา
คูณหารได้ บอกตัวเลขตามได้ 6 ตัว ถอยหลังได้ 4-5 ตัว  รู้จักเศษส่วน  เขียนเล่าเรื่องสั้นๆได้
แก้ปัญหาได้เป็นขั้นตอน แก้โจทย์ 2 ชั้นได้

สังคมและการช่วยเหลือตนเอง
มีพฤติกรรมตามผู้อื่นที่เป็นที่ยอมรับของกลุ่ม เริ่มยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างจากตนเอง รู้จักปฏิบัติตนเหมาะกับกาลเทศะ สนใจเพื่อนต่างเพศ ยอมรับกฎเกณฑ์

ขอขอบคุณ: http://www.iamsmartkids.com

ฉลาดคณิต สนุกรู้มิติสัมพันธ์

คณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์และมิติสัมพันธ์ คือความฉลาดทางสติปัญญา2 ใน 8 ด้านจากทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligences) ของโฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ นักจิตวิทยาด้านการคิดและการศึกษาที่รู้จักกันทั่วโลกซึ่งความฉลาดทั้ง 2 ด้านนี้สามารถเรียนรู้และเกิดขึ้นไปพร้อมกันได้ใน Smart tips นี้ค่ะ

และมิติสัมพันธ์ คือความฉลาดทางสติปัญญา 2 ด้านมารวมกัน จะเกิดการเรียนรู้มิติสัมพันธ์ผ่านการเชื่อมโยงสิ่งที่มองเห็น เช่น รูปทรง ทิศทาง ตำแหน่ง ควบคู่กับคณิตศาสตร์ที่เป็นการคิดคำนวณอย่างเป็นเหตุเป็นผล เช่น จำนวน ความสมดุล ลำดับ ชีวิตประจำวัน ฯลฯ ทำให้เจ้าหนูพบคณิตศาสตร์ได้หลากรูปแบบจนนึกไม่ถึงเชียวล่ะ
พร้อมแล้วชวนเจ้าหนูนับถอยหลัง  5 ...4...3..2..1 ไปเพลินกับคณิตพร้อมกับการเรียนรู้มิติสัมพันธ์กันเลยค่ะ

Tip 1 ใช้สัญลักษณ์แทนตัวเลข

3             (ภาพพริกหยวก)

6             (ภาพพริกหยวกสลับกับส้ม)

วัยเด็กยังไม่มีความชำนาญมากพอในการเรียนรู้สัญลักษณ์ที่มีความหมายเฉพาะ การแทนค่าตัวเลขซึ่งเป็นสัญลักษณ์ (นามธรรม) ด้วยสิ่งที่เราพบเห็นในชีวิตประจำวัน (รูปธรรม) จะสร้างความเข้าใจได้ดีกว่าค่ะ เช่น
- การใช้ผลไม้แทนสิ่งต่างๆ ช่วยน้องนับเลขอย่างง่ายๆ
- ชวนหนูรู้จักเลขคู่เลขคี่ เช่น พริกหยวกแทนเลขคี่ ส้มแทนเลขคู่ ให้เห็นความสัมพันธ์ของตัวเลขผ่านการจัดวางตามลำดับ
Tip 2 สนุกกับจำนวนนับ
พอลูกรู้สึกคุ้นเคยกับจำนวนแล้ว ลองเติมความสนุกให้กับตัวเลข เช่น
  • หาตัวเลข 1-9 ที่ซ่อนอยู่รอบตัว แล้วทำเป็นบันทึกการสืบค้น เช่น โทรทัศน์ 1 เครื่อง ประตู 2 บาน โต๊ะ 3 ตัว แจกัน 4 ใบ     รองเท้า 5 คู่ เพิ่มเติมเรื่องตำแหน่งด้วยการเพิ่มโจทย์การจดบันทึก เช่น โทรทัศน์ 1 เครื่อง อยู่ด้านหน้าโต๊ะเขียนหนังสือ เป็นต้น
  • เจาะลึกถึงตัวเลขที่เราอาจมองไม่เห็นจริง เช่น การกะน้ำหนักของหนู ส่วนสูงของคุณพ่อ ก่อนการชั่งน้ำหนักหรือวัดส่วนสูง ฝึกการสังเกต ซึมซับความหมายของตัวเลข เติมความเข้าใจจากเลขหนึ่งหลักเป็นสองหลัก
 Tip 3 เรขาคณิตแสนสนุก
ได้เวลาฝึกฝนเรขาคณิตด้วยอุปกรณ์แค่กระดาษและกรรไกรค่ะ
- สร้างแบบจำลองห้องนอนของหนูด้วยการตัดกระดาษรูปเรขาคณิตมาประกอบเป็นห้องนอน ลงบนกระดาษ เช่น เตียงนอนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หมอนเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส พรมเช็ดเท้าเป็นรูปวงกลม
- เสริมทักษะด้วยการนำการ์ดมาประกอบกันเป็นรูปร่างต่างๆ เช่น สี่เหลี่ยมคางหมูเกิดจากสี่เหลี่ยม 2 อันและสามเหลี่ยม 1 อัน
- ฝึกคิดคำนวณพื้นที่ เช่น การ์ดสี่เหลี่ยมขนาดกว้างยาวด้านละ 1 นิ้ว เมื่อนำมาประกอบกัน 4 อัน กลายเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดใหญ่ มีพื้นที่รวม 4 ตารางนิ้ว
- ลองเพิ่มหรือลดการ์ดแล้วพัฒนาเป็นสูตรคำนวณ กว้าง x ยาว = หน่วยพื้นที่ เช่น ตารางนิ้ว เป็นต้น
Tip 4 สนุกกับอัตราส่วน
เรียนรู้มิติสัมพันธ์ด้านคณิตศาสตร์ เชื่อมโยงตัวเลขผ่านร่างกายของเรา เปรียบเทียบกับอัตราส่วนจริง(คุณพ่อคุณแม่ช่วยเป็นต้นแบบ เพื่อให้ได้สัดส่วนใกล้เคียงมาตรฐานจริง ค่าที่ได้อาจเป็นเพียงค่าประมาณ แต่ก็ได้สนุกเรียนรู้ไปพร้อมกันด้วยค่ะ)

1 นิ้ว = ความกว้าง 1 นิ้วโป้ง
1 ฟุต = ความยาวของเท้า
1 ศอก = ความยาวจากปลายนิ้วกลางถึงข้อศอก
Tip 5 เตรียมความพร้อม บวก-ลบ-คูณ-หาร
ก่อนรู้จักเครื่องหมายบวก ลบ คูณ หาร ลองจัดบรรยากาศรอบตัวให้เป็นสนามประลองโจทย์คณิตศาสตร์ให้เจ้าหนูเห็นการ เปลี่ยนแปลงย้ายที่ของค่าตัวเลขจริง วิธีนี้จะช่วยเรียนรู้ได้ดีกว่าการตั้งโจทย์ 1+1 =? ค่ะ
- วัยอนุบาล...เรียนรู้บวกลบ เช่น จัดมุมร้านค้าขายผลไม้จริงที่ซื้อมารับประทานอยู่แล้ว มีส้ม 2 กล่อง กล่องแรกมีส้ม 5 ผล กล่องที่สองมีส้ม 15 ผล แล้วตั้งโจทย์ว่าทำอย่างไรให้ทั้ง 2 กล่อง มีส้มกล่องละ 10 ผล เจ้าหนูก็จะนับแยกผลส้มจริง ซึ่งจะทำให้เข้าใจได้ง่ายและเร็วกว่าการบวกลบตัวเลขค่ะ
วัยประถมต้น...ฝึกฝนคูณหาร เช่น คำนวณเวลา ลองชี้เข็มนาฬิกาให้เขาดู ถ้าคุณแม่พับผ้าคนเดียว เข็มยาวจะเดินจากเลข 1 ถึงเลข 4 ถามเขาว่าถ้าคุณแม่กับหนูช่วยกันพับสองคน จะใช้เวลาสั้นลงครึ่งหนึ่ง เข็มจะชี้ไปที่เลขไหน แล้วถ้าเพิ่มเสื้อผ้าที่ต้องพับอีกเท่าตัว จะต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นหรือลดลงเท่าไร อ๊ะ...อย่าลืมช่วยกันพับผ้าทดลองจริงด้วยนะคะ
Tip 6 คิดคำนวณในชีวิตจริง
เติมความแม่นยำด้วยการสอนคณิตจากเรื่องใกล้ตัวค่ะ
- คณิตจ่ายตลาด เช่น ลองให้เจ้าหนูช่วยคิดว่าจะใช้เงิน 100 บาท เพื่อซื้อวัตถุดิบไปทำข้าวผัดหมูสับแครอทใส่ไข่ สำหรับพ่อแม่และตัวหนูเอง? เขาจะได้ฝึกคำนวณทั้งปริมาณและราคาค่ะ
- เปรียบเทียบของชนิดเดียวในปริมาณและราคาที่ต่างกัน เช่น สบู่ 100 กรัม กับ 200 กรัม ราคา 10 บาท และ 15 บาท ซื้อก้อนไหนจึงจะประหยัดเงินมากกว่า
การเรียนรู้ของวัยนี้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด ควรให้ความสำคัญกับความเข้าใจมากกว่าความจำ เพื่อเป็นรากฐานเชื่อมโยงสู่การเรียนรู้ด้านอื่นๆ ในอนาคต ที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่ต้องช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆ อย่างสนุกสนาน เพื่อสร้างจิตใจใฝ่รู้ให้กับลูกค่ะ
................................................................................................................
  
กองบรรณาธิการนิตยสาร Kids and School จากคอลัมน์ Smart Tips

ความฉลาดสำหรับโลกอนาคต

เคยสงสัยไหมคะว่า คนที่จะอยู่ต่อไปในโลกอย่างดีในโลกยุคหน้า ต้องมีคุณสมบัติ หรือลักษณะอย่างไรบ้าง...และเราจะเตรียมลูกของเราอย่างไรให้เขาดำรงอยู่ได้ ไม่ใช่แค่อยู่รอดได้นะคะ แต่อยู่ได้อย่างสง่างาม ประสบความสำเร็จในสิ่งที่เขามุ่งหวัง แถมยังมีความสุข และเหลือเวลาพร้อมด้วยทรัพย์สินที่จะช่วยเหลือคนอื่นๆ ได้อีกต่างหาก..
แต่เราจะทำอย่างไรดีคะ ที่จะให้เด็กๆ ของเรามีความพร้อมที่จะก้าวไปถึงจุดนั้นได้ ในเวลาที่เราไม่ได้อยู่ดูแลเขาอีกต่อไปแล้ว

คำถามนี้ มีคนๆ หนึ่งลองตอบได้น่าสนใจมาก...ท่านอาจารย์คนเก่งของหนูดีเอง ที่ฮาร์วาร์ด ชื่อ ดร.โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ เพิ่งเขียนหนังสือเล่มใหม่เอี่ยม ชื่อ Five Mind for the Future ซึ่ง ท่านเซ็นชื่อหน้าปกและส่งมาอ่านให้หนูดีอ่านเล่นที่บ้าน แทนคำขอบคุณที่หนูดีส่งผ้าพันคอไหมไทยไปให้ท่านสวมหน้าหนาว ...ซึ่งจริงๆ แล้ว ผ้าผืนนั้น เป็นผ้าปูโต๊ะขนาดเล็กและยาวค่ะ หนูดีเห็นท่านพันคอไปแล้วเลยไม่กล้าแก้ความเข้าใจผิดกับท่าน...แต่แอบเอามา เขียนถึงดีกว่าค่ะ แก้คิดถึง

หนังสือเล่มนี้สนุกมาก...อ่านเพลินเลย เพราะอาจารย์หนูดีชวนคุยว่าในโลกยุคหน้า คนเราต้องเก่งด้านไหนบ้าง ต้องคิดถึงให้ได้แบบไหนบ้างถึงจะอยู่รอดอย่างประสบความสุขความสำเร็จสูงที่ สุดด้วย ถึงแม้ท่านจะเป็นเจ้าของทฤษฎีเรื่องอัจฉริยภาพหลายประการ แต่ท่านไม่ได้พูดถึงอัจฉริยภาพเป็นเรื่องใหญ่เลย

มาดูกันไหมคะว่า มีความฉลาดอะไรบ้างที่เราน่าฝึกลูกๆ (และรวมถึงตัวเราด้วย) ให้เก่งกาจ...แต่ดูแล้ว ให้ยึดหลักกาลามสูตรนะคะ ว่าอย่าเชื่อไปทั้งหมด ในห้าความคิดนี้ อาจจะมีด้านที่หก ที่คนเขียนมองพลาดไปแล้วลืมเขียน อาจจะมีด้านไหนที่ไม่จำเป็น หรืออาจจะไม่น่าจะจำเป็นทั้งห้าด้านเลยก็ได้ค่ะ...การอ่านไป ตั้งคำถามไป เป็นนิสัยที่หนูดีถูกอาจารย์ท่านนี้ล่ะค่ะ ฝึกมาตลอดปีเลยว่า ห้ามเชื่อทฤษฎีไหนง่ายๆ แค่เพราะมันน่าเชื่อ อย่าเชื่อแค่เพราะอาจารย์เราเป็นคนบอก อย่าเชื่อแค่เพราะคนพูดเป็นคนดัง ฯลฯ... เพราะหากเราฝึกคิดแบบนี้ แล้วเห็นช่องโหว่ได้...วันหนึ่งเราเอง ก็อาจเป็นคนคิดค้นทฤษฎีใหม่ๆ มาอุดช่องโหว่นั้นเองก็ได้นะคะ

 Disciplined Mind สมองคิดเก่งในสาขาที่เราเลือก
ความคิด ความเก่ง และทักษะแรกนี้จำเป็นมากค่ะ...เมื่อเราเลือกเรียนอะไร เลือกทำอาชีพอะไร เราจำเป็นต้องเก่งและรู้รอบในสาขาวิชาชีพเราให้มากและดีที่สุด เช่น ถ้าเราเลือกเป็นหมอ ก็ให้เป็นหมอที่เก่งมากๆ เลือกเป็นคนขายต้นไม้ ก็ต้องเชี่ยวชาญรู้จักต้นไม้ทุกชนิดทุกพันธุ์ รู้จักการเลี้ยงดู การเพาะ ให้ครบถ้วน เพราะในการที่เราจะเก่งรอบด้านได้ เราต้องเก่งลึกก่อน คือ รู้ให้หมด ในสิ่งที่เป็นของเราอย่างแท้จริง

ดังนั้นตอนเลือกหนแรกที่นี่ล่ะค่ะที่สำคัญ เพราะนี่คือบ้านหลังแรกของเราเป็นบ้านที่เราต้องดูแลให้ดีที่สุด..และการ เลือกสาขาที่จะเรียนนี้เราก็ต้องย้อนมาดูที่ความชอบหรือความถนัดของเราว่า มันคืออะไร ไม่ต้องไปหาที่ไหนไกลค่ะ บางคนบอกว่า การค้นหาตัวเองเป็นเรื่องยากนั้น มักเป็นคนที่เลือกวิธีผิด คือการวิ่งไปมา ทุกที่เพื่อหาตัวเอง ทั้งๆ ที่ตัวเขาก็อยู่ที่นั่น รอเขาอยู่ตลอดเวลา

ดังนั้น หน้าที่แรกที่เราต้องฝึกให้ลูกก็คือ การนิ่งและมองให้ดีว่าอัจฉริยภาพที่เรามีติดตัวมาคืออะไร และเราจะพัฒนาเขาต่อไปได้อย่างไร มันอาจจะเป็นด้านดนตรี ภาษา ธรรมชาติ ฯลฯ หรืออาจจะหลายด้านรวมกันก็ได้ค่ะ

Synthesizing Mind สมองคิดสังเคราะห์ข้อมูล
นั่นแน่...เก่งด้านเดียวไม่พอแล้วสำหรับโลกยุคหน้าค่ะ เพราะว่าคำว่ารู้อะไรกระจ่างแม้อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผลหนู ดีต้องขอต่ออีกหน่อยว่า รู้ให้กระจ่างสักสองสามอย่างจะดีกว่าค่ะ สมองของเราไหว สบายอยู่แล้ว...โดยเฉพาะสมองเด็กๆ เพราะเขาชอบเชื่อมโยงข้อมูลเข้าหากัน

ในโลกยุคหน้า คนทำงานส่วนใหญ่จะมีโอกาสเปลี่ยนงานหรือเปลี่ยนอาชีพเฉลี่ยคนละห้าครั้ง เชียวนะคะ เราเรียนจบมาด้านไหน หลายคนก็ไม่ได้ทำงานด้านนั้น หรืองงานหลายอาชีพก็ต้องใช้ความรู้หลายสาขาวิชามารวมกัน ยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างหนูดีเลยค่ะ อาชีพหนูดีเป็นสาขาใหม่เรียนว่า Mind, Brain, and Education จะ ว่าหนูดีเป็นหมอ ก็ไม่ใช่ซะทีเดียว จะวาหนูดีเป็นนักจิตวิทยา ก็ไม่เชิง จะว่าเป็นนักการศึกษา ก็ไม่ใช่ทั้งหมด... และนี้เป็นเทรนด์ที่มาแรงมากค่ะ ฝันยุคนี้ คือ การเกิดอาชีพใหม่ๆ จากการนำอาชีพดั้งเดิมมาผสมกัน ซึ่งน่าจะเป็นข้อมูลที่พวกเราสะสมกันไว้ในฐานะมนุษยชาตินั้นเยอะมาก การจำกัดตัวเองไว้ในกรอบวิชาเดียว จึงเป็นการจำกัดศักยภาพมนุษย์ ดังนั้น คนเก่งยุคหน้า เลยควรรู้หลายสาขาเพื่ออุดช่องโหว่ของสาขาวิชาเดียว...ในโลกยุคของลูกเรา เราคงได้เห็นอาชีพแปลกๆ ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีกมากมาย ...น่าตื่นเต้นดีนะคะ

Creating Mind สมองคิดสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ๆ
รู้รอบหลายสาขาวิชา...ที่สำคัญที่สุด คือการคิดค้นสิ่งใหม่ แนวคิดใหม่ๆ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ขึ้นมาได้ค่ะ เพราะ การรู้อย่างเดียว...รู้แล้วความเก่งจบลงแค่ที่ตัวเราก็น่าเสียดาย แต่ถ้าหากเราสามารถนำความเก่งนั้น มาสร้างสรรค์อะไรดีๆ ให้โลกได้ คงคุ้มค่าน่าดูค่ะ ...เพราะฉะนั้น หากเราเป็นนักวิทยาศาสตร์ เราอาจคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ให้วงการศิลปะก็ได้ เช่น หนูดีเพิ่งเห็นนักวิทยาศาสตร์ท่านหนึ่ง คิดค้นนำขยะดีๆ มาผลิตเป็นกระเป๋าดีไซน์สวย น่าใช้เชียว... นี่ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของการคิดไดเยี่ยมสำหรับโลกยุคหน้าค่ะ

เพราะถ้าแค่รู้ข้อมูล... เราก็ฝึกลูกหรือลูกศิษย์ให้เป็นได้ก็แค่เพียงผู้บริโภคข้อมูล แต่ข้อมูลจะมีคุณค่ามากกว่าเป็นเพียงแค่สิ่งที่ถูกเสพก็เมื่อเราสามารถเอา สมองของเราเป็นเครื่องแปลและแปลข้อมูลได้ เปลี่ยนเป็นสิ่งใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์แบบที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน

Respectful Mind สมองคิดให้เกียรติคน
ฉลาดแล้ว ทักษะเยี่ยมแล้ว... ไม่น่าจะพอแน่ๆ สำหรับโลกยุคหน้า เพราะการให้เกียรติคนและการถ่อมตัว เป็นนิสัยที่อัจฉริยะทุกคนต้องฝึกให้มีค่ะ... หนู ดีเข้าเรียนฮาร์วาร์ดวันแรก สิ่งแรกที่ได้ยินคือปีนี้ขอให้นักเรียนใหม่ทุกคน ฝึกนิสัยให้เป็นคนถ่อมตัว เพราะคนเก่งที่ให้เกียรติใครไม่เป็น... ในที่สุดแล้วไม่มีใครอยากให้เกียรติเขา และผลงานดีๆ ก็จะมีออกมาไม่ได้ เพราะหาเพื่อนเก่งๆ ดีๆ ร่วมทำงานวิจัยด้วยไม่ได้เป็นคำสอนที่มีค่ามาก... เพราะวันหนึ่งที่เราเป็นคนเก่งมาก ก็จะมีคนชมมาก หากเราไม่รู้จักการประมาณใจให้ถ่อมตัวเสมอ เราก็จะเหลิงและลืมไปว่าทุกคนในโลกนี้คืออัจฉริยะทั้งนั้น ทุกคนเก่งทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับว่า เขาเก่งด้านไหนเท่านั้นเอง... ว่าไปแล้ว บทเรียนการถ่อมตัวถ่อมใจ เป็นหนึ่งในบทเรียนที่หนูดีถือว่ามีค่าที่สุดจากฮาร์วาร์ดค่ะ

Ethical Mind สมองคิด มีคุณธรรม เห็นความเชื่อมโยงถึงการกระทำของเรากับผู้อื่น
คนเก่งทีได้รับการกล่าวถึงอย่างชื่นชมในยุคนี้ ไม่ใช้คนที่แค่ประสบความสำเร็จเรื่องงาน หาเงินได้เยอะเท่านั้นนะคะ แต่คนที่ใครๆ รักและชื่นชม มักเป็นคนเก่งที่คิดถึงสังคมโดยรวมเป็น... บางคนเรียกทักษะนี้ว่าคุณธรรมแต่หนูดีชอบเรียกว่าการเห็นว่า พฤติกรรมของเรามีผลกระทบได้ทั้งทางดีลางร้ายกับผู้อื่น
การคิดแบบให้เกียรตินั้น เรามักจะทำกับอื่นอีกคนเดียว แต่การคิดแบบคุณธรรมจะ เป็นการคิดถึงคนเป็นร้อย เป็นหมั่น เป็นล้านเลยทีเดียวว่า การกระทำของเราจะกระทบกับคนอื่นอย่างไร....เช่น หากวันหนึ่ง เราได้เป็นเจ้าของโรงงานน้ำตาลที่ใหญ่ที่สุดในโลก เราจะทำอย่างไรกับน้ำเสียของโรงงาน หากเราได้เป็นนักการเมือง เราจะทำอะไรกับเงินภาษีปีละเป็นหมื่นเป็นแสนล้าน
คนเก่งแบบนี้ มีตัวอย่างที่ดีคือ คุณบิล เกตส์ ซึ่ง รวยอันดับหนึ่งของโลกติดต่อกันหลายผี แต่ทุกวันนี้ ชีวิตของเราเป็นการกุศลและมีเป้าหมายว่า อยากบริจาคเก้าสิบเปอร์เซ็นต์ของรายได้ ทำเป็นโครงการต่างๆ ที่ทำให้โลกนี้ดีขึ้น... น่าทึ่งมากนะคะ ที่คนๆ หนึ่ง สร้างอาณาจักรมหึมานี้มาจากศูนย์ และวันหนึ่งจะนำเงินจากแหล่งนี้กลับคืนให้โลก

โลกยุคหน้า คงไม่ใช่โลกที่น่าอยู่นัก หากแต่ละคนคิดถึงแต่ประโยชน์ส่วนตัว
ในการเป็นพ่อแม่ที่ดี คงไม่ใช่แค่การสอนให้ลูกเก่งวิชา สอบได้เกรดสี่เท่านั้น แต่เป็นการสอนให้เขาใช้สมองเขาได้เต็มคุณค่า และรู้ว่าจะใช้สมองนั้นไปทำไมทั้งเพื่อตัวเองและเพื่อสังคม... เป็นโจทย์ที่ไม่ง่ายเลยนะคะ แต่หนูดีว่า การเลี้ยงลูกให้ดี เป็นการให้ของขวัญที่ดีที่สุดกับโลกแล้วค่ะ... นี่เป็นคำที่หนูดีได้ยินเสมอจากแม่ของหนูดีว่า หนูดีเป็นของขวัญมีค่าที่สุดที่แม่มอบให้โลก... และหนูดีเชื่อว่า พ่อแม่คนไหนคิดได้แบบนี้ไม่มีทางที่จะเลี้ยงลูกผิดพลาดค่ะ และเด็กคนนั้นจะมีความสุขมากกับความเก่งของเขา

Brain Tips
เทคนิคสนุกๆ อันหนึ่งของการสอนลูกให้ถ่อมตัว คือ การให้เขาลองเรียนอะไรใหม่ๆ ทุกปี โดยอาจจะคงกิจกรรมด้วยเดิมไว้ด้วย ยก ตัวอย่างเช่น หากเขาเรียนบัลเลย์อยู่ก็ให้เรียนต่อเนื่อง แต่ปีนี้อาจให้เพิ่มเรียนศิลปะ ปีหน้าให้ลองเรียนเต้นละติน อีกปีให้ลองเรียนเทควันโด.. เปลี่ยนไปเรื่อยๆ บ้างค่ะ เพราะเด็กๆ จะไดใช้กล้ามเนื้อมัดที่แปลกออกไป ได้ลองก้าว ลองหมุนตัวแบบที่ไม่เคยหมุน... แต่ประโยชน์ที่แท้จริงคือ การที่เขาจะรู้ว่า โลกนี้ยังมีคนเก่งอีกเยอะแยะ มากมายหลายแบบ...และเราไม่ใช่คนเดียวในโลกที่เก่ง...ถ้าทำได้แบบนี้ เขาจะมีคนให้ทึ่งใหม่ๆ ทุกปี ว่า ครูคนนี้ปั้นดินเก่งจัง โอ้โห เพื่อนใหม่คนนี้ หมุนตัวตามจังหวะซัลซ่าได้ตั้งสามรอบ ในขณะที่เขาหมุนแล้วเซทั้งๆ ที่ในห้องบัลเลย์เขาคือ เด็กเก่งที่สุด...ให้เด็กลองด้วยตัวเองแบบนี้ รับรอง ถ่อมตัวอย่างน่ารักและเป็นธรรมชาติแน่นอนค่ะ
***************************** แหล่งที่มาของข้อมูล
นิตยสารบันทึกคุณแม่ ฉบับที่ 172 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2550
โดย หนูดี  วนิษา เรซ

12 วิธีเลี้ยงลูกให้ดี EQ สูง

วันนี้เราจะมาคุยกันด้วยเรื่อง ที่ต่อเดือนที่แล้วว่าจะเลี้ยงลูกให้มี E.Q.สูงได้อย่างไร อย่างที่ผมได้พูดคุยกับท่านผู้อ่านไปแล้วว่าเรื่องของ I.Q.หรือระดับสติปัญญานั้นขึ้นกับปัจจัยหลักคือสมองและระบบประสาทที่ดี พร้อมที่จะรับรู้ข้อมูลและเรียนรู้ อิทธิพลที่มีผลของระดับสติปัญญาขึ้นกับพันธุกรรม (Gene) ค่อนข้างมาก พูดง่ายๆ ก็คือถ้าพ่อแม่เฉลียวฉลาดย่อมมีโอกาสสูงที่ลูกจะเฉลียวฉลาดเช่นกัน ปัจจัยอื่นๆก็คือการได้รับสารอาหารเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของสมองตั้งแต่ เด็กยังอยู่ในครรภ์และตลอดช่วงวัยเด็ก นอกจากนั้นยังต้องได้รับการกระตุ้นอย่างเหมาะสมด้วย จะเห็นว่าเรื่องของพันธุกรรมเป็นเรื่องที่่เราควบคุมไม่ได้ แต่เรื่องของ E.Q.นั้น เราสร้างเสริมให้ลูกได้ทั้งสิ้น ลองมาดูกันเลยครับว่า12 วิธีเลี้ยงลูกให้ดี... E.Q.สูง มีอะไรกันบ้าง
  1. ให้ความรัก เป็นข้อแรกที่สำคัญมากและไม่เพียงแต่ให้ความรักเท่านั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องแสดงออกอย่างเหมาะสมอีกด้วย บางคนรักลูกแต่ไม่กล้าพูด ไม่กล้าแสดงความรักออกมาให้ลูกเห็นเลย การยิ้มให้ การสัมผัส การกอด โอบไหล่ ล้วนแล้วแต่เป็นภาษากายซึ่งบ่งบอกถึงความรักได้เป็นอย่างดี
  2. ครอบครัวมีสุข คือ การที่คุณพ่อและคุณแม่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และรวมถึงการมีทัศนคติ ความคิดเห็นในการเลี้ยงดูอบรม สั่งสอนลูกไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ขัดแย้งกัน หรือถ้ามีความขัดแย้งบ้างก็จะมีการพูดคุยกัน ตกลงกันให้เป็นทิศทางเดียวกันคือเป็นทีมเดียวกันนั่นเอง ผมขอยกตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงเป็นเรื่องที่ผู้ใหญ่ขัดกันเองในการวางกฎเกณฑ์ มีครอบครัวหนึ่งลูกอายุประมาณ 2-3 ขวบ ร้องไห้เพราะอยากเล่นลิปติกของแม่ คุณผู้หญิงทั้งหลายคงทราบดีว่าที่คุณแม่ไม่ยอมให้ลูกเล่นเพราะลิปติกจะหักเสียหาย แต่เวลาอยู่กับพ่อ พ่ออนุญาติให้ลูกเล่นได้หรือพ่อเห็นลูกร้องไห้ ก็ต่อว่าแม่ต่อหน้าลูกว่า "เรื่องแค่นี้เอง ก็ให้ลูกเล่นไปสิ" เด็กเองก็จะสับสน ไม่เข้าใจกฎเกณฑ์ว่าเรื่องนี้ควรทำหรือไม่ควรทำ ดังนั้นผู้ใหญ่จึงควรตกลงกันด้วยเหตุผลให้เรียบร้อยก่อน จะได้ควบคุมเด็กให้ไปในทิศทางเดียวกัน
  3. มีความรู้ความเข้าใจในพัฒนาการของลูก จะทำให้เราเข้าใจและปฏิบัติต่อลูกได้ถูกต้องและเหมาะสม ท่านผู้อ่านเชื่อหรือไม่ครับว่าพัฒนาการไม่ได้หยุดหรือหมดไปเมื่อพ้นวัยอนุบาล แต่มีต่อเนื่องโดยเฉพาะช่วงวัยรุ่นก็มีพัฒนาการของวัย และสำคัญมากด้วย น่าเสียดายที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนปฏิบัติต่อลูกที่เข้าวัยรุ่นแบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์เพราะคิดว่าลูกเหมือนก็เมื่อ2-3 ปีก่อน ยกตัวอย่างเช่น คุณพ่อคุณแม่บางคนอยากรู้เรื่องของลูกก็ใช้วิธีแอบฟังโทรศัพท์เวลาลูกคุยกับเพื่อน แอบเปิดค้นกระเป๋า แอบดูไดอารี่ สมุดบันทึกของลูก เกือบร้อยทั้งร้อยครับที่ลูกวัยรุ่นจะโกรธเป็นอย่างมาก เพราะไปกระทบกับพัฒนาการของวัยรุ่นที่สำคัญมากคือความเป็นส่วนตัว (Privacy) เห็นรึยังครับว่าถ้าคุณพ่อคุณแม่มีความรู้ความเข้าใจพัฒนาการของลูกจะช่วยให้เราปฏิบัติต่อเขาได้เหมาะสมอย่างไร
  4. คุณพ่อคุณแม่ควรมีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูลูกให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ตัวอย่างเช่นบางครอบครัว พ่อแม่ต้องทำงานทั้งคู่จึงจำเป็นต้องจ้างพี่เลี้ยงดูแลช่วงกลางวัน แต่คุณพ่อคุณแม่บางคนเลิกงานกลับมา บ้านแล้ว เหนี่อย กลางคืนก็ ฝากพี่เลี้ยงดูแลอีก
    ควรอยู่ใกล้ชิดลูกมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อย่างน้อยช่วงกลางคืนจะได้มีประสบการณ์ได้รับรู้ความรู้สึกของการตื่นมาให้นมลูกเวลาลูกร้องกลางคืน ได้โอบกอดและปลอบให้เขาหลับต่อ เมื่อได้รู้จักจะยิ่งรักและเข้าใจในตัวลูก
  5. สร้างเสริมความภาคภูมิใจในตัวเองหรือความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า (self esteem) ให้ลูก นั่นหมายถึงเมื่อลูกทำดีหรือประสบความสำเร็จ คุณพ่อคุณแม่ต้องชม เมื่อเขาท้อแท้ก็ให้กำลังใจ บางคนบอกว่าชมมากเดี๋ยวเหลิง ไม่ต้องกลัวครับ การชมอย่างถูกต้อง สมเหตสมุผลไม่มีผลเสียแน่นอน จะช่วยให้เด็กมีความภาคภูมิใจในตัวเองซึ่งมีค่าต่อเด็กมากครับ
  6. ให้อิสระและโอกาสในการตัดสินใจกับลูก จะช่วยให้ลูกมีความคิดสร้างสรร กล้าคิดกล้าทำ ไม่พยายามบังคับความคิดลูก (ถ้าเรื่องนั้นไม่ใช่เรื่องของกฎเกณฑ์ ระเบียบวินัยนะครับ)
  7. สอนลูกให้รู้จักรักและดูแลตนเองเช่นเดียวกันกับผู้อื่น ซึ่งข้อนี้ก็คือส่วนสำคัญข้อหนึ่งของ E.Q.ดังที่ได้คุยกันไปแล้ว ซึ่งรวมไปถึงการสอนลูกให้รู้สึกเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ผู้อื่นด้วย เช่นการที่คุณพ่อคุณแม่บางคนพาลูกไปให้ของเด็กพิการ ตามสถานสงเคราะห์ หรือให้ผู้สูงอายุที่บ้านพักคนชรา
  8. ส่งเสริมให้ลูกรู้จักคิดด้วยหลักการและเหตุผล โดยส่งเสริมทั้งในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันและเรื่องสำคัญๆ ด้วย ตัวอย่างถ้าลูกอยากจะซื้อของเล่น ของใช้ที่แพงๆ หรือเป็นของที่มีอยู่แล้วก็สอนให้ลูกรู้จักใช้หลักการและ้เหตุผลว่าควรซื้อหรือไม่ควรซื้อ เพราะอะไร
  9. สอนลูกให้รู้จักการผ่อนคลายและหาความสุขให้ตัวเองด้วย ข้อนี้ก็มีความสำคัญมากครับเพราะเด็กหลายคนที่เก่ง ประสบความสำเร็จในการเรียน กีฬา แต่ไม่มีความสุข เนื่องจากเครียดอยู่ตลอดเวลาในการที่จะรักษาความเก่งของตัวเองไว้ให้ได้ตลอดไปหรือให้เก่งมากขึ้นเพื่อเอาชนะคนอื่น
  10. เป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูก (modeling) คุณพ่อคุณแม่เป็นตัวอย่างให้ลูกทำสิ่งดีๆตามลูกจะเรียนรู้โดยอัตโนมัติแทบไม่ต้องพูดสอนเลย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือนิสัยรักการอ่าน ส่วนหนึ่งเกิดจากพ่อแม่เป็นแบบอย่าง เช่นอยู่บ้านว่างๆก็หยิบหนังสือมาอ่าน ชอบที่จะอ่านนิทานให้ลูกฟัง พูดคุยกับลูกถึงเรื่องในหนังสือที่อ่าน ไปเที่ยวห้างสรรพสินค้าก็มักแวะเข้าร้านหนังสือบ่อยๆ แบบนี้ลูกก็มักจะติดนิสัยรักการอ่านหนังสือไปโดยไม่รู้ตัว ผมมีอีกตัวอย่างหนึ่งคือการฝึกให้ลูกรู้จักช่วยเหลือตัวเองและรับผิดชอบเช่นหลังกินข้าวเสร็จ ถึงแม้ว่าจะมีคนงานที่บ้านก็ควรจะยกจานที่ทานเสร็จแล้ว ช่วยเขี่ยเศษอาหารใส่ถังขยะแล้ววางบนอ่างล้างจานในบ้าน (ให้คนงานล้างต่อไป) คุณพ่อคุณแม่ควรทำเป็นตัวอย่าง ลูกเห็นก็อยากทำตาม แล้วยังสอนการมีน้ำใจต่อคนงานอีกด้วย ท่านผู้อ่านลองนึกภาพนะครับว่าถ้าพ่อแม่ไม่ทำเป็นตัวอย่าง กินตรงไหนเสร็จแล้วก็ลุกออกไป ให้คนงานมาตามคอยเก็บ แต่สั่งให้ลูกทำลูกจะคิดอย่างไร
  11. กฎเกณฑ์ ระเบียบวินัย พบว่าเด็กที่ E.Q. ดี มักอยู่ในครอบครัวที่พ่อแม่ให้ความรักความเข้าใจ ในขณะเดียวกันก็สอนรู้ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร และควบคุมเรื่องของกฎเกณฑ์ระเบียบวินัยในลักษณะของทางสายกลางตามหลักพระพุทธศาสนา ไม่ควบคุมมากเกินไปหรือน้อยเกินไป เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญและมีรายละเอียดมากครับ เราคงจะได้คุยกันในครั้งต่อๆ ไป หัวข้อนี้รวมไปถึงการฝึกให้ลูกรู้จักรับผิดชอบ และช่วยเหลือตัวเองตามวัย ซึ่งหัวข้อนี้เราเคยพูดคุยกันไปแล้ว

    นอกจาก 11 วิธีนี้แล้ว ท่านผู้อ่านทราบไหมครับ มีอีกสิ่งหนึ่งซึ่งสำคัญมากต่อ E.Q. ของลูก มีอิทธิพลต่อเด็กมาก แต่เรามักไม่ค่อยนึกถึง ทราบไหมครับว่าคืออะไร ระบบการศึกษาไงครับ
     
  12. ระบบการศึกษา เราคงเคยได้ยินคำพูดที่ว่าการศึกษาสร้างคน เห็นด้วยใช่ไหมครับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากและมีผลต่อ E.Q. ของลูกด้วย จะมีประโยชน์มากครับหากเราจะทำความเข้าใจกับระบบการศึกษาและกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก คงจะมีโอกาสได้พูดคุยเรื่องนี้กันต่อไปครับ

ที่มา : นพ.กมล แสงทองศรีกมล
กุมารแพทย์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น

ลูกกับภาษาที่ 2..3...4

ว่ากันว่า ในปัจจุบันการเรียนรู้แค่ภาษาไทยเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอต่อลูกน้อย ที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ในโลกโลกาภิวัตน์ใบนี้เสียแล้ว ความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ภาษาที่ 2 และ 3 จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่จะเรียนอย่างไรให้เข้าใจ ให้เกิดการพัฒนา เกิดการเรียนรู้ และตัวลูกน้อยเองก็มีความสุข ที่สำคัญจะเริ่มเรียนรู้กันได้ตั้งแต่วัยไหนและควรเริ่มต้นอย่างไร
เอ๊ะ แล้วภาษาไทยของเราล่ะ จะมองข้ามไปเลยดีไหม ในเมื่อเทรนด์ใหม่ๆ มาแรงเหลือเกิน ?

อังกฤษ...ภาษาที่ 2 ยอดฮิต
คุณครูสมศรี ธรรมสารโภณ อาจารย์พิเศษสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์ศูนย์ภาษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเจ้าของโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษคุณครูสมศรี เล่าให้ฟังว่า
"ความจริงสถานการณ์ภาษาอังกฤษในประเทศไทย จะเรียกว่าเป็นภาษาที่ 2 คงไม่ถูกนัก เพราะไม่ได้มีการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่จะจบลงที่ห้องเรียนเท่านั้น ฉะนั้นเด็กไทยจึงไม่เก่งในเรื่องของภาษาอังกฤษเท่าใดนัก ซึ่งเด็กที่เก่งภาษาอังกฤษในสมัยนี้ มักจะเรียนรู้ด้วยตนเองเสียส่วนใหญ่ ฉะนั้นถ้าคุณพ่อคุณแม่ต้องการที่จะให้เด็กเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้เข้าใจ และมีประสิทธิภาพ คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการสอนก่อนค่ะ
สำหรับวัยที่เด็กสามารถเริ่มต้นเรียนภาษาอังกฤษได้นั้น เริ่มได้ทุกวัย ไม่จำเป็นต้องรอให้โต เพราะภาษา คือทักษะ ที่เน้นการฝึกใช้เพื่อให้เกิดความชำนาญ จะต่างกันเพียงแค่ต้องจัดสิ่งแวดล้อในการเรียนรู้ และเทคนิคการนำเสนอเพื่อให้เหมาะกับเด็กในแต่ละวัย ซึ่งวิธีการเรียนการสอนจะแบ่งเป็น 2 วิธีด้วยกัน คือ การเรียนรู้แบบ Acquisition หรือ การเรียนรู้แบบธรรมชาติ และการเรียนรู้แบบ learning
การเรียนรู้แบบ Acquisition หรือเรียนรู้แบบธรรมชาติ จะ ต้องจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมด้วย คือ ปกติเวลาคุณแม่จะป้อนอาหารเด็ก เราจะใช้คำพูดว่า หม่ำๆๆ เมื่อพูดสัก 10 ครั้งเด็กก็จะเข้าใจแล้วว่า หม่ำๆ คืออะไร ไม่ต้องอธิบาย การที่จะสอนเด็กพูดภาษาอังกฤษก็เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ถ้าคุณพ่อคุณแม่ป้อนนมเขาไปเรื่อยๆ แล้วบอกว่า drink milk เป็นประจำ เด็กก็รู้แล้วว่า คำว่า drink milk หมายความถึงอะไร วิธีการนี้เป็นเหมือนการเชื่อมโยงการกระทำทุกอย่างให้เด็กเห็นแล้ว พยายามพูดภาษาอังกฤษประกอบ
ส่วนการเรียนรู้แบบที่ 2 คือ learning ถือเป็นการเรียนรู้ในชั้นเรียน ซึ่ง การเรียนรู้แบบนี้เด็กจะทำข้อสอบเก่ง เพราะมีคนป้อนให้ แต่เด็กจะจำแต่ตัวทฤษฎีเท่านั้น พอถึงเวลานำไปใช้จะใช้ไม่ถูก เพราะการเรียนการสอนจะจบลงแค่ในห้องเรียน จากนั้นเด็กก็จะขาดแรงจูงใจในการนำภาษาอังกฤษไปใช้ในชีวิตประจำวัน คุณพ่อคุณแม่ควรจะสอนเด็กให้รู้สึกว่า การเรียนคือ การเล่น
นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องวางเป้าหมายและจุดประสงค์เอาไว้ด้วยว่าจะสอนอะไร คำศัพท์ เสียง และโครงสร้าง จะต้องสัมพันธ์กัน เช่น ถ้าต้องการให้ลูกใช้ประโยคสั้นๆ ต้องมีการย้ำบ่อยๆ จะทำให้เกิดทักษะความชำนาญ (Fluency) ได้ แต่ถ้าต้องการให้ออกเสียงได้ถูกต้อง ก็ต้องเชื่อมโยงคำที่เขาพูดได้ เช่น milk เยอะๆ คำว่า bath ถ้าเด็กพูดไม่ได้ก็ให้ออกเสียงที่คล้ายคลึงโดยเด็กอาจจะออกเสียงเป็น บาท ก็ได้
อย่างไรก็ตามคุณพ่อคุณแม่ก็สามารถสอนเป็นประโยคเลยก็ได้ ใช้วิธีพูดภาษาไทยกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษไปพร้อมกัน โดยอาจจะผูกประโยคให้มีความหมาย เช่น ถ้าอยากตัวหอม ต้อง I take a bath นะคะ เป็นต้น เมื่อเด็กเริ่มที่จะโตขึ้น ก็ควรจะปรับประโยคให้ซับซ้อน และเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเขา

สอนให้เด็กกล้า เพื่อพัฒนาการทางภาษา
"ความกล้าในการแสดงออก กับการพัฒนาการใช้ภาษามีความสัมพันธ์กัน ฉะนั้นการสอนเด็กจะต้องเสริมแรงบวก (Positive Reinforcement) เข้าไปด้วย มีการชม ให้รางวัล เมื่อเด็กพูดผิดก็ค่อยแก้ไข อย่าดุด่าว่ากล่าว เพราะต้องพยายามทำให้เด็กเกิดความสนใจในการใช้ภาษาก่อน แล้วจึงค่อยพัฒนาไปสู่การแก้ไขให้เกิดความถูกต้อง (accuracy) ฉะนั้นแล้ว คุณพ่อคุณแม่ห้ามท้อแท้นะคะ ถ้าลูกปฏิเสธ แต่ก็อย่าพยายามยัดเยียดให้ลูก
ถ้าเป็นไปได้คุณพ่อคุณแม่ต้องพยายามมีอารมณ์ขัน จึงจะถ่ายโอนภาษาได้อย่างสดใสและน่าเรียน ด้วยการสอนเด็กๆ ประกอบกับการ์ตูน หรือว่านิทานที่เด็กชอบ พร้อมกับสอดแทรกคำภาษาอังกฤษไปด้วย ถ้าจะให้ดีขึ้นไปอีกให้เลียนเสียงเหมือนในการ์ตูนที่เด็กชอบไปเลย เด็กจะได้รู้สึกสนุกไปกับการเรียน ไม่รู้สึกว่าการเรียนเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ

ภาษาจีน...เทรนด์ใหม่มาแรงสุดๆ
อ.สุขสันต์ วิเวกเมธากร เจ้าของโรงเรียนสอนภาษาจีนสุข สันต์วิทยา และผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและวัฒนธรรมจีน เจ้าของนามปากกาเล่าชวนหัวบอกเล่ารายละเอียดที่น่าสนใจของเทรนด์ใหม่ที่ไม่ธรรมดานี้ให้เราฟังว่า...
ทำไมภาษาจีนจึงน่าสนใจ
"ภาษาจีนถือเป็นภาษาที่น่าเรียน เพราะเป็นภาษาที่มีคนใช้มากที่สุดของโลก ดังนั้นในเมื่อเราจำเป็นต้องรู้จักเขา ต้องติดต่อกับเขา ถ้าเราอ่านเขียนภาษาจีนได้ เราจะมีแต่ได้เปรียบ เราไม่ได้เสียเปรียบอะไรเลย แม้กระทั่งเสียงนก เสียงกานะ ถ้าเราฟังออกว่ามันร้องว่าอะไร ถามว่าเราได้เปรียบไหม เราได้กำไรชีวิตไหม แน่นอนว่าเราได้ โดยเฉพาะถ้าเราแปลความหมายออกว่านกมาแบบนี้คือ หมายถึงกำลังมีพายุ ก็ทำให้เรารู้มากขึ้น เข้าใจอะไรมากขึ้น
ถามว่าจำเป็นหรือไม่ ที่เด็กจะต้องเรียนภาษาจีนเป็นภาษาที่ 2 หรือ 3 ผมอยากใช้คำว่าจำเป็น เพราะเด็กเกิดมาในสังคม ต้องพูดภาษาของสังคมให้ได้ อีกอย่าง ปัจจุบันโลกมันโลกาภิวัตน์ ถ้าคุณมีความจำเป็นต้องเลือกมากกว่าหนึ่งภาษา จากสังคมที่คุณมี ผมว่า ก็เป็นเรื่องที่เหมาะสม แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องดูด้วยว่าภาษาอะไร ก็อยู่ที่คุณว่าจะวางเป้าหมายให้ลูกอย่างไรบ้าง และเด็กเหมาะกับสิ่งนั้นหรือไม่ด้วย

ภาษาที่ 2... “จีน” หรืออังกฤษดี
"ปัจจุบัน มีคนใช้ภาษาจีน 1,300 ล้านคน จาก 6,000 กว่าล้านคนทั่วโลก ทุกๆ 5 คนของโลกนี้เป็นชาวจีนหนึ่งคน ดังนั้นที่หลายคนเข้าใจว่าภาษาที่ใช้มากที่สุดคือภาษาอังกฤษ ไม่น่าจะเป็นความจริง น่าจะเป็นภาษาจีนมากกว่า เพราะคนในประเทศ 1,300 ล้านคนก็พูดภาษาจีนอยู่แล้ว
เมื่อนึกถึงคนอเมริกันกับคนอังกฤษที่พูดอังกฤษเป็นหลัก แถมออสเตรเลียกับนิวซีแลนด์ด้วย ก็มีแค่ประมาณ 300 กว่าล้านคน สัดส่วนต่างกันหลายเท่านัก อีกทั้งสมัยนี้คนอเมริกันก็เรียนภาษาจีน เป็นภาษาที่สองแทนภาษาสเปน ที่ประเทศออสเตรเลีย คนก็เรียนภาษาจีนเป็นภาษาที่สองแทนอิตาลี ส่วนฝรั่งเศส คนในประเทศเลือกเรียนภาษาจีนมากขึ้น เมื่อเทียบดูแล้วคนที่เรียนภาษาอังกฤษเริ่มมีจำนวนน้อยลง
ที่ผมแนะนำภาษาจีนไม่ใช่ว่าผมสอนภาษาจีนแล้วมาแนะนำกัน แต่ภาษาอังกฤษใครๆ ก็เรียน ปัจจุบันคนที่จบปริญญาโทจากอังกฤษ อเมริกา ออกสู่ตลาดแรงงานมากมาย แต่ถามว่ามีสักกี่คนที่จบมาจากประเทศจีน ผมว่าอันนี้มันก็น่าคิด ฉะนั้น ผมจึงอยากย้ำว่า คนที่เรียนภาษาจีน หรือจบจากประเทศจีนมา ได้เปรียบอย่างแน่นอน”

ก่อนอื่นใด “ภาษาไทย” ต้องแข็งแรง
อาจารย์สิริมา เชียงเชาว์ไว (อาจารย์ โด้ง) อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาภาษาไทย คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต บอกเล่าวิธีการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับเด็กอย่างน่าสนใจดังนี้
สอนลูกอ่าน-เขียนไทยให้ถูกต้อง
"วิธีการสอนที่ดีที่สุดคือ การทำให้ลูกเห็นเป็นตัวอย่าง คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นต้นแบบที่ดีให้กับเขา โดยที่ตัวของคุณพ่อคุณแม่เองจะต้องเป็นคนที่มีนิสัยรักการอ่าน และควรจะหากิจกรรมการอ่านหนังสือร่วมกับลูก เพื่อคอยชี้แนะแนวทางไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเนื้อหาและภาษาที่เหมาะสมกับเด็ก แต่ทั้งนี้ด้วยความที่หนังสือทุกเล่มไม่ได้ใช้ภาษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม เสมอไป คุณพ่อคุณแม่จึงต้องระมัดระวังในการเลือกหนังสือให้ลูกสักนิด
ส่วนถ้าลูกอ่านหรือเขียนผิด คุณพ่อคุณแม่ควรรีบแก้ไขทันที และต้องใช้วิธีการบอกที่นุ่มนวลและมีเหตุผล สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ไม่แน่ใจว่าคำๆ นั้นสะกดอย่างไร มีความหมายและการใช้อย่างไร อย่าพยายามเดาสุ่มบอกเด็ก เพราะเด็กจะจดจำทันที ดังนั้นจึงควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนจึงจะบอกได้”
ปลูกฝังให้ลูกรักภาษาไทย
"การที่จะทำให้เด็ก “รัก” ในสิ่งใดนั้น จะต้องทำเด็กตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าในสิ่งนั้นก่อน โดยที่คุณพ่อคุณแม่ควรปลูกฝังลูกว่า “ภาษาไทย” เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นไทย เป็นสิ่งที่ปู่ย่าตายายของเราสร้างขึ้นให้ลูกหลานภาษาไทยเป็นสมบัติของคนไทย ทุกคน และเป็นสมบัติของหนูด้วย ทำให้เด็กรู้สึกว่าตัวเขาเองเป็นเจ้าของสิ่งๆ นั้น เขาจะต้องรักและดูแลรับผิดชอบให้ดีที่สุด”
เด็กกับ คำสุภาพ คำหยาบคาย และคำสแลง
"ถ้าลูกพูดคำหยาบคายหรือพูดในสิ่งที่ไม่ควรพูด คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรดุหรือทำโทษ เพราะเด็กจะตกใจและไม่เข้าใจว่าเขาทำผิดอะไร ในเมื่อผู้ใหญ่บางคน หรือตัวละครในโทรทัศน์ยังสามารถพูดคำๆ นั้นได้ ทางที่คุณพ่อคุณแม่ควรจะอธิบายให้ลูกฟังว่าคำๆ นั้นเป็นคำที่ไม่สุภาพ เมื่อลูกพูดไปแล้ว คนฟังจะมองว่าลูกเป็นเด็กไม่ดี ยิ่งไปกว่านั้นเขาก็จะมองว่าพ่อกับแม่ไม่ดีด้วยที่ไม่ได้สอนลูก ลูกคงไม่อยากให้ใครมองว่าลูกเป็นเด็กไม่ดีและมองว่าพ่อกับแม่ไม่ดีใช่ไหมคะ
ถ้าลูกสงสัยหรือไม่แน่ใจว่าคำไหนควรจะพูดหรือไม่ควรพูด ให้มาถามพ่อกับแม่ได้ตลอดเวลา พ่อกับแม่ยินดีที่จะตอบคำถามของลูกเสมอ พ่อกับแม่ภูมิใจในตัวลูกมากที่ลูกเป็นเด็กดีและพูดจาสุภาพไพเราะกับทุกคน
ส่วนคำสแลงที่ปรากฏอยู่ตามสื่อต่างๆ และในสังคมตอนนี้ก็จะมีผลกระทบกับเด็กเช่นเดียวกัน ในแง่ของการจดจำและการนำไปใช้ ซึ่งคำบางคำอาจจะไม่สุภาพและไม่เหมาะสม แต่อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงแล้ว เราห้ามเด็ก ไม่ให้รับรู้คำศัพท์เหล่านี้ไม่ได้ เนื่องจากในสังคมปัจจุบันนี้สื่อต่างๆ มีอิทธิพลอย่างมาก ทางที่ดีที่สุดคือ ต้องคอยชี้แนะและอธิบายเหตุผลให้เด็กฟัง อย่างชัดเจนและนุ่มนวลน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดค่ะ”
 
แหล่งที่มาของข้อมูล
 นิตยสารบันทึกคุณแม่ ปีที่ 10 เมษายน 2547
 

การดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ

ดร.ไพรัช สู่แสนสุข
ดร.บรรเจอดพร สู่แสนสุข
โรงเรียนวิถีพุทธ

คือ โรงเรียนระบบปกติทั่วไปที่นำหลักธรรมพระพุทธศาสนามาใช้ หรือประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเด็กโดย เน้นกรอบการพัฒนาตามหลักไตรสิกขา อย่างบูรณาการ

รูปแบบโรงเรียนวิถีพุทธ จุดเน้น โรงเรียนวิถีพุทธดำเนินการพัฒนาผู้เรียนโดยใช้หลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา พัฒนาควบคู่ไปทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญาอย่างบูรณาการ เด็กได้เรียนรู้ผ่านการพัฒนา “การกิน อยู่ ดู ฟัง เป็น ” คือ มีปัญญารู้เข้าใจในทางคุณค่าแท้ ใช้กระบวนการทางวัฒนธรรมแสวงปัญญา และมีวัฒนธรรมเมตตา เป็นฐานการดำเนินชีวิตโดยมีผู้บริหารและคณะครูเป็นกัลยาณมิตรการพัฒนา ลักษณะโรงเรียนวิถีพุทธ เน้นการจัดสภาพทุก ๆ ด้าน เพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียน พัฒนาตามหลักพุทธธรรมอย่างบูรณาการที่ส่งเสริมให้เกิดความเจริญงอกงามตาม ลักษณะแห่งปัญญาวุฒิธรรม ๔ ประการ คือ
๑. สัปปุริสสังเสวะ หมายถึงการอยู่ใกล้คนดี ใกล้ผู้รู้ มีครู อาจารย์ดี มีข้อมูล มีสื่อที่ดี
๒. สัทธัมมัสสวนะ หมายถึง เอาใจใส่ศึกษาโดยมีหลักสูตร การเรียนการสอนที่ดี
๓. โยนิโสมนสิการ หมายถึง มีกระบวนการคิดวิเคราะห์พิจารณาหาเหตุผลที่ดีและถูกวิธี
๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ หมายถึง ความสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตได้ถูกต้องเหมาะสม
ห้องเรียน แหล่งเรียนรู้ สภาพแวดล้อม เป็นต้น ด้านกิจกรรมพื้นฐานวิถีชีวิต เช่น กิจกรรมประจำวัน กิจกรรมวันสำคัญ กิจกรรมนักเรียนต่าง ๆ ด้านการเรียนการสอน เริ่มตั้งแต่การกำหนดหลักสูตรสถานศึกษา การจัดหน่วยการเรียน แผนการจัดการเรียนรู้ จนถึงกระบวนการเรียนการสอน ด้านบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์ในการปฏิบัติต่อกันระหว่างครูกับนักเรียน นักเรียนกับนักเรียน หรือครูกับครู การจัดสภาพแวดล้อมในแต่ละด้านจะมุ่งเพื่อให้การพัฒนานักเรียนตามระบบ ไตรสิกขา ดำเนินได้อย่างชัดเจนมีประสิทธิภาพ ดังเช่น

การจัดสภาพของโรงเรียนวิถีพุทธ ประกอบด้วย ด้านกายภาพ คือ อาคารสถานที่ต้องใก้ลชิดธรรมชาติ ต้นไม้ใบหญ้า สภาพชวนให้มีจิตใจสงบ ส่งเสริมปัญญา กระตุ้นการพัฒนาศรัทธา และศีลธรรม กิจกรรมพื้นฐานวิถีชีวิต กระตุ้นให้การกิน อยู่ ดู ฟัง ดำเนินด้วยสติสัมปชัญญะในการรับรู้ที่ผ่านเข้ามาทาง หู ตา จมูก ลิ้น และนำมาวิเคราะห์ได้

ด้านการเรียนการสอน ครูต้องเข้าใจว่าพื้นฐานการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกันการสอนจึงอาจ แตกต่างกัน มีการบูรณาการพุทธธรรมในการจัดการเรียนรู้ชัดเจนเป็นรูปธรรมที่เด็กเข้าใจ ได้ง่าย เช่น การเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง อาจเปรียบเทียบกับใบไม้แรกผลิจนเหี่ยวแห้งไป

ด้านบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์ เอื้ออาทร เป็นกัลยาณมิตรต่อกัน ส่งเสริมทั้งวัฒนธรรมเมตตา และวัฒนธรรมแสวงปัญญา เป็นต้น

ลักษณะการเกื้อกูลสัมพันธ์ โรงเรียนวิถีพุทธและชุมชน

จะมีลักษณะของการร่วมมือ ทั้งสถานศึกษา บ้าน วัด และสถาบันต่างๆในชุมชน ด้วยศรัทธาและฉันทะ ที่จะพัฒนาทั้งนักเรียน และสังคม ตามวิถีแห่งพุทธธรรม เพื่อประโยชน์สุขร่วมกัน และเรียนรู้รากเหง้าวัฒนะธรรมอันดีงามของไทยอีกด้วย
การพัฒนาบุคลากรและคุณลักษณะบุคลากร
การพัฒนาโรงเรียนวิถีพุทธแม้จะยึดเด็กเป็นสำคัญ แต่บุคลากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารและครู มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะเป็นปัจจัย ให้ผู้เรียนพัฒนาได้อย่างดี ทั้งการเป็นผู้จัดการเรียนรู้ และการเป็นแบบอย่างที่ดีในวิถีชีวิตจริง ในลักษณะ สอนให้รู้ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น การพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษามีความจำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องหลาก หลายวิธีการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้เพื่อให้บุคลากรมีคุณลักษณะที่ดีตามวิถีพุทธ เช่น ศรัทธาในพระพุทธศาสนา และพัฒนาตนให้ดำเนินชีวิตที่ดีงาม ละ เลิกอบายมุข การถือศีล 5 เป็นนิจ ความเป็นกัลยาณมิตรต่อศิษย์ และการเป็นแบบอย่างที่ดี เป็นต้น

ก้าวย่างที่งดงามของโรงเรียนวิถีพุทธ เป็นอีกความหวังที่ยิ่งใหญ่ของผู้ปกครองและชุมชนในอันที่จะสานฝันให้เด็กและ เยาวชนเติบโตอย่างมีคุณธรรม มีความรู้เท่าทันโลกที่เปลี่ยนแปลง เป็นพลังยิ่งใหญ่ที่ช่วยสร้างสังคมที่ดี สงบและสันติ

ดังคำกล่าวของพระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตโต) ที่ว่า “…โรงเรียน วิถีพุทธจะเดินหน้าต่อไปอย่างมีพลัง ในการที่จะสร้างสรรค์อนาคตของชุมชน สังคม ประเทศชาติ และโลกทั้งหมด ให้เป็นวิถีแห่งสันติสุขที่ยั่งยืนสืบไป ”

หลักสูตรการสอนแบบวอลดอร์ฟ

waldorf
  การศึกษาในโรงเรียนวอลดอร์ฟ มิใช่เป็นเรื่องของระบบวิธีการสอน หากแต่เป็นเรื่องของศิลปะ ศิลปะแห่งการปลุกสิ่งที่ดำรงอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคนให้ตื่นขึ้นมา ฉะนั้น โรงเรียนวอลดอร์ฟ มิได้มุ่งหมายจะให้การอบรมสั่งสอน หากแต่มุ่งหมายจะปลุก โดยแรกสุดจะต้องปลุกครูขึ้นเสียก่อน จากนั้นครูจะต้องปลุกนักเรียนและอนุชนทั้งหลายอีกต่อหนึ่ง

ข้างต้นคือคำกล่าวของ รูดอล์ฟ สไตเนอร์ นักปรัชญาและนักการศึกษาชาวออสเตรีย ผู้ให้กำเนิดปรัชญาการศึกษาวอลดอร์ฟ และก่อตั้งโรงเรียนวอลดอร์ฟแห่งแรกขึ้นที่ประเทศเยอรมนี โดยมุ่งหมายให้เด็กได้รับการพัฒนาอย่างสมดุลครบถ้วนทั้งร่างกาย จิตใจ และปัญญา เพื่อเติบโตขึ้นมาเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ซึ่งต่อมาได้กลายต้นแบบของเครือข่ายโรงเรียนวอลดอร์ฟจำนวนนับพันแห่งใน 50 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทยคือ ศูนย์การเรียนปัญโญทัย ของ นพ.พร พันธุ์โอสถ

บ่มเพาะความเป็นมนุษย์ ปลุกศักยภาพในตัวเด็ก

โรงเรียนวอลดอร์ฟแห่งแรกถือกำเนิดขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นช่วงที่ชาวเยอรมันรู้สึกเจ็บปวดกับสงครามที่เพิ่งผ่านไป นักคิดและปัญญาชนจำนวนไม่น้อย ต่างมุ่งแสวงหาแนวทางที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม ขจัดความโหดร้ายทารุณต่อมนุษยชาติให้หมดสิ้นไป หนึ่งในนั้นคือนักอุตสาหกรรมหัวก้าวหน้านาม เอมิล มอลต์ เจ้าของโรงงานยาสูบวอลดอร์ฟ แอสโทเรีย ในเมืองสตุทการ์ด ในเดือนเมษายน ปี ค.ศ.1919 เอมิลได้เชิญ รูดอล์ฟ สไตเนอร์ นักปรัชญาที่มีชื่อเสียงขณะนั้นมาบรรยายให้คนงานที่โรงงานยาสูบฟัง ปรากฏว่าเอมิลรู้สึกประทับใจในสิ่งที่สไตเนอร์พูดเกี่ยวกับการสร้างสังคม ใหม่ จึงร้องขอให้สไตเนอร์ช่วยเปิดโรงเรียนขึ้นตามปรัชญาของเขา เพื่อเป็นสถานศึกษาสำหรับลูกหลานคนงานในโรงงาน

สไตนอร์ตอบกลับเอมิลไปว่า เขายินดีจะเปิดโรงเรียนตามคำร้องขอ ถ้าเอมิลยอมรับเงื่อนไข 4 ข้อของเขาได้ นั่นคือ

1.เป็นโรงเรียนที่เปิดกว้างสำหรับเด็กทุกคน
2.เป็นโรงเรียนสหที่เปิดรับเด็กชายหญิงเรียนร่วมกัน
3.เป็นโรงเรียนที่จัดการศึกษาต่อเนื่อง 12 ปี และ
4.ครูและบุคลากรของโรงเรียนต้องอยู่ภายใต้ความดูแลของโรงเรียน จะต้องไม่มีการแทรกแซงจากรัฐหรือแม้แต่นายทุนผู้ให้การสนับสนุนโรงเรียน (เอมิลนั่นเอง)

ผลปรากฏว่าเอมิลยอมรับเงื่อนไขดังกล่าว โรงเรียนวอลดอร์ฟแห่งแรกจึงเกิดขึ้น และเปิดประตูรับเด็กนักเรียนในวันที่ 7 กันยายน ค.ศ.1919

โรงเรียนวอลดอร์ฟดำเนินการตามแนวปรัชญาของสไตเนอร์ที่ว่า การ ศึกษาไม่ใช่เรื่องของการสอนหนังสือหรือการให้ข้อมูลความรู้แก่เด็ก แต่คือการบ่มเพาะความเป็นมนุษย์และปลุกความสามารถที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวเด็ก ให้ปรากฏออกมา เพื่อช่วยให้เด็กบรรลุศักยภาพสูงสุดในตัวเอง เติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่สร้างสรรค์ มีอิสระทางปัญญา รู้จักตนเอง รู้จักโลก และสามารถกำหนดแนวทางชีวิตของตนได้อย่างอิสระตามศักยภาพที่มี ซึ่งมนุษย์จะบรรลุศักยภาพสูงสุดของตนได้นั้น ต้องสัมผัสหรือค้นพบส่วนต่างๆ ในตนเองก่อน ดังนั้น การศึกษาวอลดอร์ฟจึงเน้นศึกษาเรื่องมนุษย์และความเชื่อมโยงของมนุษย์กับโลก และจักรวาล เพื่อให้มนุษย์รู้จักจุดยืนที่สมดุลของตนในโลก

สอนตามพัฒนาการ

สไตเนอร์แบ่งพัฒนาการของมนุษย์ช่วงวัยศึกษาเรียนรู้ในระบบการศึกษาคือ ตั้งแต่แรกเกิดถึง 21 ปี ออกเป็น 3 ช่วง ช่วงละ 7 ปี ดังนี้

แรกเกิด-7 ปี    : เรียนรู้ด้วยการกระทำ ดังนั้น การสอนต้องเน้นให้เด็กมุ่งมั่นตั้งใจกับการกระทำความดี

7-14 ปี            : เรียนรู้จากความประทับใจ ดังนั้น การสอนต้องเน้นให้เด็กรู้สึกถึงความงาม

14 -21 ปี          : เรียนรู้จากการคิด ดังนั้น การสอนต้องเน้นให้เด็กคิด จนเกิดปัญญา เห็นสัจธรรมและความจริงในโลก

แม้ว่าพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยจะแตกต่างกัน แต่การจัดการศึกษาในทุกช่วงวัยตามปรัชญาวอลดอร์ฟจะมีจุดร่วมที่เหมือนกันคือ ต้องพัฒนาร่างกายและจิตวิญญาณควบคู่กันไป โดยให้เกิดความสมดุลในการเรียนรู้ด้วยกาย (การลงมือทำ) หัวใจ (ความรู้สึก ความประทับใจ) และสมอง (ความคิด)

เด็กทุกคนมี  'เวลา'  ของตัวเอง

สไตเนอร์เชื่อว่ากระบวนการเรียนรู้ในวัยเด็กนั้นแตกต่างจากผู้ใหญ่ เพราะเด็กมีทัศนะและวิธีการมองโลกที่ต่างออกไป หากครูหรือนักการศึกษาละเลยความสำคัญของสิ่งนี้ แล้วแทนที่ด้วยการใช้ทัศนะแบบผู้ใหญ่ อันเป็นทัศนะที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ทางเชาว์ปัญญา จะส่งผลเสียต่อความสามารถในการพัฒนาตนเองขึ้นมาเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้

ด้วยแนวคิดดังกล่าว ทำให้เด็กนักเรียนในโรงเรียนวอลดอร์ฟอ่านหนังสือออกช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน ในโรงเรียนอื่นๆ นั่นเพราะโรงเรียนวอลดอร์ฟจะไม่เร่งรัดให้เด็กอ่าน เพราะเชื่อว่าเด็กแต่ละคนมีช่วงเวลาที่เหมาะสมของตนเอง ถ้าเด็กได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี เอื้อต่อการเรียนรู้ มองเห็นหนังสืออยู่รายรอบตัว และมีประสบการณ์ที่ครูหรือผู้ปกครองอ่านหนังสือนิทานให้ฟังเป็นประจำ เมื่อถึงเวลาที่กำหนดอยู่ภายใน เด็กจะหยิบหนังสือขึ้นมาอ่านเอง ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้เด็กพัฒนาการอ่านได้ดี และมีนิสัยรักการอ่าน

ทั้งนี้ พบว่าเด็กที่อ่านออกได้ช้ากว่าเพื่อนๆ แล้วรู้สึกวิตกกังวลหรือเกิดปมด้อยนั้น ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากความคาดหวังของพ่อแม่ผู้ปกครองที่ต้องการให้ลูกของตน อ่านหนังสือออกเร็วๆ เมื่อเห็นว่าลูกยังอ่านไม่ได้ ขณะที่เด็กวัยเดียวกันคนอื่นๆ เช่น ลูกของเพื่อนบ้าน ลูกของญาติพี่น้อง หรือเพื่อนร่วมชั้นของลูก อ่านกันได้แล้ว พ่อแม่จะเริ่มวิตกกังวล หวั่นเกรงว่าลูกจะผิดปกติ และความหวั่นวิตกของพ่อแม่นี่เองที่จะถ่ายทอดไปสู่ลูก ฉะนั้น เป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่จะต้องเข้าใจ ยอมรับ และรอเวลาที่เด็กพร้อมจะอ่าน

สุนทรียะ ศิลปะ และจินตนาการ

วอลดอร์ฟให้ความสำคัญกับสุนทรียภาพ ศิลปะ และจินตนาการ โดยมองว่าสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเรียนรู้ พัฒนาการ และความเจริญงอกงามในจิตใจของเด็ก การจัดสภาพแวดล้อมและอาคารสถานที่ในโรงเรียนจึงมุ่งเน้นความเป็นธรรมชาติ รายล้อมด้วยต้นไม้ ดอกไม้ ผืนหญ้า และสายน้ำ มีแสงจากธรรมชาติสอดส่องเข้ามาในห้องหรืออาคารเรียนอย่างพอเหมาะ ไม่จ้าหรือมืดทึมจนเกินไป เพราะแสงจ้ามากๆ ทำให้เกิดความร้อนและเด็กจะขาดสมาธิ ครูอาจใช้ผ้าม่านมาช่วยกรองแสงให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะ บรรยากาศเงียบสงบ ไม่มีเสียงดังรบกวน อาจมีเพียงเสียงแผ่วๆ จากธรรมชาติ เช่น เสียงนกร้อง ลมพัด ฝนตก หรือเสียงดนตรีและเพลงที่ไพเราะอ่อนโยน สไตเนอร์เชื่อว่าสภาพแวดล้อมเช่นนี้จะเอื้อต่อการเรียนรู้ ช่วยให้เด็กรู้สึกสงบ มีสมาธิ และเรียนรู้ได้ดีทั้งโลกภายนอกและโลกที่อยู่ภายในตนเอง

จุดเน้นสำคัญประการหนึ่งของการศึกษาวอลดอร์ฟ คือ การกระตุ้นให้เด็กเกิดการพัฒนาด้วยจินตนาการของตนเอง ถ้าครูจะเล่าเทพนิยายให้เด็กปฐมวัย ครูจะเล่าปากเปล่า เพราะภาษาพูดของครูจะกระตุ้นให้เด็กสร้างจินตนาการภายในใจของแต่ละคน บางครั้งครูอาจเล่นนิ้วมือหรือหุ่นง่ายๆ ประกอบการเล่า แต่จะไม่ใช้สื่อมากเกินไป เพราะจะไปจำกัดจินตนาการของเด็ก รวมทั้งไม่ควรเปิดเทปนิทานแทนการเล่าปากเปล่า เพราะภาษาจากสื่อวิทยุเป็นภาษาที่ไม่มีชีวิต และไม่สามารถส่งพลังสั่นสะเทือน เข้าไปกระตุ้นการตอบสนองที่ละเอียดอ่อนภายในของเด็กได้ดีเท่าภาษาพูดจากครู ที่อยู่ตรงหน้า

ด้วยเหตุนี้โรงเรียนวอลดอร์ฟจึงไม่สนับสนุนการเรียนรู้ผ่านสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัยและประถมศึกษา เพราะเชื่อว่าสื่อเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ วิดีโอ และวิทยุ จะไปปิดกั้นจินตนาการของเด็ก ยังไม่นับรวมว่าบางรายการในสื่อเหล่านี้อาจมีเนื้อหาไม่เหมาะสมกับเด็กอีก ด้วย

อีกเอกลักษณ์หนึ่งของโรงเรียนวอลดอร์ฟคือ " ยูริธมี (Eurythmy) " ศิลปะการเคลื่อนไหวร่างกายที่สไตเนอร์พัฒนาขึ้น เป็นการเคลื่อนไหวร่างกายร่วมกับดนตรีและการพูด ยูริธมีจึงมีอีกชื่อว่า "เสียงพูดหรือดนตรีที่มองเห็นได้" สไตเนอร์ ชี้ว่าการฝึกยูริธมีจะช่วยจัดระเบียบและความกลมกลืนทั้งกายและจิตระดับต่างๆ ตัวอย่างเช่น ยูริธมีสำหรับเด็กปฐมวัยมักเป็นคำกลอนที่ผูกเป็นนิทานหรือเรื่องเล่าสั้นๆ ที่ให้เด็กทำท่าประกอบ ท่าทางที่ออกแบบมานั้นจะมีความสมดุลเปรียบเสมือนกับมีท่าที่เป็นลมหายใจเข้า และลมหายใจออก การเรียนยูริธมีจะทำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยมีครูพิเศษที่ผ่านการฝึกหัดมาโดยเฉพาะเป็นผู้สอน

นอกจากนี้ยังมีการเรียนการสอนอื่นๆ อีกมากที่เป็นศิลปะ สร้างสุนทรียะและจินตนาการ เช่น การทำงานฝีมือ ที่ฝึกความอุตสาหะ สมาธิ ความละเอียดปราณีต และความคิดสร้างสรรค์ หรือการทำสวน ที่ช่วยให้เด็กได้สัมพันธ์กับพื้นโลก เรียนรู้คุณค่าและความยิ่งใหญ่ของแผ่นดิน เป็นต้น

โรงเรียนวอลดอร์ฟก่อเกิดทฤษฎีการศึกษาที่น่าสนใจหลายประการ ที่เครือข่ายโรงเรียนวอลดอร์ฟทั่วโลกนำไปเป็นแนวทางในการจัดการศึกษาที่ โรงเรียนของตน แต่สำหรับสไตเนอร์แล้ว หัวใจสำคัญของการจัดการศึกษาวอลดอร์ฟนั้นคือ การที่ครูมีความรักต่อเด็กด้วยใจจริง และศรัทธาในพลังที่ซ่อนอยู่ในตัวเด็ก อันจะเป็นกุญแจไขนำไปสู่ขุมพลังในตัวเด็ก ก่อนจะกระตุ้นให้เด็กแสดงพลังนั้นออกมาและพัฒนาอย่างสูงสุดต่อไป

ข้อมูล
http://www.awsna.org
การศึกษาวอลดอร์ฟ (Waldorf Education) โดย ผศ.ดร.บุษบง ตันติวงศ์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสซอรี่

Montessori
ดร.มาเรีย มอนเตสซอรี่ ผู้ริเริ่มคิดและจัดตั้งวิธีการสอนแบบมอนเตสซอรี่
จากความเชื่อในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กในระยะเริ่มต้นว่า จุดมุ่งหมายในการให้การศึกษาในระยะแรกนั้น ไม่ใช่การเอาความรู้ไปบอกให้เด็ก แต่ควรเป็นการปลูกฝังให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามความต้องการตามธรรมชาติของ เขา

การที่จะช่วยให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามขั้นตอนของความสามารถนั้น ควรจะต้องพัฒนาการสอนให้สัมพันธ์กับพัฒนาการความต้องการของเด็ก ที่ต้องการจะเป็นอิสระในขอบเขตที่กำหนดไว้ให้ ตลอดจนการจัดสิ่งแวดล้อมอย่างสมบูรณ์ และพิถีพิถัน การสอนแบบมอนเตสซอรี่ ได้มาจากการที่มอนเตสซอรี่ได้สังเกตเด็กในสภาพที่เป็นจริงของเด็ก ไม่ใช่สภาพที่ผู้ใหญ่ต้องการให้เด็กเป็น จากการสังเกตเด็กจึงได้พัฒนาวิธีการสอน การจัดเตรียมสิ่งแวดล้อม และอุปกรณ์การสอนต่างๆ ขึ้นมาใช้ โดยเริ่มต้นจากการทดลองที่โรงเรียนที่เธอเข้าไปรับผิดชอบ ที่เรียกว่า Casa Dei Bambini หรือ Children's House แล้ววิธีการสอนนี้จึงได้แพร่หลายต่อไปจนทั่วโลกเช่นในปัจจุบัน
ปรัชญาและหลักการของการสอนแบบมอนเตสซอรี่

1.    เด็กจะต้องได้รับการยอมรับนับถือ ในสภาพที่แตกต่างไปจากผู้ใหญ่ เราต้องยอมรับนับถือเด็กในลักษณะเฉพาะของเด็กแต่ละคน เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ควรจัดการศึกษาให้เด็กแต่ละคนตามความสามารถ และความต้องการตามธรรมชาติของเขา โดยการพัฒนาการสอนให้สัมพันธ์กับพัฒนาการความต้องการของเด็ก

2.    เด็กมีจิตที่ซึมซาบได้ และเปรียบจิตของเด็กเหมือนฟองน้ำ ซึ่งจะซึมซาบข้อมูลจากสิ่งแวดล้อม เด็กใช้จิตในการหาความรู้ ซึมซาบเอาสิ่งต่างๆ เข้าไปในจิตของตนเองได้ ( the absorbent mind ) ในการพัฒนาของจิตที่ซึมซาบได้มีทั้งที่เราทำไปโดยที่รู้สึกตัว และไม่รู้สึกตัว อายุตั้งแต่เกิดถึง 3 ขวบ เป็นช่วงที่จิตซึมซาบโดยไร้ความรู้สึก โดยการพัฒนาประสาทที่ใช้ในการเห็น การได้ยิน การลิ้มรส การดมกลิ่น และการสัมผัส เด็กจะซึมซาบทุกสิ่งทุกอย่าง

3.    ช่วงเวลาหลักของชีวิต คือ คือช่วงเวลาที่สำคัญที่สุด สำหรับการเรียนรู้ในระยะแรกเป็นช่วงพัฒนาสติปัญญา และเด็กสามารถเรียนทักษะเฉพาะอย่างได้อย่างดี ครูจะต้องช่างสังเกต และใช้ประโยชน์จากช่วงเวลานี้ในการจัดการเรียนการสอนให้สมบูรณ์ที่สุด

4.    การเตรียมสิ่งแวดล้อม มอนเตสซอรี่เชื่อว่า เด็กเรียนได้ดีที่สุดในสภาพการจัดสิ่งแวดล้อมที่ได้ตระเตรียมเอาไว้อย่างมี จุดหมาย การจัดเตรียมสิ่งแวดล้อมเช่นนี้เพื่อให้เด็กได้มีอิสระจากการควบคุมของ ผู้ใหญ่ เด็กจะได้ทำกิจกรรมต่างๆ ตามความคิดของตนเองบ้าง

5.    การศึกษาด้วยตนเอง เด็กสามารถเรียนได้ด้วยตนเองจากการที่เด็กมีอิสระในสิ่งแวดล้อมที่จัดเตรียม ไว้อย่างสมบรูณ์ การมีอิสระนี้ไม่ใช่สัญลักษณ์ของเสรีภาพเท่านั้น แต่หมายถึงเส้นทางไปสู่การศึกษา เด็กมีสิทธิ์ที่จะเรียนรู้ ระเบียบวินัยของชีวิตโดยการมีอิสระภาพในการทำงานด้วยตนเอง แก้ไขข้อบกพร่องของตนเอง การศึกษาด้วยตนเอง ควรจะมีบทบาทมากขึ้นในวงการศึกษา และควรจะเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางในการเรียนเพิ่มขึ้น ลดวิธีการให้ครูเป็นศูนย์กลาง

จุดมุ่งหมายของการสอนแบบมอนเตสซอรี่

จุดมุ่งหมายของการศึกษาแบบมอนเตสซอรี่  คือ “ ช่วยพัฒนา หรือให้เด็กมีอิสระในด้านบุคลิกภาพของเด็กในวิถีทางต่างๆ อย่างมากมาย “ สิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระบบมอนเตสซอรี่    คือ การจัดระบบเพื่อสะท้อนถึงศักยภาพที่แท้จริง และความต้องการของเด็ก เพื่อเด็กจะได้พัฒนาบุคลิกภาพของเขา

การสอนระบบนี้ เด็กจะก้าวหน้าไปตามธรรมชาติของพัฒนาการ เด็กมีอิสรภาพในการเลือกจากสิ่งแวดล้อมที่มีสิ่งต่างๆ ซึ่งสนองความพอใจ และความต้องการในความรู้สึกของเขา เป็นการจัดระบบของตนเอง เพื่อเด็กจะได้ปรับตัวเข้ากับสภาพของชีวิต

มอนเตสซอรี่ กล่าวย้ำถึงสิทธิของเด็กในการพัฒนาบุคลิกภาพของเขาในการเรียน สิทธิที่จะมีอิสระในการทำกิจกรรม สำรวจโลกสำหรับตัวของเขาเอง เด็กจะพัฒนาการเรียนรู้ในการทำงานด้วยตนเอง และความรู้สึกของความรับผิดชอบ มีวิธีการที่จะควบคุมตนเองได้สำเร็จ เด็กเรียนรู้ในการที่จะรับผิดชอบต่อตนเองเป็นเบื้องแรก แล้วก็ต่อสภาพการณ์ต่างๆ ที่ทำให้เขาได้พบตัวของเขาเอง

การพัฒนาการทางสังคมสำเร็จได้ ก็ด้วยการมีชีวิตทางสังคมที่แท้จริงในห้องเรียน เด็กเรียนรู้ที่จะทำหน้าที่ของแต่ละบุคคล และในสภาพของการเป็นสมาชิกของกลุ่ม และมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบ และรู้จักที่จะรอคอยความสำเร็จ บุคลิกภาพทั้งหมดของเด็กจะได้รับการพัฒนาการปรับตัวต่อสังคม … สติปัญญา ความสามารถในการแยกแยะ ความคิดริเริ่ม และการเลือกอย่างอิสระ มีอารมณ์ที่เหมาะสม เด็กได้รับการฝึกให้มีคุณภาพพื้นฐานทางสังคม ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นพลเมืองดี

หลักสูตรของการสอนแบบมอนเตสซอรี่

วิถีทางของการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่นั้น เป็นหลักการที่คำนึงถึงเด็ก ความต้องการของเด็กในการเรียน ได้มีการตระเตรียมสิ่งแวดล้อมให้เด็กได้ทำงานด้วยตนเอง สิ่งแวดล้อม และเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ นั้น ได้จัดระบบไว้เพื่อให้เด็กได้พัฒนาตนเอง โปรแกรมจัดเอาไว้ให้เด็กได้เป็นผู้เรียนที่มีอิสระ การควบคุมความผิดพลาดในการทำงานก็ด้วยการใช้วัสดุเหล่านั้นเอง และสิ่งแวดล้อมที่จัดเอาไว้ให้นี้เองเป็นตัวที่ทำให้เด็กมีอิสระ
มอนเตสซอรี่เชื่อว่า การที่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการด้วยตนเอง และการซึมซาบการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม จะทำให้เด็กได้ในสิ่งที่ต้องการจากการเรียนรู้ เด็กจะได้รับเสรีภาพในขอบเขตที่จำกัด จากสิ่งแวดล้อมที่ได้ตระเตรียมเอาไว้ให้ และจะทำให้เด็กได้รับผลสำเร็จตามความต้องการของเขา

หลักสูตรพื้นฐานสำหรับเด็กอายุ 3 ถึง 6 ขวบ แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่
1.   การศึกษาทางด้านทักษะกลไก (Motor Education)
2.   การศึกษาทางด้านประสาทสัมผัส (Education of the Senses)
3.   การเตรียมสำหรับการเขียนและคณิตศาสตร์ (Preparation for Writing and Arithmetic)

การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่

โรงเรียนที่ใช้การสอนแบบมอนเตสซอรี่นั้น กิจกรรมถือเป็นส่วนสำคัญของสิ่งต่างๆ ที่ดำเนินไปในโรงเรียน เด็กเล็กควรจะเรียนด้วยร่างกายทั้งหมด โดยเน้นทางด้านการฝึกฝนทางประสาทสัมผัส กิจกรรม หรืองานที่เด็กทำจะต้องมีความหมาย อุปกรณ์การเรียนได้วางรูปแบบเอาไว้ให้เด็กได้ทำงานต่างๆ เป็นไปตามขั้นตอนงานจะกระตุ้นทำให้เด็กทำงานต่อไป

การเขียน ก็เป็นจุดรวมของทั้งการเห็น, ได้ยินและสัมผัส การแสดงออกทางการเขียนจะผ่านขั้นตอนต่างๆ จากการสัมผัสรูปทรงเลขาคณิตสัมผัสรูปพยัญชนะ สระ จากบัตรตัวอักษรกระดาษทราย ใช้ดินสอสีลากไปตามกรอบแผ่นภาพโลหะ เติมลายเส้นไปในกรอบแผ่นภาพที่ว่างเอาไว้ ประสมคำโดยใช้ตัวอักษรต่างๆ และเขียนคำลำดับจากรูปธรรมไปสู่นามธรรมนี้ เป็นแนวคิดแฝงอยู่ในการจัดอุปกรณ์การเรียน ครูจะต้องคอยสังเกตว่าเด็กพร้อมที่จะเรียนอุปกรณ์ในขั้นต่อไปหรือยังตาม ลำดับยากง่าย หรือตามที่นักเรียนร้องขอ

การแสดงอุปกรณ์มี 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
ขั้นที่ 1    เชื่อมโยงการรับรู้ทางประสาทสัมผัสกับชื่อ ….” นี่คือ แขนงไม้ ”
ขั้นที่ 2    รู้จักชื่อของสิ่งของ …” หยิบแขนงไม้มาให้ครูซิ ”
ขั้นที่ 3    จำชื่อได้สอดคล้องกับอุปกรณ์ …” นี่คือ อะไร ”

ขั้นตอนนี้จะใช้เมื่อเด็กเรียนรู้ชื่อของอุปกรณ์ คุณภาพ หรือประสบการณ์ บทเรียนจะมีลักษณะสั้น ง่ายและเป็นปรนัย ถ้าเด็กหยิบอุปกรณ์ไม่ถูกก็ต้องหยิบออกไปแล้วให้เด็กรอโอกาสทำต่อไป

วิธีการสอนสามขั้นตอน ( The Three-Period Lesson )

เป็นวิธีการที่ใช้สำหรับสอนความคิดรวบยอดใหม่ด้วยการทำซ้ำ เพื่อช่วยให้เด็กเข้าใจในแบบฝึกหัดที่ครูสาธิตให้ดูได้ดีขึ้น การสอนนี้ยังช่วยให้ครูสังเกตเห็นว่าเด็กสามารถเข้าใจ และซึมซาบสิ่งที่สาธิตให้เด็กดูได้ว่องไวแค่ไหน วิธีการสอนสามขั้นตอนนี้ใช้กับการสาธิตขั้นตอน เมื่อเด็กไม่เข้าใจขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งจะต้องเริ่มสาธิตให้ดูใหม่ครูต้อง แน่ใจว่า เด็กเข้าใจในสิ่งที่ทำให้ดูแล้ว จึงจะดำเนินขั้นต่อไป

โรงเรียนมอนเตสซอรี่ทั่วโลกจะใช้อุปกรณ์การสอนแบบเดียวกันทั้งหมดขณะเดียว กัน ก็มีการอนุโลมให้ใช้อุปกรณ์ บางอย่างที่ทำจากวัสดุท้องถิ่น แต่ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทางการเรียนรู้ที่กำหนดห้องเรียนจะมีลักษณะ พิเศษคือเปิดโล่ง เด็กจะได้ทำกิจกรรมอย่างอิสระ ตามความต้องการของตน ในห้องเรียนจะไม่มีโต๊ะและเก้าอี้ครู ภายในห้องมีชั้นวางของ ซึ่งอยู่ในระดับสายตาเด็กบนชั้นมีอุปกรณ์แบบมอนเตสซอรี่จัดวางไว้ เป็นหมวดหมู่ มีตำแหน่งการวางที่แน่นอน มีเพียงหนึ่งชิ้นต่อหนึ่งอุปกรณ์เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักรอคอย

    ครูผู้สอนจะต้องเข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับวิธีการสอนจากศูนย์ฝึกอบรมครู ระบบมอนเตสซอรี่ การประเมินผลระบบมอนเตสซอรี่จะใช้การสังเกต ความสามารถในการทำกิจกรรม ของเด็กในแต่ละกลุ่มวิชา การใช้อุปกรณ์การเรียนในแต่ละชิ้น

การศึกษาแบบนีโอฮิวแมนนิส

การศึกษาแบบนีโอฮิวแมนนิส

Neo-Humanist Education
ความเป็นมา

จุดเริ่มของแนวคิดนี้มาจากโยคีชาวอินเดียผู้ยิ่งใหญ่ พี.อาร์.ซาร์การ์ (P.R.Sarkar) ที่ นำศาสตร์ทางตะวันออก กับความทันสมัยแบบตะวันตกมาผสมผสานเข้าด้วยกัน เช่น มีการให้เด็กๆฝึกสมาธิ ทำโยคะ ขณะเดียวกันก็ใช้เสียงเพลงและวิธีการสอนใหม่ๆรวมเข้าไปด้วย โดยให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนในเด็กเล็กว่า

" กิ่งไผ่อ่อนสามารถจะถูกดัดหรือปรับให้อยู่ในรูปแบบใดก็ได้ ส่วนกิ่งไผ่แก่จะต้องใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวด ในการดัดหรือปรับให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม ซึ่งก็อาจหักหรือเสียหายโดยง่าย นี่คือเหตุผลสำคัญที่เราควรให้ความสนใจการศึกษาระดับอนุบาลยิ่งกว่าการศึกษา ระดับใดๆทั้งสิ้น "

หลักการ

สิ่งแวดล้อมและการศึกษาในวัยต้นๆของชีวิต มีอิทธิพลเป็นอย่างยิ่งต่อความเฉลียวฉลาด คุณธรรมและความสุขของคนเรา โดยเชื่อว่าความเก่ง ความฉลาด ซึ่งเป็นศักยภาพที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ แต่มนุษย์ดึงศักยภาพดังกล่าวออกมาใช้แค่ 5-10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น และเชื่อว่าความเป็นคนที่สมบูรณ์นั้นเกิดจากศักยภาพที่สำคัญ 4 ด้านคือ
1.     ร่างกาย (PHYSICAL) จะต้องแข็งแรง
2.     จิตใจ (MENTAL) ถ้ารูปร่างดีแข็งแรงแต่จิตใจไม่มีความเชื่อมั่นในตัวเอง ตัดสินใจด้วยตัวเองไม่ได้ ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ ก็ไม่มีประโยชน์
3.     ความมีน้ำใจ (SPIRITUAL) มีความรักให้กับคนอื่นในวงกว้าง ช่วยเหลือคนอื่นโดยที่ไม่หวังผลตอบแทน มีความเมตตา มีใจที่เปิดกว้าง
4.     วิชาการ (ACADEMIC) ถ้าเราไม่มีวิชาการ ไม่มีความรู้ก็ไม่มีทางที่เราจะมีอะไรมาบำรุงตัวเอง

ทั้ง 4 ด้านคือหลักการสู่ความเป็นคนที่สมบูรณ์ การศึกษาที่ดีจะต้องจัดให้ครบทั้งหมดนี้

กระบวนการ

เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายความเป็นคนที่สมบูรณ์ กิจกรรมที่ทำในโรงเรียนนีโอฮิวแมนนิสจะต้องสอดคล้องกับหลัก 4 ข้อ คือ คลื่นสมองต่ำ การประสานของเซลล์สมอง ภาพพจน์ต่อตัวเอง และการให้ความรัก ซึ่งต้องไปด้วยกัน เด็กจึงจะไปในทิศทางที่ดี
1.  คลื่นสมองต่ำ นักวิทยาศาสตร์ได้ประดิษฐ์เครื่องมือวัดคลื่นสมอง ซึ่งสามารถตรวจพบว่าประสิทธิภาพการทำงานของคนเรา จะแปรเปลี่ยนไปตามคลื่นสมองที่เราส่ง ยิ่งต่ำลงมากเท่าไรจะยิ่งมีประสิทธิภาพดีมากขึ้นเท่านั้น เพราะเราจะมีความสงบทางจิตใจ อารมณ์ดี ใจเย็น มีความคิดสร้างสรรค์สูง เกิดสมาธิ จิตใจเป็นหนึ่งเดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่วอกแวก กิจกรรมจึงต้องสร้างให้เด็กเกิดภาวะคลื่นสมองต่ำมากที่สุด เช่น ก่อนเข้าห้องเรียน เด็กๆได้ฝึกทำโยคะ นั่งสมาธิ อันถือเป็นการเตรียมความพร้อมให้เขาเรียนหนังสือได้อย่างสบายใจ และมีความสุขในการรับรู้ โยคะและสมาธิ จะช่วยให้กล้ามเนื้อและประสาทผ่อนคลาย  ขณะเด็กทำโยคะ จิตใจเขาจะเป็นหนึ่งเดียว เรื่องอะไรที่วุ่นวายจะค่อยสงบลงๆ การเล่านิทาน การกอด เสียงเพลง และท่าที คำพูดจากคนรอบข้าง ก็มีส่วนทำให้คลื่นสมองต่ำได้เช่นเดียวกัน ถ้าเด็กอยู่ใกล้คนคลื่นสมองต่ำ เขาก็จะต่ำด้วย แต่ถ้าใกล้คนที่คลื่นสมองสูง อารมณ์เขาก็พลอยรุนแรงสูงตามไปด้วย ดังนั้น บทบาทของครูจึงเป็นเรื่องสำคัญ ครูต้องอารมณ์เย็น ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาไพเราะ พูดให้กำลังใจ และไม่พูดในแง่ลบ
อาหารการกินก็มีส่วนต่อคลื่นสมองของคนเราด้วยเช่นกัน ยิ่งถ้าเป็นอาหารธรรมชาติมากเท่าไหร่ จะยิ่งส่งผลดีมากเท่านั้น อาหารที่โรงเรียนจึงเป็นแบบกึ่งมังสวิรัติ ไม่กินเนื้อสัตว์ใหญ่ เช่น หมู เนื้อ แต่กินเนื้อสัตว์เล็กตั้งแต่ไก่ลงมา เน้นผ้ก ผลไม้ นม และดื่มน้ำมากๆ
2.  การประสานของเซลล์สมอง เราเคยเชื่อว่าความฉลาดมาจากพันธุกรรม พ่อเก่ง แม่เก่ง ลูกจะออกมาเก่ง แต่นีโอฮิวแมนนิสมีความเห็นต่างออกไปจากนั้น โดยเชื่อว่าความฉลาดสามารถฝึกฝนกันได้ ไม่ขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์ แต่ขึ้นกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า ว่าได้มีส่วนช่วยทำให้เซลล์สมองประสานกันมากน้อยแค่ไหน การที่คนไหนจะฉลาดหรือไม่ฉลาด เกิดจากเซลล์สมองประสานเข้าด้วยกันหรือที่เรียกว่าเซลล์ประสานประสาท ถ้าใครมีมากๆคนนั้นจะฉลาด เรียนรู้เรื่องต่างๆได้เร็ว อย่างเรามีเพื่อน ทำไมบางคนอ่านหนังสือสิบนาที จำได้หมด แล้วเรากลับจำไม่ได้

มีการค้นพบว่าเซลล์ประสานประสาทจะขยายตัวได้ดี เมื่อมือกับเท้าของเราทำงานมาก เพราะปลายประสาทจะอยู่ตรงส่วนนี้มาก ฉะนั้นในแนวคิดนี้จึงให้เด็กเรียนๆเล่นๆ เรียนก็จริงแต่ต้องได้เคลื่อนไหวด้วย ดังนั้นกิจกรรมจึงมุ่งให้เด็กได้ออกนอกห้อง ได้ปีนป่าย ได้วิ่งเล่น เพื่อให้มือกับเท้าทำงานมากที่สุด
นีโอฮิวแมนนิสจะไม่เชื่อเรื่องให้เด็กเรียนอย่างเดียว หรือเล่นอย่างเดียว เพราะในช่วง 3-6 ปี จะเป็นช่วงที่สมองของคนเราเจริญเติบโตมากที่สุด ถ้าไม่ให้เรียนเสียเลย แล้วมาเรียนตอน 7-8 ขวบจะยิ่งช้าไป ดังนั้นจึงต้องเรียนบ้างโดยกระจายให้เหมาะสม และใช้วิธีการที่จูงใจให้เด็กเรียนรู้ด้วยคลื่นอัลฟาหรือคลื่นสมองต่ำมากที่ สุด

ส่วนวิธีการสอนแม้เป็นนามธรรม แต่ก็มีวิธีจูงใจอย่างมีระบบจากรูปธรรมง่ายๆไปสู่สิ่งที่เป็นรูปธรรมยากๆ แล้วจึงค่อยไปสู่นามธรรมโดยที่เด็กแทบจะไม่รู้ตัวเลย เช่น แทนที่เด็กจะต้องท่องตัวอักษรต่างๆ เขาก็จะรู้จักเจ้าตัวพวกนี้ผ่านเกม โดยวิ่งไปตามพื้นห้องให้เป็นรูปตัวอักษร ทำตัวเองให้เป็นรูปนั้น หรือเล่นเกมบัตรคำสนุกๆ และแทนที่จะต้องหลับหูหลับตาท่องตัวเลขมากมายอย่างไร้ความหมาย พวกเขาก็จะได้เรียนรู้การใช้จากของจริงเช่น นับตัวเลขจากลูกปัดหอยหรือผลไม้ ถ้าหากจะเรียนสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ครูก็จะพาพวกเขาไปสัมผัสกับประสบการณ์จริงนอกห้องเรียน อาจพาไปดูปลาในบ่อ พาไปรู้จักสัญญาณไฟจราจรริมถนน เป็นต้น
3. ภาพพจน์ของตัวเอง (SELF CONCEPT) ความ รู้สึกที่คนเรามีต่อตัวเรา ตามหลักจิตวิทยาสมัยใหม่พบว่าความรู้สึกที่มีต่อตัวเราจะส่งผลไปถึงความ รู้สึกที่เรามีต่อคนอื่นด้วย ถ้าเรารู้สึกว่าตัวเองไม่ได้เรื่อง เราก็จะไม่เชื่อมั่นคนอื่น ความรู้สึกที่มาจากตัวเรามันมาจากประสาทสัมผัสทั้งห้าที่เป็นตัวบันทึก โดยเฉพาะทางตากับทางหูเป็นเรื่องของจิตใต้สำนีก ซึ่งวัยเด็กเป็นวัยที่รับรู้สูงที่สุด ถ้าจิตใต้สำนึกบันทึกไว้แต่เรื่องด้านลบ ได้ยินคนรอบข้างพูดเรื่อยๆว่าไม่เก่ง ซน เด็กเติบโตขึ้นก็จะกลายเป็นคนที่ไม่เก่ง ซน ซุ่มซ่าม เมื่อภาพพจน์ที่มีต่อตัวเองเป็นลบ พฤติกรรมที่ออกมาก็จะเป็นลบด้วย

ดังนั้นบทบาทของครูจึงเป็นเรื่องสำคัญ (กรณีเดียวกับเรื่องคลื่นสมองต่ำ) เชื่อว่าพฤติกรรมของครูคือบทเรียนที่ดีที่สุดของเด็ก เช่น ถ้าครูไม่กินผัก เด็กก็จะไม่กินผัก ถ้าครูพูดจาไพเราะ เด็กก็จะพูดจาไพเราะ แนวคิดนี้ไม่เชื่อว่าทำอย่างที่ครูสอน แต่อย่าทำอย่างที่ครูทำ ดังนั้นคนที่เป็นครูที่ดีจึงต้องสมบูรณ์พร้อมทั้งพฤติกรรมส่วนตัวและเทคนิค การสอนด้วย เด็กจึงจะเป็นคนที่สมบูรณ์แบบ

4.    การให้ความรัก เปรียบเสมือนกับแก้วน้ำ ถ้าความรักของเด็กคนนั้นเต็ม มันย่อมไหลเผื่อแผ่ไปถึงผู้อื่น ตรงกันข้าม ถ้าความรักของเขามีเพียงค่อนแก้ว เขาย่อมเรียกร้องต้องการการแสดงออกซึ่งความรักแก่เด็กที่จะทำให้เขาได้รับ ความรักล้นเต็ม

วิธีที่จะได้ความรัก

1. รอยยิ้ม ตามหลักจิตวิทยา การยิ้มคือการยอมรับในความเป็นมนุษย์
2. คำชม การนำเอาข้อดีมาพูด
3. การสัมผัส ในเด็กวัย 3-6 ขวบต้องการสิ่งนี้มาก

นักจิตวิทยาบอกว่า คนเราต้องการการสัมผัสอย่างน้อยวันละ 4 ครั้งเพื่อการมีชีวิตรอด 8 ครั้งเพื่อการมีชีวิตอยู่อย่างปกติ และ 14 ครั้งเพื่อการมีชีวิตอย่างมีความสุข ถ้าไม่ได้รับเลยเขาจะอารมณ์ไม่ดี หงุดหงิด ดังนั้นในโรงเรียนนีโอฮิวแมนนิส ครูจึงกอดเด็กหลังเช็กชื่อในตอนเช้าเสมอ

โดย รศ.ดร.เกียรติวรรณ อมาตยกุล ภาควิชาการศึกษานอกโรงเรียน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย